วัดเลียบถอย "๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา บาตรไม่ตักแล้วโยม” หลัง ศบค. ได้ออกประกาศข้อกำหนด พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 28 ยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดหลายมาตรการ หนึ่งในมาตรการห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 5 คนเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงเป็นที่มาของ"๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา บาตรไม่ตักแล้วโยม” จากกรณีที่วัดเลียบ ถนนไทรบุรี เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งเป็นวัดที่เขียนป้ายข้อความภาษาถิ่นแจ้งบอกบุญญาติโยม ถึงกิจกรรมของวัดที่จะจัดขึ้นให้ญาติโยมได้ทราบทั่วกัน โดยฝีมือพระครูนพกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดเลียบที่เขียนป้ายข้อความภาษาถิ่น ตามสไตล์ของเจ้าอาวาสที่ต้องการใช้ภาษาถิ่นเขียนให้เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นภาษาพูด นำมาเขียนเป็นตัวอักษร "๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา หกครึ่งใส่บาตร หนอยๆ ปีนี้เทียนษาไม่พักหวายยังลุยเหลย” ซึ่งสร้างความฮือฮากับชาวบ้านที่สัญจรผ่านไปมา และในวันนี้ ( 20 ก.ค.64 ) สถานการณ์เปลี่ยน ทำให้ป้าย "๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา หกครึ่งใส่บาตร หนอยๆ ปีนี้เทียนษาไม่พักหวายยังลุยเหลย”จึงต้องเปลี่ยนตามสถานการณ์ไปด้วย โดยทางวัดนำไปลบข้อความเดิมออก แล้วเขียนข้อความใหม่มาติดไว้ที่เดิม โดยมีข้อความว่า "๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา บาตรไม่ตักแล้วโยม ปีนี้เทียนษาไม่พักหวายยังลุยเหลย” หลัง เมื่อวันที่ 17 ก.ค.64 ที่ผ่านมา ศบค. ได้ออกประกาศข้อกำหนด พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 28 ยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด กำหนดมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 20 ก.ค.64 ซึ่งจังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หนึ่งในมาตรการห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 5 คน มาตรการต่าง ๆ ข้างต้นเป็นข้อบังคับจาก ศบค. ซึ่งมีการยกระดับให้เข้มงวดขึ้น จังหวัดสงขลาจึงต้องยึดมาตรการตามที่ ศบค. กำหนด หนึ่งในมาตรการห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 5 คนเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงเป็นที่มาของคำว่า "๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา บาตรไม่ตักแล้วโยม” ทางวัดจึงได้เขียนข้อความบอกกล่าวชาวบ้านเป็นภาษาท้องถิ่นใต้ ที่ชาวบ้านใช้พูดกันอยู่ทุกวันเพราะอ่านแล้วไม่ต้องแปลเข้าใจเลยว่า ๒๔ ก.ค.อาสาฬหบูชา ไม่มีการทำบุญตักบาตรแล้วญาติโยม