เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 23 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าวสยามรัฐ จ.กาญจนบุรี รายงานว่านายฑรัท เหลืองสอาด นายอำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี พร้อมด้วยนายชัยยุทธ วัฒโน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลท่าม่วงฯ ร่วมกับนายแสนชัย ถิ่นกาญจน์วัฒนา กำนันตำบลท่าม่วง ได้เข้าร่วมกันทำพิธีทางศาสนาหล่อเทียนพรรษา เนื่องในวันที่ 25 ก.ค.64 ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจัดขึ้นที่ภายในวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง โดยมีนายฑรัท เหลืองสอาด นายอำเภอท่าม่วงฯ กับนายชัยยุทธ วัฒโน นายกเทศมนตรี ร่วมเป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีพระอาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ บรรยากาศภายในพิธีหล่อเทียนเข้าพรรษาครั้งนี้ ได้มีพี่น้องประชาชนพุทธสนิกชนชาว อ.ท่าม่วง กาญจนบุรี ต่างทยอยเดินทางมาร่วมพิธีหล่อเทียนพรรษากันเป็นจำนวนมาก และกราบไหว้ขอพรต่อรูปเหมือนหลวงพ่อนารถ และหลวงปู่พจน อดีตเจ้าอาวาสพระปฎิบัติดีปฎิบัติชอบในทุกๆ ด้านจนเป็นที่กล่าวขานชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนชาวกาญจนบุรี ปัจจุบันได้มรนะภาพไปแล้ว โดยพุทธสาสนิกชนบางรายนำเทียนพรรษาสำเร็จรูปพร้อมเครื่องสังฆทานมาถวายพระ และร่วมหล่อน้ำตาเทียนที่ทางวัดจัดไว้ให้ ในพิธีดังกล่าวเมื่อนายชัยยุทธ วัฒโน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลท่าม่วงฯ พร้อมคณะผู้บริหารของเทศบาลฯ ที่มาถึงได้ไปจุดธูปกราบไหว้องค์รูปเหมือนหลวงพ่อนารถที่ตั้งอยู่ภายในศาลา หลวงพ่อนารถ และหลวงปู่พจน ที่ตั้งประดิษฐานภายในมนฑบ เพื่อขอพรความเป็นสิริมงคลต่อชีวิตครอบครัว และการบริหารงานในเทศบาล ขออย่าได้มีปัญหา หรืออุปสรรคใดๆ ในการบริหารงาน จากนั้นนายฑรัท เหลืองสอาด นายอำเภอท่าม่วง ร่วมกับนายชัยยุทธ วัฒโน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลท่าท่วง ได้ร่วมกันเป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย คณะสงฆ์ 9 รูปพร้อมทั้งสามเณร ได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อทำพิธี และร่วมกันตักบาตรให้แก่พระสงฆ์ จนเป็นอันเสร็จพิธีการทางศาสนา สำหรับประวัติประเพณีการหล่อเทียนเข้าพรรษา ในสมัยพุทธกาล ศาสนาพรหมณ์-ฮินดู ได้มีการนับถือวัว เพราวัวเป็นพาหนะของพระอิศวรฯ เมื่อวัวตาย จะเอาไขมันจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระ ที่ตนเคารพนับถือ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ระบุไว้ว่า วิวัฒนาการการทำเทียนของชาวพุทธ ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ จะทำเทียนจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเทียนเป็นเล่มๆ เล่มเล็กๆ มีความยาวแล้วตามความต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอกเป็นเล่มเล็กๆ หลายเล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้น คล้ายลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดฐานใช้จุดบูชาพระ ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธซึ่งยึดถือเป็นประเพณีหล่อเทียนพรรษามาถวายพระภิกษุสงฆ์ในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปารถนาให้ตนเองเป็นเฉลียวฉลาด มีไหวพริบประดุจแสงสว่างของดวงเทียน เทียนพรรษา คือเทียนขนาดใหญ่ และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น ใช้สำหรับจุดบูชาพระในพระอุโบสถ์ ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา ตลอดระยะเวลา 3 เดือน