เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 14 ก.ค.64 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่เชื่อระบาดโควิด 19 จ.สมุทรปราการ นายวันชัย คงเกษม ผวจ.สมุทรปราการ พร้อมด้วย นายแพทย์นนท์ จินดาเวช ส.ส.จ.สมุทรปราการ แถลงข่าวสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในจังหวัดสมุทรปราการ ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 พบมีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1,006 ราย
เป็นผู้ป่วยในพื้นที่จำนวน 844 ราย แยกเป็นอำเภอเมือง 221 ราย อำเภอบางบ่อ 15 ราย อำเภอบางพลี 266 ราย อำเภอพระประแดง 109 ราย อำเภอพระสมุทรเจดีย์ 100 ราย อำเภอบางเสาธง 133 ราย รับมารักษาในจังหวัดสมุทรปราการ 162 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย เพศชาย อายุ 46 ปี คลัสเตอร์ใหญ่เป็นโรงงานไทยอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จำนวน 86 ราย ส่วน คลัสเตอร์ อื่น ๆ ที่กระจายอยู่ในแต่ละอำเภอ เป็นคนงานตามโรงงาน และตามอพาร์เมนต์ตั้งแต่ ที่พบตั้งแต่ 3 ขึ้นไปจนถึง 14 รายในบางแห่ง
รวมยอดเสียชีวิตสะสมของจังหวัดสมุทรปราการ 234 ราย การตรวจคัดกรองเฝ้าระวังในคลินิก ARI และในชุมชน จำนวน 246,584 ราย พบเชื้อ 20,412 ราย ผู้ป่วยสะสมระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึงปัจจุบันจำนวน 24,314 ราย ในพื้นที่ 20,412 ราย นอกพื้นที่ 3,902 ราย กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 1,217 ราย รักษาในโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 1,802 ราย รักษาใน Hospitel ราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ จำนวน 1,391 ราย ส่วนจำนวนเตียงผู้ป่วยในสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดสมุทรปราการ ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 โรงพยาบาลรัฐสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดอื่น ๆ จำนวนเตียงคงเหลือ 1 เตียง โรงพยาบาลสนาม (Hospitel และ Field Hospital) จำนวนเตียงคงเหลือ 169 เตียง โรงพยาบาลเอกชนจำนวนเตียงคงเหลือ 1 เตียง Hospitel โรงพยาบาลเอกชนจำนวนเตียงคงเหลือ 380 เตียง
นายแพทย์นนท์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ของ จ.สมุทรปราการ วันมีผู้ป่วยยืนยัน 1,006 ราย ในพื้นที่ 844 ราย รับมารักษาในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ 162 ราย นับว่ามีอันตราพุ่งสูงมากกว่าที่เคยมีมา วันนี้ได้มีครัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นหลายแห่ง โดยครัสเตอร์ใหญ่นั้น อยู่ที่บริษัท ไทย อุตสาหกรรม จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.พระสมุทรเจดีย์ มีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 86 ราย ทั้งหมดได้ประสานโรงพยาบาลต้นสังกัดตามสิทธิประกันสังคมนำไปรักษาต่อ ส่วนผู้สัมผัสเบื้องต้นมีอยู่ประมาณ 40 กว่าราย ทางโรงงานเองได้ดำเนินการจัดสถานที่กักตัวอยู่ในโรงงาน ส่วนที่ยอดที่เหลือ 800 กว่าราย มาจากคลัสเตอร์เดิมที่มีอยู่แล้ว และเป็นการติดตามกลุ่มเสี่ยงในคลัสเตอร์นั้น ๆ ต่อ และอยู่ในช่วงกักตัว 14 วัน ก่อนที่จะทำการตรวจซ้ำจนกระทั่งพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจนทำให้ตัวพุ่งสูง