พระองค์เป็นเจ้าหญิงของไทย และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกที่เสด็จฯเยือนประเทศจีน ทรงได้รับพระสมัญญาว่าเป็น “ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน” และพระองค์ทรงได้รับ “เหรียญรางวัลมิตรภาพ” พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ ดนตรี และจิตรกรรม ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์ทรงเป็น “ผู้รอบรู้” ด้านวัฒนธรรมจีนอย่างท่องแท้ พระองค์ก็คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าหญิงของไทย
‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ เคยตรัสว่า “ตอนที่ข้าพเจ้ายังเด็กก็รู้จักประเทศจีนแล้ว แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนและประเทศไทยยังไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันก็ตาม แต่ข้าพเจ้าก็สามารถรู้เรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ จากสถานีวิทยุกระจายเสียงของประเทศจีน” ไทยและจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ. 2518 และเมื่อปี พ.ศ. 2523 ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ ทรงเริ่มศึกษาภาษาจีนโดยการแนะนำจากพระมารดา “พระมารดาเคยตรัสกับข้าพเจ้าว่า คนจีนหาความรู้จากการอ่านหนังสือ หากเข้าใจภาษาจีนก็จะมีความรู้มากขึ้น แท้จริงแล้วก็เป็นอย่างพระมารดาทรงตรัสไว้” ในปีถัดมา ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ เสด็จฯเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก และทรงพบ นายเติ้ง เสี่ยวผิง รองประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น พร้อมตรัสว่าประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์และมิตรภาพที่แน่นแฟ้น เพราะว่าเราล้วนแต่เป็นคนเอเชียเหมือนกัน มีขนบธรรมเนียมและการเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างเหมือนกัน
ปัจจุบัน ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ ได้เสร็จฯเยือนประเทศจีนกว่า 50 ครั้ง และทรงเสร็จฯเยือนมณฑล เมือง เขตปกครองตนเองทั่วทุกแห่งของจีน และทุก ๆ ครั้งที่พระองค์ทรงเสร็จฯเยือนจีนก็จะทรงถ่ายทอดประสบการณ์การเยือนจีนเป็นพระราชนิพนธ์ อาทิ “ย่ำแดนมังกร” “มุ่งไกลในรอยทราย” เป็นต้น และทรงถ่ายทอดช่วงเวลาอันสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ประเทศจีนได้เกาะฮ่องกงกลับคืนมาใน พ.ศ. 2540 ให้แก่ผู้อ่านชาวไทยผ่านหนังสือชื่อ “คืนถิ่นจีนใหญ่”
เมื่อปี พ.ศ. 2544 พระองค์ทรงมีโอกาสเสร็จฯเยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่งเพื่อศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน และทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ หลังจากเสร็จกลับประเทศไทย พระองค์ทรงรวบรวมไดอารี่และภาพถ่ายที่พระองค์ทรงถ่ายเก็บไว้ขณะทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งและจัดทำเป็น “ชีวิตนักศึกต่างประเทศของข้าพเจ้า” หลังจากนั้นพระองค์จะเสร็จฯเยือนประเทศจีนเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่งเกือบทุกปี และได้ให้ความห่วงใยและให้การสนับสนุนแก่คณาจารย์และนักศึกษามาโดยตลอด เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 30 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน และตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 50 พรรษา มหาวิทยาปักกิ่งจะถวายเกียรติตั้งชื่อสถาบันแลกเปลี่ยนทางวิชาการตามชื่อของพระองค์ “ศูนย์แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมสิรินธร มหาวิทยาลัยปักกิ่ง” ถวายแด่พระองค์เป็นขวัญเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 50 พรรษา
‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ ทรงโปรดวรรณกรรมจีนมาก ทรงแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง และพระองค์ยังเคยแปลบทกวีจากราชวงศ์ถังและซ่ง รวบรวมเขียนเป็นพระราชนิพนธ์ชื่อ “หยกใสร่ายคำ” ประพันธ์บทกวีที่ว่า “จะเป็นจีนเป็นไทยใช่ใครอื่น จงชมชื่นผูกจิตสนิทมั่น” และภายใต้พระราชดำริของพระองค์ ทรงให้มีความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยปักกิ่งก่อตั้งสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น
เทศกาลตรุษจีนของทุกปี ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ จะเสร็จฯไปยังเยาวราชในกรุงเทพฯเพื่อทรงมอบคำอวยพรวันตรุษจีนแด่พสกนิกรชาวไทยเชื้อสายจีน พระองค์เคยทรงเข้าร่วมงานสำคัญ ๆ เกี่ยวกับประเทศจีนมากมาย อาทิ พิธีส่งคืนเกาะฮ่องกง และมาเก๊าให้แก่จีน มหากรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง รวมถึงพระองค์ทรงสนับสนุนจีนอย่างจริงจังในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หลักของประเทศจีน พระองค์ตรัสว่า “คนจีนมีความขยันหมั่นเพียร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา ข้าพเจ้าคิดว่าจีนจะก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในอนาคต เกิดความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสาขาอื่นๆ บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน บ้านเมืองสงบสุขยาวนาน”
หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในมณฑลเฉฉวน ในปี พ.ศ.2551 ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ ทรงบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที และในปี พ.ศ. 2552 ระหว่างพระองค์ทรงเสร็จฯเยือนเมืองเหมียนหยาง ทรงตัดสินพระทัยบริจาคเงินจำนวนกว่าสิบล้านหยวนเพื่อนำไปสร้างโรงเรียนประถมขึ้นใหม่อีกครั้ง ซึ่งต่อมาโรงเรียนประถมแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์ที่ทรงบริจาคเงินก่อสร้าง คือ “โรงเรียนประถมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในปี พ.ศ. 2561 พระองค์ทรงเสร็จฯเยือนตำบลเป่ยฉวน ณ ซากปรักหักพังแผ่นดินไหว เพื่อวางดอกไม้แสดงความไว้อาลัยต่อผู้เคราะห์ร้าย ก่อนที่พระองค์จะเสร็จฯกลับทรงตรัสว่า “ตอนที่ประเทศไทยเกิดสึนามิ สภากาชาดจีนก็ได้ยืนมือให้ความช่วยเหลือประเทศไทยทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านชาวประมงในประเทศได้รับการสนับสนุนมากมายจากประเทศจีน เช่นเดียวกันนั้นหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดิวไหวที่เฉฉวน ชาวประมงเหล่านั้นก็รวบรวมเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนรากหญ้าของทั้งสองประเทศมีมิตรภาพระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้น
เนื่องในวาระครบรอบ 70 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’ ทรงได้ตอบ การให้สัมภาษณ์ร่วมของผู้สื่อข่าวและสถานเอกอัครราชทูตเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ตลอด 70 ปีที่ผ่าน รัฐบาลจีนและประชาชนจีนเอาชนะความยากลำบากบนเส้นทางของการพัฒนาประเทศ ประชาชนจีนและเหล่าผู้นำต่างขยันหมั่นเพียรและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาดั่งเช่นทุกวันนี้ “เนื่องในวาระครบรอบ 70 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ข้าพเจ้าขอให้สาธารณรัฐประชาชนจีนมีความก้าวหน้า มั่งคั่งและรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไป และขอให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งหวังทุกประการ และขอให้ประชาชนจีนมีชีวิตที่เป็นสุขและสุขภาพแข็งแรง”