ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กชื่อ มานพ พิทักษ์ภากร ระบุว่า...ฉีดวัคซีนเข็มเดียว เอาสายพันธุ์ Delta ไม่อยู่ เมื่อวานนี้ Lancet ตีพิมพ์ผลงานวิจัยจาก Francis Crick Institute UK ทำการศึกษา antibody ของผู้ที่ฉีดวัคซีน Pfizer vaccine ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ University College London จำนวน 250 คน และมีการเก็บเลือด/พลาสม่าหลังฉีดวัคซีนครบ 1 เข็มและ 2 เข็มเอาไว้ มาทำการทดสอบวัดระดับ anti-spike IgG ร่วมกับการทดสอบด้วย high throughput neutralization assay กับไวรัสจริง (live virus) สายพันธุ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สายพันธุ์ต้นแบบ (WIV04/2019), สายพันธุ์ B.1 (D614G), Alpha (B.1.1.7/UK), Beta (B.1.351/South Africa) และ Delta (B.1.617.2/India) การทดสอบนี้น่าจะเป็นการทดสอบความดื้อ (immune evasion) ของไวรัสที่มีมาตรฐานสูงสุดแล้ว เพราะใช้การทดสอบ neutralization คือดูความสามารถในการยับยั้งเชื้อด้วยเชื้อไวรัสจริงในห้องแลป แล้ววัดค่าออกมาเป็น IC50 titer คือระดับความเข้มข้นของ antibody ที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ 50% โดยปกติทำยากมากเพราะต้องเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ขึ้นมาในแลป ต้องทดสอบใน BSL-3 เพราะผู้วิจัยมีโอกาสติดเชื้อเองได้ การทดสอบ neutralization ที่นิยมมากกว่าคือ ทดสอบกับ pseudovirus คือสร้างเชื้อขึ้นมาให้มี spike ที่ผิวตามที่ต้องการ แต่ไม่ใช่ SARS-CoV-2 ส่วนการวัดปริมาณ antibody ในเลือดเป็นการวัดว่ามีมากหรือน้อย แต่ไม่สามารถทดสอบได้ว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ไหม โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยมากมักวัดระดับ anti-spike หรือ anti-RBD IgG ผลการศึกษาพบว่า เชื้อสายพันธุ์ Beta และ Delta ดื้อต่อ antibody ชัดเจน (ระดับลดลง 4.9 และ 5.8 เท่าตามลำดับ) ในขณะที่ Alpha ไม่ดื้อมากนัก (2.6 เท่า) เมื่อดูระดับ neutralizing antibody หลังฉีดวัคซีนเข็มแรกสามารถยับยั้งเชื้อต้นแบบและสายพันธุ์ B.1 ได้, พอมาดู Alpha ก็พบว่ายังพอไหว แต่ระดับ antibody หลังวัคซีนเข็มแรกไม่สามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ Beta และ Delta ได้ ต้องเป็น antibody หลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มเท่านั้นจึงจะเอาอยู่ นอกจากนี้ระดับ antibody ของคนสูงอายุมีแนวโน้มกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าคนอายุน้อย ในขณะที่เพศและน้ำหนักตัวไม่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน แน่นอนว่าเมื่อเอาพลาสม่าของคนสูงอายุที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วไปทดสอบ ก็พบว่ามีส่วนหนึ่งที่ระดับ antibody ไม่สูงพอที่จะยับยั้ง Beta และ Delta variant ได้ การศึกษานี้เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า Delta variant ที่แพร่ระบาดหนักในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย, UK และเริ่มเห็นในหลายประเทศเช่น อเมริกา และรวมทั้งประเทศไทย มีความดื้อไม่แพ้ Beta variant ที่ได้ชื่อว่าดื้อที่สุดในปัจจุบัน ประกอบกับความสามารถในการแพร่กระจาย (transmissibility) ที่รวดเร็วมาก เชื่อว่าสายพันธุ์นี้น่าจะกลายเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดหลักของโลกแทนที่ Alpha variant ในไม่ช้า และการรับมือด้วยวัคซีนไม่ง่ายอย่างที่ผ่านมา การวางแผนฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer ที่ระยะห่างมาก (เช่น 3-4 เดือน) แบบที่เคยทำมาใน UK อาจไม่ใช่วิธีที่ดีในการรับมือสายพันธุ์นี้ เป็นเหตุให้ JCVI (Joint Commission on Vaccination and Immunization) ของ UK เปลี่ยนข้อแนะนำให้ย่นระยะฉีดเหลือเพียง 2 เดือนในปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thelancet.com/.../PIIS0140-6736(21.../fulltext