เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นนประธานที่ประชุม ได้พิจารณา พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎร ได้อนุมัติ พ.ร.ก. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ชี้แจงเนื้อหาสาระสำคัญว่า การแก้ไข พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว เพื่อบรรเทาภาระของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการคำนวณอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ไม่สมควร เป็นธรรม และรักษาความมั่นคงของเศรษฐกิจของประเทศ โดยเนื้อหาได้ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยลดจาก 7.5% ต่อปี เหลือ 3% และกำหนดอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ด้วยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาในกรอบเวลา 3 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยผิดนัด ได้ปรับให้เป็น 5% ต่อปี จากเดิมที่กำหนด 7.5% ต่อปี จากนั้นนางปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม รองโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา นำเสนอผลการศึกษา พ.ร.ก.ว่า การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ทำนิติกรรมหรือมีกฎหมายกำหนด และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดตามที่ปรับปรุงใน พ.ร.ก. จะครอบคลุมถึงบทบัญญัติอื่นในนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เช่นกรณีที่แก้ไขอัตราดอกเบี้ยผิดนัด 3% ต่อปี และมีอัตราเพิ่ม 2% รวมเป็น 5% แต่มาตรา 244 วรรคหนึ่งของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้สิทธิ์เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดังกล่าวหากมีเหตุที่ชอบด้วยกฎหมาย และในกรณีที่มีเหตุที่ชอบด้วยยกฎหมาย อาจทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินกว่าการปรับอัตราที่แก้ไขในกฎหมาย เช่น มีเหตุที่ทำให้ต้องปรับดอกเบี้ย ที่ 10% ต่อปี หากผิดชำระต้องใช้อัตรา 5% ต่อปี ดังนั้นหากมีเหตุอื่นจะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยตามกำหนดเดิมหรือไม่ "ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย มาตรา 654 กำหนดห้ามเพดานการคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ซึ่งบังคับใช้กว่า 92 ปี และไม่กำหนดรายละเอียดของการปรับดอกเบี้ยผิดนัด ดังนั้นหากจะปรับอัตราดอกเบี้ยควรปรับดอกเบี้ยขั้นสูงดังกล่าวให้สอดคล้องด้วย นอกจากนั้น มาตรา 224/1 ในพ.ร.ก.ที่แก้ไข กำหนดว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ให้เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดเป็นงวดๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าไม่กระทบสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะร้องขอต่อศาลให้ชำหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมดได้ เพราะมีข้อตกลงที่ว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระะงวดใดให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกเงินงวดทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แม้จะทำสัญญาประนีประนอมในศาลได้ แต่เมื่อพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จะถือว่าการผิดนัดงวดเดียว ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดได้หรือไม่ ขณะที่นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ส.ว. ในฐานะประธาน กมธ. การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา งรายงานผลการศึกษาว่า เพื่อให้การแก้ไขกฎหมายเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และในโอกาสต่อไป ควรการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ควรแก้ไขอัตราดอกเบี้ยปกติ เพราะมาตรา 654 หรือ พ.ร.บ.เรียกดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ที่เรียกได้มากกว่า 15% รวมถึงการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ เช่น สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ และในกลุ่มนอนแบงค์ ควรแก้ไขโดยให้มีเพดานที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำไว้ในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ลดการฟ้องร้อง และเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจ ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายควรให้ความสำคัญต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ที่ผ่านมาพบการกำหนดดอัตราผิดนัดสูงสุด และเมื่อเข้าสู่ศาล ศาลจะใช้ดุลยพินิจ หากปรับเกินส่วนจะพิจารณาปรับลด แต่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ดังนั้นควรกำหนดให้ชัดเจนไว้ในสัญญา รวมถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนว่าเป็นการแก้ไขที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน แต่มีส.ว.บางส่วนได้ทักท้วงของเนื้อหาสาระที่ยังขาดรายละเอียด และยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร และบางคนเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วย เพื่อให้ปฏิบัติได้จริง และเกิดประโยชน์กับลูกหนี้จริง และมีความเป็นธรรม อาทิ นายวันชัย สอนศิริ นายเสรี สุวรรณภานนท์ อภิปรายว่า พ.ร.ก.ดังกล่าว ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพียงส่วนเดียว แต่ธนาคารสถาบันการเงินยังเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเงินของประเทศ และเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยกู้เงินสูง คือ ร้อยละ 5 ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 0.25 ส่วนที่แก้ไขตามพ.ร.ก.มาตรา 7 แม้จะแก้ไขหลักการสำคัญในการเสียดอกเบี้ย ที่เกิดจากนิติธรรมและสัญญา แต่ประชาชนยังต้องชำระดอกเบี้ยแบบเดิม ดังนั้นขอให้รัฐบาลรับฟัง และใส่รายละเอียการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ขณะที่ พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม ส.ว. อภิปรายว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวหลักการมาถูกทางแต่ไปไม่สุดทาง เนื่องจากมีช่องว่างให้กับสถาบันการเงิน กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่า 15% ได้ ตามกฎหมายว่ากำหนดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 หรือไม่มีเพดาน ทั้งนี้ยังรองรับว่าไม่ให้นำมาตรา 654 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ จึงไม่มีการกำหนดเพดานการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและ ดอกเบี้ยค่าปรับ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่ได้เยียวยาแก้ไข จากการทำให้กฎหมายฉบับดังกล่าวสมบูรณ์ที่สุด โดยต้องทำประมวลกฎหมายว่าด้วยการกู้หนี้ยืมสิน ออกมาบังคับใช้ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติผ่านร่างพ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วยคะแน 201ต่อ 0 งดออกเสียง 5