เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. นายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ 1 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เริ่มระบาดมาหลายปีแล้วและระบาดตลอดเวลาทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ระยะหลังเริ่มเข้าสู่โซนภาคกลาง เช่น จังหวัดนครปฐม จ.สุพรรณบุรี ราชบุรี ซึ่งโรคได้ลามไปมากแล้ว เกษตรกรต้องเทขาย ถ้าซุ่มตรวจเลือดผลเป็นบวกก็ต้องทำลายทิ้งสถานการณ์เป็นสภาพนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หากฟาร์มไหนดูแลดีก็โชคดีด้วยที่ยังอยู่รอดแต่ต้องยอมรับในสภาพจำยอมกับราคากิโลกรัมละ 60 บาท หรือบางแห่งขายต่ำกว่านี้ โดยเฉพาะแม่พันธุ์ซึ่งไม่เคยมีปรากฎการณ์มาก่อนถึงขั้นให้เปล่าก็มี ยกตัวอย่างที่พรประเสริฐฟาร์ม จ.บุรีรัมย์จำหน่ายได้ราคาประมาณ 17 บาท/กิโลกรัม สุกรเนื้อราคาน่าจะปรับสูงขึ้น 2-3 บาท ด้านการส่งออกคงยึดการเจาะเลือดเป็นหลัก โดยสถานการณ์ปัจจุบันเกิดการระบาดต่อเนื่องไม่หยุด เกษตรกรรายย่อยหายไปจากวงจร 70-80% ถ้าเป็นไปได้อยากให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช็คจำนวนรถ สุกรที่มีเชื้อ ASF อยู่ ควรกักไว้ ห้ามจำหน่ายและควรฝังทิ้งอย่างเดียว
นอกจากนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงวัว กระบือ ต้องเผชิญกับโรคลัมปี สกิน ภาคอีสานพบเกือบทุกจังหวัด พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์พบเฉลี่ยฝูงหนึ่งประมาณ 100 ตัว ติดโรคประมาณ 10 ตัว แต่ยังไม่มีวัวที่ป่วยถึงขั้นล้มตายซึ่งเมื่อพบเบื้องต้นก็ทำการรักษาตามอาการ เรื่องยาฆ่าเชื้อต้องเป็นอับดับต้นๆในการดูแล เข้มงวดกับคนงานที่เข้า-ออก ไม่มีละเว้นแม้กระทั่งโทรศัพท์ รถบรรทุกที่เข้าในฟาร์มต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อและกักไว้ อบฆ่าเชื้ออีกครึ่งชั่วโมง ค่าใช้จ่ายต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างเยอะมาก ฟาร์ม/คอกไหนที่เป็นระบบเปิดต้องจัดการเรื่องแมลงวัน ยุง หนู ซึ่งเป็นพาหะ แทงค์น้ำต้องฆ่าเชื้อ การเอาใจใส่ในความสะอาดของโรงเรือนต้องฉีดฆ่าเชื้อทุกเช้า-เย็น เชื่อมั่นว่าจังหวัดบุรีรัมย์กำลังจะประกาศพื้นที่โรคภัยพิบัติในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรฯไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเฉพาะประธานสภาเกษตรกรในแต่ละจังหวัดที่ได้รับผลกระทบได้ร้องเรียนมาหลายหัวข้อ หลายขั้นตอน ซึ่งจะจัดการประชุมร่วมกับ
“สุดยอดของวงกว้างเลยตั้งแต่เลี้ยงหมูมาไม่เคยมีปรากฎการณ์ที่ไหนเป็นอย่างนี้ เช่น ต้องทำลายหมูทิ้ง โดยเฉพาะฟาร์มใหญ่ทำลายทิ้งเป็นหมื่นตัว ซึ่งน่าเห็นใจเพื่อนเกษตรกรด้วยกันที่เขาเจอภาวะอย่างนี้ ทั้งเห็นใจ สงสาร และคิดถึงอนาคตในหมู่เกษตรกรด้วยกัน บางคนสร้างฟาร์มขึ้นมาใหม่กู้หนี้ยืมสินธนาคารมาพอเจอโรคระบาดจะเอาอะไรไปใช้หนี้ เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ทำมานานก็ยังมีความเข้มแข็งบ้าง แต่ก็ยังตกใจขวัญผวากันอยู่ เพราะหมูเป็นโรคตัวหนึ่งก็ติดทั้งฝูงใหญ่ส่งผลกระทบมาก แก้ปัญหาหมูยังไม่ได้โดนซ้ำด้วยปัญหาวัว ควาย เป็นโรคลัมปี สกิน อีก เบื้องต้นขอให้เกษตรกรแจ้งกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปศุสัตว์ อสป. เพื่อขอให้นำทีมเข้าช่วยวิเคราะห์โรค แก้ไข ฉีดยาปฏิชีวนะ วัคซีนทุกตัวที่เป็น และเรื่องความสะอาดเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในทุกๆการเลี้ยงทั้งระบบเปิดและปิด กอปรกับสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ด้วย ต้องยอมรับว่ากำลังการซื้อ ขาย การบริโภคก็ตกต่ำลง แวดวงตลาดก็ต้องหยุดไป ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเมื่อไหร่เหตุการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติและกลับมาเปิดได้เช่นเดิม ด้านผู้บริโภคขอให้สังเกตจากสายตา สีเนื้อ หมู จมูกสังเกตกลิ่น น่าสงสัยก็ไม่ควรบริโภค”นายอภิศักดิ์ กล่าว