นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... คำถามมากมาย และความจริงวัคซีน AstraZeneca (AZ) 1) ทำไมประเทศไทยขณะนี้จึงกำหนดระยะห่าง จากเดิม 10 สัปดาห์ เป็น 16 สัปดาห์ • ผลการศึกษา ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกันมากกว่า 6 สัปดาห์ ถึง 12 สัปดาห์ ได้ผลภูมิต้านทาน และประสิทธิภาพดีกว่าผู้ที่ได้รับห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์ • ในการใช้จริงวัคซีน AZ ในประเทศอังกฤษ ช่วงที่มีโรคระบาดมาก และวัคซีนไม่เพียงพอ - อังกฤษ ยืดระยะห่างของการให้วัคซีน AZ เข็มที่ 2 ออกไปอีกถึง 16 สัปดาห์ เพื่อให้ประชากรส่วนใหญ่ ได้รับวัคซีนเข็มแรกให้มากที่สุด ไม่ต้องใช้แรงงาน มาพะวงกับการฉีดเข็มที่ 2 จะได้ปูพรมเข็มแรกได้กว้างที่สุดเพื่อระงับการระบาด • สกอตแลนด์ พบว่า - การให้วัคซีน AZ เพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพ ถึง 80% - การให้วัคซีน AZ เข็มที่ 2 จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็น 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเข็ม 2 เพิ่มประสิทธิภาพก็จริง ถ้าเปรียบเทียบกับการปูพรมเข็มแรกให้มากที่สุดแล้ว ค่อยเติมเข็ม 2 น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ในการควบคุมการระบาดของโรค • หลักของวัคซีน การทิ้งระยะห่าง ยิ่งห่างนาน ก็จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่า ระดับภูมิต้านทานหลังเข็ม 2 จะสูงกว่า ในการหวังผลให้อยู่นาน สรุป ประเทศไทยอยู่ในช่วงการระบาดขาขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการควบคุมโรคให้เร็วที่สุด จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีน AZ ปูพรมในแนวกว้างให้มากที่สุดก่อน โดยต้องระดมทรัพยากรทั้งหมดรวมทั้งวัคซีน มาใช้ในการให้วัคซีนเข็มแรก ภายใน 16 สัปดาห์ • ประชากรส่วนใหญ่ทั้งประเทศก็จะได้วัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม แล้วค่อยไปเติมเข็มที่ 2 ภูมิจะสูงขึ้นและอยู่นาน สิ่งสำคัญ ต้องเฝ้าระหว่างสายพันธุ์กลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ที่อาจจะสร้างปัญหาในระดับที่ภูมิต้านทานยังไม่สูงมากเกิดขึ้นได้ • การกำหนดระยะห่างไปที่ 16 สัปดาห์ จึงเป็นการที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทย 2) ความจริง...เปรียบเทียบเหตุการณ์/อาการไม่พึงประสงค์ วัคซีน Sinovac กับ AstraZeneca ต่างกันชัดเจน แต่ทั้งคู่ มีความปลอดภัย และประสิทธิผล”... • ผลการศึกษา การฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ในทุกอายุตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป พบว่า - วัคซีน Sinovac มีอาการไม่พึงประสงค์ น้อยกว่า AstraZeneca โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด อาการปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ - วัคซีน AstraZeneca จะพบว่า .... ...กลุ่มอายุน้อย มีอาการมากกว่าผู้สูงอายุ ...ผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย ...เมื่อดูอาการไม่พึงประสงค์ เปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดในต่างประเทศโดยเฉพาะวัคซีนในกลุ่ม mRNA แล้วไม่ต่างกันเลย • วัคซีน Sinovac อาการดังกล่าวน้อยกว่ามาก • ผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ถ้ามีไข้หรือปวดศีรษะ ท้องเสีย อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นอาการที่พบได้ หลังการฉีดวัคซีน • ดังนั้น หลังฉีดเมื่อกลับไปถึงบ้านถ้ามีอาการดังกล่าว รับประทานยาพาราเซตามอลได้เลย ไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูง หรือปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ • กรณีอาการมาก เช่น ไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ 3) ขอสร้างความเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่เกิดวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนในกลุ่ม virus Vector หรือ mRNA วัคซีนจะมีอาการข้างเคียงได้มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ วัคซีนสมัยก่อนเช่น วัคซีนไทฟอยด์ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ถ้าฉีดแล้วไม่มีไข้ เป็นเรื่องผิดปกติ หากยังจำกันได้ การฉีดวัคซีนไทฟอยด์ที่โรงเรียน กลับบ้านยกแขนไม่ขึ้น แขนบวม มีไข้อยู่ 1-2 วัน • วัคซีนไวรัส Vector หรือ mRNA เป็นวัคซีนที่จะต้องทำให้เซลล์ เปรียบเสมือนการติดเชื้อ เพื่อจะนำรหัสพันธุกรรมเข้าไป การติดเชื้อไม่เกิดโรค แต่ก็มีอาการ มีปฏิกิริยาตอบสนองได้ในบางคน จึงไม่แปลก ที่จะมีอาการปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว เป็นไข้ หลังจากฉีดกลับบ้านไปแล้ว ไม่เหมือนวัคซีนเชื้อตาย มีเพียงตัวไวรัสที่ได้จากการเพาะเลี้ยง และทำให้บริสุทธิ์ คล้าย วัคซีนโควิด 19 เชื้อตายยังต้องใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทานที่เป็น Alum ก็อาจจะมีอาการข้างเคียง นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง รก.11 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข https://www.facebook.com/100069005689508/posts/110951997881656/?d=n ขอบคุณข้อมูล ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ