อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...
ขบวนการล้มเจ้าด้วยกลยุทธ์โลกล้อมเมือง กับ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ผู้จะชนะทั้งสิบทิศ
ตอนที่ 4 “ยึดโบอิ้ง 737 พระราชพาหนะส่วนพระองค์ ความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของเยอรมนี”
……………………………………………………………………
ศาลเยอรมนีสั่งอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 พระราชพาหนะส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ในขณะนั้น) ที่นครมิวนิก
บริษัท วอลเตอร์บาว ได้ยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขออายัดเครื่องบินลำดังกล่าว เนื่องจากเข้าใจว่า “เครื่องบินส่วนพระองค์” เป็นของรัฐบาลไทย
ขณะที่รัฐบาลไทยยืนยันว่า เครื่องโบอิ้ง 737 เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ ไม่ใช่ของรัฐบาล
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ได้แถลงถึงกรณีที่เกิดขึ้น โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า “...เครื่องบินลำนี้เป็นของส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทย เพราะฉะนั้นในแง่กฎหมาย เราถือว่าเป็นการอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคล เป็นการผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง
ต่อมารัฐบาลเยอรมนีแถลงว่า เสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่มีอำนาจสั่งการได้ โดยย้ำว่าอำนาจทั้งหมดขึ้นอยู่กับศาล
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดศาลเยอรมนีมีคำสั่งให้ถอนอายัดเครื่องบินโบอิ้งลำดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขว่าต้องวางเงินเป็นหลักประกันมูลค่า 20 ล้านยูโร หรือประมาณ 850 ล้านบาท
นายกษิต กล่าวว่า ฝ่ายไทยได้ยื่นหลักฐานไปแล้วว่าเครื่องบินลำดังกล่าวไม่ใช่ของรัฐบาล แต่เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ จึงไม่น่าจะมีเหตุผลที่ทางการไทยจะต้องไปวางเงินมัดจำ 20 ล้านยูโร เพื่อแลกกับการถอนอายัดเครื่องบินโบอิ้งลำนี้อีก
……………………………………………………………………
ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ในขณะนั้น) ทรงมีพระราชปณิธาน พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท วอลเตอร์ บาว
ด้วยไม่ทรงปรารถนาที่จะให้มีพระนามาภิไธยไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทและมิให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศ รวมถึงมิให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
รัฐบาลไทยจึงได้ส่งอัยการสูงสุดไปยังเยอรมนี เพื่อต่อสู้คดี และชี้แจงว่า มีแนวทางในการดำเนินการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์
ในที่สุดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผย ศาลเยอรมนีได้ถอนอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์แล้ว หลังจากที่รัฐบาลไทยได้นำหนังสือค้ำประกันเต็มจำนวนความเสียหาย จำนวน 38 ล้านยูโร เป็นค่าเสียหายที่มีการฟ้องร้องกัน
……………………………………………………………………
ต้นสายปลายเหตุ
ต้นสายปลายเหตุของการอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ลำดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทเชิงพาณิชย์ระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท วอลเตอร์บาว
ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมนี (ปัจจุบันอยู่ในสถานะล้มละลาย) เกี่ยวกับสัมปทานการก่อสร้างทางด่วน “ดอนเมืองโทลล์เวย์”
โดยบริษัท วอลเตอร์ บาว ได้ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยในปี 2549 ในสมัยรัฐบาล”พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”
โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลไทยผิดสัญญาในโครงการก่อสร้าง “โทลล์เวย์”
ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ชี้ขาดให้ราชอาณาจักรไทยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินเกือบ 30 ล้านยูโร หรือราว 1,200
จริงๆ แล้ว สถานะของบริษัท วอลเตอร์บาว คือ ผู้รับเหมาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งเคยถือหุ้นบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานโทลล์เวย์ สัดส่วน 9.87%
บริษัทไม่มีสิทธิจะฟ้องรัฐบาลไทย เพราะไม่ใช่คู่สัญญากับรัฐบาลโดยตรง เป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นของโทลล์เวย์ เท่านั้น ประเด็นสำคัญก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เยียวยาจากที่โทลล์เวย์ เรียกค่าชดเชยไปแล้ว
สรุป………………………………………………………………
•1. เป็นข้อพิพาทของบริษัทเยอรมันกับสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
•2. บริษัท วอลเตอร์บาว ไม่มีสิทธิจะฟ้องรัฐบาลไทย เพราะไม่ใช่คู่สัญญากับรัฐบาลโดยตรง เป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นของโทลล์เวย์ เท่านั้น
•3. นอกจากนร้ฐบาลได้เยียวยาจากที่โทลล์เวย์ เรียกค่าชดเชยไปแล้ว
•4. เครื่องบินลำดังล่าว เป็นของส่วนพระองค์ ในแง่กฎหมาย ศาลเยอรมนีจะอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ได้
ขอบคุณข้อมูล เฟซบุ๊ก - เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค