เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 น. นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 พร้อมด้วย นายชลเทพ ทาตรี ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา นายอดุลย์ จุมพิศ ผู้อำนวยการส่วนเครื่องจักรกล ลงพื้นที่ติดตามการสูบน้ำช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ ให้พื้นที่ทางการเกษตร บริเวณคลองส่งน้ำ C2,C5,C9,C10 ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ในเขตความรับผิดชอบของ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลายชุมพล เนื่องจากเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรในพื้นที่ เข้าร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในคลองส่งน้ำสายใหญ่ C1 เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำทำการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2564 เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะฝนทิ้งช่วง โดยเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 มอบหมายให้ นายอดุลย์ จุมพิศ ผู้อำนวยการส่วนเครื่องจักรกล ประสาน ฝ่ายปฏิบัติการเครื่องจักรกลสูบน้ำที่ 1 ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล เพื่อร่วมบูรณาการงานขนย้ายพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แบบ Hydroflow ขนาด 24 นิ้ว อัตราการสูบน้ำ 1 ลบ.ม/วินาที จำนวน 2 เครื่อง ติดตั้งสูบน้ำช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ ให้พื้นที่ทางการเกษตร กว่า 20,000 ไร่ บริเวณคลองส่งน้ำ C2,C5,C9,C10 ต่อมาเวลา ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 พร้อมด้วยผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา นายอำนาจ อินทร์วงศ์แก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิจิตร นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดงเศรษฐี นายทวนชัย เลี้ยงสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าบัว ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในเขตจังหวัดพิจิตร เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ พร้อมทั้งดำเนินการตามแผนให้ความช่วยเหลือพื้นที่ข้าวนาปีจากภาวะฝนทิ้งช่วง มีผลให้ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้พื้นที่การเกษตรได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงจำเป็นต้องทำการจัดสรรน้ำตามรอบเวรให้กับพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะข้าวนาปีที่ทำการเพาะปลูกไปแล้ว เพื่อไม่ให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก ขอให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อน จนกว่าจะมีฝนตกชุกในพื้นที่สม่ำเสมอและมีน้ำเพียงพอในการทำเกษตร