นับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมได้การประกาศการค้นพบหลุมบูชายัญใหม่ 6 แห่งเป็นต้นมา นักโบราณคดียังคงดำเนินการขุดสำรวจแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุยเรื่อยมา ล่าสุดได้ขุดค้นพบภาชนะเหลี่ยม ปากของภาชนะทรงกลม (圆口方尊) และรูปปั้นคนสำริดมีภาชนะวางบนศีรษะ (青铜顶尊人像) ซึ่งถูกเก็บเอาไว้ในกล่องไม้มากว่า 3000 ปีเป็นครั้งแรก การขุดสำรวจในคราวนี้ ได้ขุดพบและนำโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและประเภทโบราณวัตถุมีความหลากหลายเป็นจำนวนมากซึ่งที่ไม่เคยขุดค้นพบในบริเวณพื้นที่ของแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุยทางภาคตะวันตกของประเทศจีนมาก่อน ทำให้นักโบราณคดีต่างตื่นเต้นกันยกใหญ่ โดยโบราณวัตถุที่ได้ขุดพบและถูกนำขึ้นมาจากหลุมนั้นล้วนแต่มีความหลากหลาย ความสมบูรณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมสู่ (Shu) โบราณอย่างชัดเจน “ผ้าไหม” อาจบ่งบอกถึงการมีอยู่ของอักษรโบราณ เป็นครั้งแรกที่ขุดค้นพบเศษซากกากใยไหม และตรวจพบโปรจีนเส้นใยไหมระหว่างทำการทดสอบตัวอย่างดินในหลุมบูชายันต์หลายครั้ง สิ่งนี้อธิบายได้ว่าเมื่อ 3,000 ปีก่อน อาณาจักรซานซิงตุยได้เริ่มมีการใช้สิ่งทอผ้าไหม ปัจจุบันซานซิงตุยไม่ได้ขุดค้นพบอักษรและสัญลักษณ์โบราณแต่อย่างใด แต่นักโบราณคดีได้ขุดพบแร่ชินนาบาร์ (Cinnabar)ในหลุมบูชายันต์หมายเลข 1 ,2, 3 และ 4 เป็นจำนวนมากแทน และยังไม่สามารถบอกได้ว่าแร่ชินนาบาร์เหล่านี้ถูกโปรยลงในหลุมเพื่อเป็นสิ่งตกแต่ง หรือใช้เป็นวัสดุเครื่องเขียนบนสิ่งทอภายในหลุมกันแน่ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอักษรหรือสัญลักษณ์ที่เขียนไว้บนเครื่องเขิน เครื่องไม้ และสิ่งทอ หรือบอกได้ว่า ผ้าไหมอาจบ่งบอกถึงการมีอยู่ของอักษรโบราณ “งาช้าง” เป็นหนึ่งในความหวังที่จะช่วยเปิดเผยการติดต่อแลกเปลี่ยนของอารยธรรมโบราณสู่ นักโบราณกำลังขนย้ายงาช้างขึ้นจากหลุมบูชายันต์หมายเลข 4 ภายในแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุย ในเมืองก่วงฮั่น มณฑลเฉฉวน มีการขุดพบซากงาช้างทั้งหมดแล้ว 211 งา จากหลุมที่ได้ขุดค้นพบใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้กับอีก 2 หลุมที่ขุดค้นพบเมื่อปี 1986 งาช้างที่ขุดพบจากแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุยถือเป็นมรดกทางวัตนธรรมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อทำการปกป้องและศึกษาวิจัยงาช้างเหล่านี้ เพื่อหวังที่ได้เผยสภาพภูมิอากาศของที่ราบเฉฉวนในอดีต และยังหวังที่ได้รู้ถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างซานซิงตุยกับเส้นทางสายไหมทางภาคใต้และบริเวณที่ราบตอนกลาง เป็นต้น รูปปั้นคนสำริดมีภาชนะวางบนศีรษะ อาจจะย้อนภาพให้เห็นถึงขณะทำพิธีกรรมบูชายัญ รูปปั้นคนสำริดมีภาชนะวางบนศีรษะ เมื่อเย็นวันที่ 28 พฤษภาคม หลังจากที่กระทรวงการบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน (National cultural heritage administration) ได้ประกาศความสำเร็จในการขุดค้นพบรูปปั้นคนสำริดมีภาชนะวางบนศีรษะ เป็นโบราณวัตถุระดับสมบัติแห่งชาติอีกชิ้นหนึ่งในแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุย ซึ่งโบราณวัตถุชิ้นนี้ได้รับความสนใจจากสังคมทุกแขนงอย่างแพร่หลาย ถูกขุดพบภายในหลุมบูชายัญหมายเลข 3 มีรูปทรงคล้ายคุกเข่า นุ่งกระโปรงสั้นลายดอกไม้ มือทั้งสองข้างสอดประสานกัน นัยน์ตาใหญ่และปากกว้าง มีรูปลักษณ์แปลกตา ท่าทางจริงจัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลงานทางศิลปะเครื่องสำริดชั้นยอดของราชวงศ์ชางของจีน ผลงานทางศิลปะที่มีขนาดใหญ่ลักษณะนี้นับว่าถูกพบเป็นครั้งแรกในโลกและในจีน ลักษณะท่าทางของรูปปั้น คือ มือทั้งสองถือสิ่งของเป็นลักษณะท่าทางหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยในพิธีกรรมบูชายัญของยุคสมัยซานซิงตุย ณ ขณะนั้น หากดูจากลักษณะท่าทางของรูปปั้นคนสำริดมีภาชนะวางบนศีรษะเป็นลักษณะท่าทางระหว่างการทำพิธีกรรมบูชายัญหรืออาจจะเป็นการบูชาเทพเจ้า โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมอันเรืองลั่นแสดงถึงการเปิดกว้างของแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุย นักท่องเที่ยวกำลังถ่ายภาพรูปปั้นศีรษะสำริดหน้ากากทองคำภายในพิพิธภัณฑ์ซานซิงตุย วัฒนธรรมซานซิงตุยไม่เพียงเป็นการบอกเล่าถึงอารยธรรมของชนชาติจีนอย่างเป็นรูปธรรม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบนวงการเครื่องสำริดโลก เป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของอารยธรรมชนชาติจีน แหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุยเป็นทั้งขุมทรัพย์ที่ล้ำค่า ยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญอีกด้วย คุณค่าของมันทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ต้องการให้เราทำการศึกษาวิจัย และใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับศาสนาเป็นอีกมุมมองที่คนสู่โบราณเข้าใจโลก คนสู่โบราณยังถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และวิถีชีวิตผ่านทางวัตถุทางวัฒนธรรม ท้ายนี้จีนเล็งนำแหล่งซากโบราณคดีซานซิงตุยยื่นเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก ร่วมกับแหล่งโบราณคดีจินซา วางแผนไว้ว่าจะดำเนินการเมื่อมีการหลุดสำรวจหลุมบูชายัญเสร็จสิ้นลง