ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ยังทำสถิติต่อเนื่อง! ป่วยโควิดในประเทศ 11,397 ราย ยอดดับยังสูง 101 คน ติดเชื้อสะสมระลอกเมษาฯ 3.7 แสนราย ขณะที่"ราชกิจจาฯ"ประกาศคำสั่ง"ศบค."ล็อกดาวน์เพิ่ม อีก 3 จังหวัด "ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-อยุธยา" รวมพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 53 จังหวัด พื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด และภูเก็ต พื้นที่เฝ้าระวังสูง เมื่อวันที่ 18 ก.ค.64 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย ว่า พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เพิ่มขึ้น 11,397 ราย แบ่งออกเป็นติดเชื้อใหม่ในประเทศ 11,388ราย ติดเชื้อในเรือนจำ-ที่ต้องขัง 318 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 101 คน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในช่วงการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ตั้งแต่ 1 เมษายน - 18 กรกฎาคม 2564 มีจำนวน 374,523 ราย เสียชีวิตสะสม 3,247 คน ส่วนผู้ติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อต้นปี 2563 มีจำนวน 403,386 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 3,341 คน ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ในอันดับที่ 55 ของโลก ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานเพิ่มเติมว่า ยอดผู้หายป่วยจากโควิด-19 ในประเทศ ผู้หายป่วยรายใหม่วันนี้ 5,726 ราย ผู้หายป่วยสะสม 256,484 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน - 18 กรกฎาคม 2564) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. จะผู้รายงานสถานการณ์เพิ่มเติมเวลา 12.30 น. วันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด - 19) ที่ 10 /2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปเป็นคราวที่ 12 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนำ 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมารตรา 9 แห่งพระราชกำหนดกำรบริหารราชการในสถำนกำรณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อำศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนำคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด - 19 โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และศูนย์บริหำรสถานการณ์การแพร่ระบำดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 กระทรวงมหาดไทย จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามมาตรการตามข้อกำหนดฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 บัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 10/2564 ลงวันที่ 17กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สำหรับ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 13 จังหวัด ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 2.จังหวัดฉะเชิงเทรา 3.จังหวัดชลบุรี 4.จังหวัดนครปฐม 5.จังหวัดนนทบุรี 6.จังหวัดนราธิวาส 7.จังหวัดปทุมธานี 8.จังหวัดปัตตานี 9.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10.จังหวัดยะลา 11.จังหวัดสงขลา 12.จังหวัดสมุทรปราการ และ13.จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด รวมทั้งสิ้น 53 จังหวัด ได้แก่ 1.จังหวัดกระบี่ 2.จังหวัดกาญจนบุรี 3.จังหวัดกาฬสินธุ์ 4. จังหวัดกาแพงเพชร 5. จังหวัดขอนแก่น 6. จังหวัดจันทบุรี 7. จังหวัดชัยนาท 8. จังหวัดชัยภูมิ 9. จังหวัดเชียงราย 10. จังหวัดเชียงใหม่ 11. จังหวัดตรัง 12. จังหวัดตราด 13. จังหวัดตาก 14. จังหวัดนครนายก 15. จังหวัดนครราชสีมา 16. จังหวัดนครศรีธรรมราช 17. จังหวัดนครสวรรค์ 18. จังหวัดบุรีรัมย์ 19. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 20. จังหวัดปราจีนบุรี 21. จังหวัดพัทลุง 22. จังหวัดพิจิตร 23. จังหวัดพิษณุโลก 24. จังหวัดเพชรบุรี 25. จังหวัดเพชรบูรณ์ 26. จังหวัดมหาสารคาม 27. จังหวัดยโสธร 28. จังหวัดร้อยเอ็ด 29. จังหวัดระนอง 30. จังหวัดระยอง 31. จังหวัดราชบุรี 32. จังหวัดลพบุรี 33. จังหวัดลำปาง 34. จังหวัดลำพูน 35. จังหวัดเลย 36. จังหวัดศรีสะเกษ 37. จังหวัดสกลนคร 38. จังหวัดสตูล 39. จังหวัดสมุทรสงคราม 40. จังหวัดสระแก้ว 41. จังหวัดสระบุรี 42. จังหวัดสิงห์บุรี 43. จังหวัดสุโขทัย 44. จังหวัดสุพรรณบุรี 45. จังหวัดสุรินทร์ 46. จังหวัดหนองคาย 47. จังหวัดหนองบัวลาภู 48. จังหวัดอ่างทอง 49. จังหวัดอุดรธานี 50. จังหวัดอุทัยธานี 51. จังหวัดอุตรดิตถ์ 52. จังหวัดอุบลราชธานี และ 53. จังหวัดอานาจเจริญ พื้นที่ควบคุม รวมทั้งสิ้น ๑๐ จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดชุมพร 2. จังหวัดนครพนม 3. จังหวัดน่าน 4. จังหวัดบึงกาฬ 5. จังหวัดพังงา 6. จังหวัดแพร่ 7. จังหวัดพะเยา 8. จังหวัดมุกดาหาร 9. จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ10. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะที่ พื้นที่เฝ้าระวังสูง รวมทั้งสิ้น 1 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ ยังกำหนดพื้นที่ห้ามออกนอกเคหสถานเพิ่มเติม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วันนับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่และการกำหนดบุคคลที่ได้รับยกเว้น การห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ย่อมมีความผิดและต้องระวางโทษตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อีกทั้งการกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและการตรวจคัดกรองการเดินทาง เฉพาะเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วัน ขณะที่มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วนเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด 14 วัน ส่วนการให้บริการดังต่อไปนี้ ให้เปิดดำเนินได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคที่กำหนดที่เข้มงวดยิ่งขึ้น วันเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าได้สั่งการ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เร่งจัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายนอกราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว เสนอให้ศบค. พิจารณาตัดสินใจ เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมของประเทศไทย รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่าได้สั่งการให้นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการอย.เชิญผู้แทนของบริษัทวัคซีน ที่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศไทย ทุกราย เข้าพบในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือถึงแนวทางที่ประเทศไทย จะได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัคซีน mRNA ที่ประชาชนต้องการ ซึ่งขณะนี้ผู้แทนของโมเดอร์นา ได้ตอบรับที่จะร่วมหารือกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข แล้ว รวมทั้ง ได้มีการยื่นข้อเสนอไปที่บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย เพื่อสั่งซื้อวัคซีน เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านโดส ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือกัน เร็วๆนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบหลักการที่จะมีการกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายนอกราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว ตามที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เสนอ และมอบให้สถาบันวัคซีนฯกับกรมควบคุมโรค จัดทำร่างประกาศ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณา โดยให้คำนึงถึงผลกระทบ ผลประโยชน์ของประเทศไทย และประชาชนคนไทยเป็นสำคัญ ทั้งปัจจุบันและอนาคต ควบคู่กันไป ในที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีน และให้ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กับ อธิบดีกรมควบคุมโรค ไปเจรจากับผู้ผลิตวัคซีน ให้ได้จำนวนวัคซีนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดของโรคในประเทศก่อน ซึ่งประเด็นนี้ นายอนุทิน เคยแจ้งเป็นหนังสืออย่างเป็นทางการไปถึงแอซตราเซนเนกา แล้วว่า ประเทศไทย ต้องการวัคซีน เดือนละ 10ล้านโดส แหล่งข่าวกลาวด้วยว่า นายอนุทิน ได้แจ้งให้ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนฯ ว่าเมื่อได้ผลการเจรจาอย่างไร ให้นำมารายงานในที่ประชุมกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำประกาศฯ ซึ่งคณะกรรมการ พร้อมจะประชุมทันทีที่ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์กับประชาชนคนไทย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับประเทศในอาเซียน ที่รอการจัดสรรวัคซีน ที่ผลิตในประเทศไทย ด้วย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเสนอศบค. พิจารณา อีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้มีการพิจารณาได้ครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งเชื่อว่า ศบค.จะยึดถือประโยชน์ของประเทศไทย เป็นหลัก ขณะที่ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬา?ภรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda ระบุว่า "อีกหนึ่งล้านมาถึงแล้ว พร้อมๆกับที่ได้รับรายงานว่า มีคนเข้าจองวัคซีน Sinopharm รายบุคคลได้บ้างไม่ได้บ้าง ขณะนี้ 0930 คนผ่านลงทะเบียนเข้าไปได้ 60000 ราย แล้วผมได้สั่งให้ปิดระบบก่อนนะครับ ต้องขอโทษคนที่จองไม่ได้ แต่ประมาณอีกหนึ่งอาทิตย์จะเปิดให้อีกครั้ง และจะไปขยายถนนระบบทางเข้าจองให้กว้างขึ้น จะได้สดวกกันทุกฝ่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงไม่ได้พร้อมกันทั้งหมด เพราะจากรายงานก่อนเปิดระบบทราบว่ามีคนเกือบสี่แสนคนรอจ่อเข้าในการจอง นิธิ มหานนท์ 18/7/64 0940" ส่วนทางด้าน "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" ออกประกาศ ว่า "ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์วัคซีน "ซิโนฟาร์ม" สำหรับประชาชน ในรอบแรก ได้ทั้งหมด 60,000 ราย สำหรับผู้ที่ยังลงทะเบียนไม่ได้ ให้รออีก 1 สัปดาห์ ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะแจ้งเปิดระบบการจองอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์ได้ในรอบแรกและชำระเงินตามกำหนด สามารถเข้ารับวัคซีนได้ตามวันนัดหมาย ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564 ทุก 2 โดส ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมสมทบ"ครึ่งโดส" บริจาคส่งต่อวัคซีนให้กับผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางทางสังคม ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ โปรดติดตามข่าวได้ทางหน้าเฟสบุคเพจและเว็บไซต์ของทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เท่านั้น ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564"