ผู้สื่อข่าวรายงานถึงผลการลงมติรับหรือไม่รับหลักการ ของสมาชิกรัฐสภา ต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 13 ฉบับ โดยในส่วน 12 ฉบับที่ไม่ถูกรับหลักการ ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 256(3) กำหนดให้ใช้เสียงเห็นชอบในชั้นรับหลักการ ด้วยเสียง ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยยู่ของทั้งสองสภา คือ จำนวน 367 เสียง จากสมาชิกรัฐสภาที่มี 733 เสียง และกำหนดให้เสียงเห็นชอบดังกล่าวนั้น ต้องมีส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ จำนวน 84 เสียง มีรายละเอียดที่น่าสนใจ คือ
ร่างแก้รัฐธรรมนูญ ของพรรคพลังประชารัฐ ที่มีผล คะแนน รับหลักการ รวม 334 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 334 เสียง ส่วน ส.ว.ไม่มีผู้ใดรับหลักการ ส่วนคะแนนไม่รับหลักการ รวม 199 เสียง พบว่าเป็นของส.ส. 71 เสียง ได้แก่ พรรคก้าวไกล 48 เสียง, พรรคประชาชาติ 6 เสียง , พรรคร่วมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง, พรรรคเสรีรวมไทยย10 เสียง, นายมงคลกิตติ์ สุขสินธรานนท์ ส.ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ,นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่, ของส.ว. 128 เสียง
และ คะแนนงดออกเสียง รวม 173 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 75 เสียง ส่วนใหญ่เป็นของ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ทั้งนี้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ งดออกเสียงด้วย และส.ว. 98 เสียง
ร่างแก้รัฐธรรมนูญ ของ พรรคเพื่อไทย รวมกับเสรีรวมไทย แก้กลุ่มมาตรว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพประชาชน ตัดการรมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคกำหนดผู้แทนลงเลือกตั้ง และเพิ่มสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และการต่อต้านรัฐประหารด้วยสันติวิธี
ผลการออกเสียง คือ รับหลักการ รวม 399 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 393 เสียง ส.ว. 6 เสียง ได้แก่ นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน, นาประมนต์ สุธีวงศ์,นายพิศาล มาณวพัฒน์, นายมณเฑียร บุญตัน, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ และ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ไม่รับหลักการ รวม 136 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 128 เสียง
โดยส.ส.ที่ไม่รับหลักการ ได้แก่ นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ , น.ส.จุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์, น.ส.เพชรชมพู กิจบูรณะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายสุพล จุลใส ส.ส.ชุมพร, น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ พรรครรวมพลังประชาชาติไทย, นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังไทยรักไทย, นายพิเชษฐ์ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธรรมไทย และ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่
ร่างแก้รัฐธรรมนูญ ของพรรคเพื่อไทย แก้ระบบเลือกตั้ง มีส.ส. 500 คนจากเขต 400 คนเขต 100 คน
มีผลการออกเสียง คือ รับหลักการ รวม 376 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 340เสียง ส.ว. 36 เสียง
ไม่รับหลักการ รวม 89 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 18 เสียง ส.ว. 128 เสียง โดยเสียงส.ส.ที่ไม่รับหลักการ ได้แก่ 10ส.ส.ของพรรคเสรีรวมไทย และ 8 เสียงจากพรรคเล็กร่วมรัฐบาลได้แก่ นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ , น.ส.จุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์, น.ส.เพชรชมพู กิจบูรณะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายสุพล จุลใส ส.ส.ชุมพร, น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ พรรครรวมพลังประชาชาติไทย, นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังไทยรักไทย, นายพิเชษฐ์ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธรรมไทย และ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่
ส.ว. 71 เสียง และ งดออกเสียง รวม 241 เสียง แบ่งเป็น ส.ส.122 เสียง ส.ว. 119 เสียง
ร่างแก้รัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล แก้ที่มานายกรัฐมนตรี และตัดอำนาจ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี
ผลการออกเสียง รับหลักการรวม 454 เสียง แบ่งเป็น ส.ส.440 เสียง ส.ว. 15 เสียง ได้แก่ นายอำพล จินดาวัฒนะ, นาอนุศาสน์ สุวรรณมงคล, นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, นายวันชัย สอนศิริ, นายวัภลภ ตังคณานุรักษ์, นายมณเฑียร บุญตัน, นายพิศาล มาณวพัฒน์, แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, นายประมนต์ สุธีวงศ์, นางประภาศรี สุฉันทบุตร, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ , นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ, นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน, นายคำนูณ สิทธิสมาน และ นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
ไม่รับหลักการ รวม 100 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 92 เสียง โดย 8ส.ส.ที่ไม่รับหลักการยังเป็นรายชื่อเดิม
และ งดออกเสียง. รวม 150 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 32 เสียง และ ส.ว. 118 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติและบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของยุทธศาสตร์ชาติ และยกเลิกมาตรา279 การรับรองความชอบของ บรรดาคำสั่ง ประกาศของคสช.
ผลการออกเสียง รับหลักการ รวม 327 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 326 เสียง ส.ว. 1 เสียง คือนายพิศาล มาณวพัฒน์
, ไม่รับหลักการ 150 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง และ ส.ว. 142 เสียง โดย ส.ส.8 เสียง ยังเป็นคนกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 229 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 146 เสียง และ ส.ว. 83 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ3พรรคร่วมรัฐบาล แก้ไขมาตรา 65 ว่าด้วยการทำยุทธศาสตร์ชาติ ที่วางเป้าหมายพัฒนาประเทศ
ผลการออกเสียง รับหลักการรวม 454 เสียง แบ่งเป็น ส.สง 419 เสียง ส.ว. 35 เสียง, ไม่รับหลักการ รวม 86 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 78 เสียง โดยส.ส. 8 เสียง ยังเป็นกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 166 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 53 เสียง ของพรรคก้าวไกลทั้งหมด และ ส.ว. 113 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ 3พรรคร่วมรัฐบาล เพิ่มมาตราใหม่ ให้รัฐวางหลักประกันรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า ผลการออกเสียง รับหลักการ รวม 475 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 421 เสียง ส.ว. 54 เสียง
ไม่รับหลักการ รวม 78 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง และ ส.ว. 70 เสียง โดยส.ส. 8 เสียง ยังเป็นกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 152 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 51 เสียง โดยส่วนใหญ่เป็นของพรรคก้าวไกล และ ส.ว. 101 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ 3พรรคร่วมรัฐบาล แก้มาตราว่าด้วยสิทธิเสรีภาพประชาชนด้านกระบวนการยุติธรรม, สิทธิด้านสิ่งแวดล้อม, คุ้มครองผู้บริโภค
ผลการออกเสียง รับหลักการรรวม 467 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 419 เสียง ส.ว. 48 เสียง, ไม่รับหลักการ รวม 75 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 67 เสียง โดยส.ส.8 เสียง ยังเป็นกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 162 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 51 เสียงโดยส่วนใหญ่เป็นส.ส.พรรคก้าวไกล และ ส.ว. 111 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ 3พรรคร่วมรัฐบาล แก้มาตรา 256 ปลดล็อคเสียงส.ว. ออกจากการลงคะแนนแก้รัฐธรรมนูญ
ผลการออกเสียง รับหลักการ รวม 415 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 400 เสียง ส.ว. 15 เสียง ได้แก่ นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน, นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, นายบรรชา พงส์อายุกูล, คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, นายพิศาล มาณวพัฒน์, นายมณเฑียร บุญตัน, นายวันชัย สอนศิริ, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ , นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์, นายสมชาย เสียงหลาย, นายสมชาย หาญหิรัญและนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
ไม่รับหลักการ รวม 102 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 94 เสียง โดยส.ส.8 เสียง ยังเป็นกลุ่มเดิม
และงดออกเสียง รวม 189 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 72 เสียง และ ส.ว. 117 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ 3 พรรคร่วมรัฐบาล แก้กระบวนการตรวจสอบ กรรมการ ป.ป.ช. ให้ใช้ช่องทางศาลฎีกา แทนช่องทางของประธานรัฐสภา
ผบการออกเสียง รับหลักการ รวม430 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 397 เสียง ส.ว. 33 เสียง
ไม่รับหลักการ รวม 97 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง และส.ว. 89 เสียง โดยส.ส.8 เสียงเป็นกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 178 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 74 เสียง และ ส.ว. 104 เสียง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคภูมิใจไทย แก้ที่มานายกรัฐมนตรี และตัดอำนาจ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี
ผลการออกเสียง รับหลักการ รวม 461 เสียง แบ่งเป็น ส.ส.440 เสียง ส.ว. 21 เสียง ได้แก่ นายอำพล จินดาวัฒนะ, นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล, นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ, นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, นายสมชาย เสียงหลาย, นายสม จาตุศรีพิทักษ์, นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์, นายวันชัย สอนศิริ, นายมณเฑียร บุญตัน,นายพิศาล มาณวพัฒน์, คุณหญิงแพท์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, นายประมนต์ สุธีวงศ์, นางประภาสรี สุฉันทบุตร, นายบรรชา พงศ์อารยุกูล, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์,นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ,นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ , นายคำนูณ สิทธิสมาน และ นายไกรสิทธิ์ จันติศิรินทร์
ไม่รับหลักการ รวม 96 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 88 เสียง โดยส.ส.8 เสียง นั้น ยังเป็นกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 149 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 32 เสียง โดยส่วนใหญ่เป็นของพรรคพลังประชารัฐ , พรรคชาติไทยพัฒนา และส.ว.งดออกเสียง 117 เสียง
และ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ 3 พรรคร่วมรัฐบาลเพิ่มหลักการ กระจายอำนาจปกครองท้องถิ่น ให้นักการเมืองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ผลการออกเสียง รับหลักการ รวม 457 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 407 เสียง ส.ว. 50 เสียง
ไม่รับหลักการ รวม 80 เสียง แบ่งเป็นน ส.ส. 8 เสียง ส.ว. 72 เสียง โดยส.ส.8 เสียง นั้น ยังเป็นกลุ่มเดิม
และ งดออกเสียง รวม 167 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 65 เสียง และ ส.ว. 102 เสียง