หลังจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ที่มีการประกาศล็อกดาวน์ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา 10 จังหวัด โดยมีการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือหลายมาตรการทั้งแรงงานและนายจ้างผู้ประกอบการในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาดใน 9 สาขาอาชีพประกอบไปด้วย 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ 5.สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 6.สาขาการขายส่งและการขายปลีก 7.สาขาการซ่อมยานยนต์ 8.สาขากิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ 9.สาขาข้อมูลข่าวสารและการศึกษา ทั้งนี้ในระบบประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย รัฐบาลจะจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้าง 2,500 บาท/คน เพิ่มเติมจากจ่ายชดเชยเยียวยาร้อยละ 50 ของรายได้ให้ลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน7,500 บาท เป็นผลให้ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท/คน ส่วนผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 สัญชาติไทย ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกอบการ จะจ่ายให้นายจ้างตามจำนวนสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ นายจ้าง/ผู้ประกอบการ กรณีที่มีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ ลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ส่วนผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ในโครงการคนละครึ่ง-เราชนะ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมเพราะไม่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 เพื่อรับความช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทด้วย 1 เดือน สำหรับวิธีการเตรียมเอกสาร รับเงิน 5,000 บาท รัฐบาลให้หลักการว่า จำกัดเอกสารให้น้อยที่สุด เพื่อลงทะเบียน และจ่ายเงินเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด ดังนี้ วิธีเตรียมเอกสาร หลักฐานการเป็นลูกจ้างในกิจการที่ถูกสั่งปิดเพราะประกาศ คำสั่งของรัฐบาล บัตรประชาชน หลักฐานจ่ายเงินสบทบประกันสังคม ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 เอกสารจ่ายเงินสมทบ 6 เดือนย้อนหลัง เอกสารการรับเงินจากนายจ้าง หรือคู่ค้า ครั้งสุดท้าย วิธีสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถทำได้ผ่าน 7 ช่องทาง สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ สายด่วนประกันสังคม หมายเลข 1506 เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา ธนาคาร ธกส.ทุกสาขา Big c ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม วิธีสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม เข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม เลื่อนลงมาด้านล่างเพื่อเข้าโปรแกรม ลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ถ้าเป็นโทรศัพท์ เคลื่อนที่โปรแกรมจะอยู่ตรงกลางหน้าจอหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมจะอยู่ด้านขวามือ ของหน้าจอ เลือกแถบเมนู ลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะปรากฏหน้าจอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จนเสร็จสิ้นกระบวนการรับสมัครขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ระบบ จะแจ้งยืนยันผ่านทาง SMS ทันที การสมัครจึงจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดให้ผู้ประกันตนนายจ้างและลูกจ้างสามารถตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยาแล้ว โดยสามารถกดที่นี่ https://www.sso.go.th/eform_news/