ธนาคารซิตี้แบงก์ เปิดเผยข้อมูลรายงานผลการสำรวจเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG จากกลุ่มลูกค้าสถาบันจำนวน 259 รายใน 14 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 พบว่าส่วนใหญ่มีการจัดการและบริหารด้านการเงินที่แตกต่างกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดย 54% มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ที่รวมเข้ากับกลยุทธ์องค์กรอยู่แล้ว ในขณะที่เกือบ 90% มีความตั้งใจที่จะเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติ ESG ภายในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งกว่า 2 ใน 3 ของผลการสำรวจระบุว่าสถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงผลักดันด้านนโยบายและแนวปฏิบัติ ESG ในบริษัท ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นที่น่าจับตา
ธนาคารซิตี้แบงก์ เผยผลสำรวจในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ที่ผ่านมา ซิตี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากลูกค้าสถาบัน จำนวน 259 รายใน 14 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก ในเรื่อง ESG โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งระดับอาวุโสในบริษัท โดย 16% เป็นประธานหรือซีอีโอ 24% เป็นผู้บริหารระดับสูง 26% เป็นกรรมการผู้จัดการและกรรมการ และ 28% เป็นรองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจากผลการสำรวจพบว่า 54% มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ที่รวมเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรอยู่แล้ว ในขณะที่เกือบ 90% ตั้งใจที่จะเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยการพัฒนา ESG ในองค์กร ประกอบไปด้วย กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน คิดเป็น 65% ด้านผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อความสัมพันธ์ทั้งกลุ่มลูกค้าและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร คิดเป็น 57% ด้านปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม คิดเป็น 48% ด้านการกำกับดูแล และนโยบายการใช้สิทธิซื้อก่อนที่ครอบคลุม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ คิดเป็น 42% ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการ ESG คิดเป็น 28% และผลกระทบด้านความต้องการและราคาที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ESG คิดเป็น 22%
นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่ากลุ่มที่สนับสนุนนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ในองค์กร 3 อันดับแรก ได้แก่ รัฐบาลหรือผู้กำกับดูแลจำนวน 33% นักลงทุน 21% และลูกค้า 20% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องมือทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนที่ให้ความสนใจ ได้แก่ พันธบัตรสิ่งแวดล้อม 22% และการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่เชื่อมโยงกับ ESG จำนวน 42%” อีกทั้งกว่า 2 ใน 3 ยังระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นแรงผลักดันด้านนโยบายและแนวปฏิบัติ ESG ในบริษัทอีกด้วย ซึ่งจากผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ชัดว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียกำลังได้รับความสนใจ
นายปีเตอร์ บาเบจ ประธานกรรมการบริหาร ซิตี้ เอเชียแปซิฟิก เสริมว่า “ซิตี้ในฐานะธนาคารระดับโลกที่มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซิตี้เล็งเห็นว่าการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนเป็นทั้งหน้าที่และเป็นโอกาสในการสร้างพันธมิตรกับลูกค้าของซิตี้ทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินงานและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยซิตี้ได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับลูกค้าสถาบัน ไม่เพียงแต่นำเสนอการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยให้เร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเท่าเทียมยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ซิตี้ก็ช่วยลูกค้านักลงทุนในการเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนให้เน้นในกลุ่มบริษัทที่สะอาดขึ้น รวมถึงขอบเขตด้านการจัดหาเงินทุนอย่างยั่งยืนของซิตี้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งหมด ตั้งแต่นักลงทุนเปลี่ยนตำแหน่งพอร์ตการลงทุนไปสู่อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปจนถึงองค์กรที่ปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ผ่านการซื้อกิจการและการขายกิจการ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของซิตี้ในการสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้รายงานดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงการเติบโตของการเงินด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นด้านการเงินที่ยั่งยืนในวงกว้าง ซิตี้ได้ระดมทุนกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สำหรับลูกค้าสถาบันในเอเชียแปซิฟิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 400% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ควบคู่ไปกับการกำลังพัฒนาโซลูชันร่วมกับลูกค้านักลงทุนเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแก้ไขข้อกำหนดที่สำคัญในการเปิดตัวดัชนี Citi ESG World Indices ซึ่งเป็นดัชนีที่เป็นกรรมสิทธิ์แห่งแรกของซิตี้ที่นำเสนอเกณฑ์มาตรฐานสำหรับนักลงทุน ESG ที่ดีที่สุดในระดับเดียวกันจากตลาดต่างๆทั่วโลกที่จะมาช่วยในด้านการซื้อขายและเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนลูกค้าไปสู่ ESG พร้อมกันนี้ยังเน้นย้ำถึงสิ่งที่ซิตี้ได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซิตี้ได้บรรลุเป้าหมายด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดหาไฟฟ้าหมุนเวียน 100% สำหรับโรงงานทั่วทั้งภูมิภาคอีกด้วย