ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท เปิดเผยว่า จากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ จึงเขอเสนอให้รัฐบาลให้ใช้ 3 เสาหลักในหมู่บ้าน ตำบล เป็นฐานในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ซึ่ง 3 เสาหลักประกอบด้วย 1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ 3.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้ 3 เสาหลักได้บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินการตรวจควานหาผู้ติดเชื้อและคัดกรองบุคคลในครัวเรือนทุกครัวเรือนและในชุมชนหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน เพื่อยับยั้งหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
ศ.ดร.โกวิทย์ กล่าวต่อว่า โดยการตรวจคัดกรองและแยกแยะบุคคลภายหลังการตรวจ ทั้งในรูปของการกักตัวอยู่ที่บ้าน การใช้ รพ.สต. และศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลและใช้พื้นที่ของ อปท. เป็นโรงพยาบาลสนาม ส่วนผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง และกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มมีโรคประจำตัว ให้ดำเนินการ่วมมือกับจังหวัด (ศบค. จังหวัด) เพื่อส่งต่อให้โรงพยาบาลจังหวัดและเอกชนต่อไป โดยรัฐบาลและส่วนกลาง (ศบค.) ต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น โดยเฉพาะ 3 เสาหลักดังกล่าวได้เป็นผู้บริหารจัดการในระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบลและท้องถิ่น ร่วมกับจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและ ศบค. จังหวัด ที่จะต้องทำงานเชิงรุก เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และรอรับผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา เพื่อคัดกรองเฝ้าระวัง ส่งให้หมู่บ้าน(ชุมชน)หรือครัวเรือน ในการดำเนินการกักตัวที่บ้าน
ทั้งนี้รัฐบาลและ ศบค. ต้องกระจายอำนาจให้จังหวัด และ ศบค. จังหวัด กับกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และ 3 เสาหลักเป็นฐานในการป้องกันและหยุดยั้งการแพร ่เชื้อไวรัสโคโรน ่า 2019 ทั้งการกระจายเงิน งบประมาณ กระจายวัคซีนและกระจายเครื่องมือตรวจเชื้อ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ทุกจังหวัดและทุกท้องถิ่นอย่างเพียงพอ เพื่อให้ดำเนินการบริหารจัดการดังนี้
1. ให้ 3 เสาหลัก ได้แก ่ อสม., รพ.สต., อปท. และ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้าน บูรณาการ ความร่วมมือกันเพื่อดำเนินการดังนี้ (1) ทำการตรวจเชิงรุกทุกครัวเรือน เพื่อควานหาผู้ติดเชื้อ (2) สำรวจผู้ฉีดวัคซีนในหมู่บ้าน (3) คัดกรองบุคคลในครัวเรือนทุกหมู่บ้านและเฝ้าระวังบุคคลที่ถูกส่งกลับภูมิลำเนา (4) การแยกแยะบุคคล ทั้งการกักตัวที่บ้านและการใช้ รพ.สต. และศูนย์บริการสาธารณสุขหรือ อปท. และโรงเรียนให้เป็นโรงพยาบาลสนามเป็นจุดพักคอยและผู้ติดเชื้อที่รุนแรงส่งต่อให้โรงพยาบาลจังหวัดและเอกชนต่อไป (5) สำรวจครัวเรือน บุคคลและสถานประกอบการในหมู่บ้าน ที่ถูกกระทบและอยู่ในภาวะยากลำบาก เพื่อเสนอให้จังหวัดและรัฐบาลช่วยเหลือเยียวยาได้ตรงเป้าหมาย
2. ให้รัฐบาลผันเงินให้จังหวัดในการบริหารจัดการและให้กับ 3 เสาหลักในการทำงาน จังหวัดละ 1,000 ล้านบาท จะใช้เงินประมาณ 76,000 ล้านบาท (76 จังหวัด) และจัดสรรให้ท้องถิ่น ท้องถิ่นละ 20 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการต่างๆ จำานวน อปท. 7,850 แห่ง เป็นเงินเฉลี่ย 157,000 ล้านบาท รวมเงินที่รัฐบาลต้องทุ่มไปให้จังหวัดและท้องถิ่นเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 233,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการบริหารจัดการของจังหวัดและท้องถิ่น ดังนี้ (1) ช่วยเหลือ เยียวยา ผู้รับผลกระทบและอยู่ในภาวะยากลำบาก ในหมู่บ้านที่ถูกกักตัว (2) ใช้จ่ายในเรื่องเครื่องตรวจหาเชื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามและค่าดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงานรัฐบาลและ ศบค. มีหน้าที่กำหนดนโยบายและติดตามประเมินผลการทำงานของจังหวัดและท้องถิ่น
“แนวทางและข้อเสนอดังกล่าวนี้จะทำให้การหยุดยั้งการแพรj ระบาดมีประสิทธิภาพมากกว่า การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่รัฐบาลและ ศบค.” ศ.ดร.โกวิทย์ กล่าว
++++++++++++