เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ชี้แจงกรณีคดีภาษี บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ที่เป็นข่าวอยู่ในโซเชียลออนไลน์ ยังอยู่ระหว่างติดตามผล เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 4 มิ.ย.64 ที่ห้องประชุมสำนักงานศาลยุติธรรม ชั้น 12 อาคารศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการต่อข้อกล่าวหากรณีคดีภาษีอากรของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่เป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในจณะนี้ โดย นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการต่อข้อกล่าวหากรณีอดีตผู้พิพากษาของศาลฎีกา 3 คน ถูกเว็บไซต์ Law360 รายงานข่าวกล่าวอ้างผลการสอบสวนภายในของบริษัท โตโยต้า คอร์ป ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าเข้าไปเกี่ยวพันกับการให้สินบนจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จ่ายผ่านบริษัทสำนักงานกฎหมาย เป็นช่องทาวจ่ายเงินให้กับอดีตผู้พิพากษาที่ถูกพาดพิง เพื่อให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาในทางที่เป็นคุณแก่ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดในเรื่องข้อพิพาททางภาษีจากการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์โตโยต้า พรีอุส ระหว่างปี 2555 ถึง 2558 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ บริษัท โตโยต้า (ประเทศไทย) จ่ายภาษีและค่าปรับกว่า 11,000 ล้านบาท เมื่อประมาณปี 2563 โดยชี้แจงไทม์ไลน์คดีนี้ว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐที่จัดเก็บภาษี คือกรมศุลกากร และกรมสรรพากร โดยฟ้องคดีแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางพิจารณาคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้แยกฟ้อง โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีเข้ามาใหม่อีก 9 คดีในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 แต่วันที่ 10 มิถุนายน 2559 มีการสืบพยานต่อสู้คดีกันเป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ ซึ่งต่อมาศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาทุกคดีในวันที่ 29 กันยายน 2560 โดยพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นผลให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดทางภาษีอาการ ต่อมาจำเลยได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษรับคดีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ต่อมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ เป็นผลให้โจทก์ต้องรับผิดชำระภาษีอากรตามการประเมินของหน่วยงานรัฐ ซึ่งต่อมาโจทก์ได้ยื่นฎีกา และศาลฎีการับคดีไว้แล้ว นายพงษ์เดช ยังเปิดเผยว่า การพิจารณาคดีนี้ ในทุกชั้นศาลมีขั้นตอนและมีองค์คณะ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้สินบนหรือแทรกแซงผู้พิพากษาเพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ ซึ่งข้อกล่าวหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมไทยต่อสายตาประชาชนและการลงทุนระหว่างประเทศด้วย จึงให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น และมีการประสานไปยังหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเว็ปไซต์ที่เผยแพร่ข่าว เพื่อนำข้อมูลมาประกอบ โดยจะตรวจสอบให้ความเป็นธรรมกับคู่ความ ต้องทำให้ความจริงปรากฎ ซึ่งสำนักงานศาลยังได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการต่อข้อกล่าวหากรณีคดีภาษีอากรที่เป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีตนเป็นประธาน ซึ่งคณะทำงาน 10 คน เพื่อหาข้อมูลสนับสนุนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ประธานศาลฎีกาได้แต่งตั้งขึ้นมา อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในชั้นไต่สวนคดี ยังไม่ส่งฟ้องศาล หลังมีกระแสข่าวนี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายดิเรก อิงคนินันท์ อดีตประธานศาลฎีกา และนายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลอุทธรณ์ ผู้ที่ถูกพาดพิงจากการเผยแพร่ข่าวผ่านเว็บไซต์ law360 (www.law360.com) ก็ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว เพราะทำให้เกิดความเสียหาย พร้อมกับปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว สำหรับเรื่องราวดังกล่าว เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ Law360 (www.law360.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข่าวและวิเคราะห์ในด้านกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ข้อมูลกรณี บริษัท โตโยตา คอร์ป ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ได้รายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ SEC และกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 2563 ว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัทลูกแห่งหนึ่งของโตโยต้าในประเทศไทย อาจกระทำการละเมิดกฎหมายต่อต้านการติดสินบน หรือ anti-bribery laws ของสหรัฐอเมริกา และมีการพาดพิงถึงอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และผู้พิพากษาฎีกา จำนวน 3 คน , สำนักกฎหมายแห่งหนึ่ง และพนักงานบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย อีก 3 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องรับสินบนเพื่อให้กลับคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีนำชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์โตโยต้า พรีอุส ระหว่างปี 2555 ถึง 2558 คิดเป็นมูลค่าเงินจำนวนกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 11,000 ล้านบาท โดยมีกรมศุลกากรแบะกรมศุลกากรเป็นคู่คดี เว็บไซต์ Law360.com รายงานตอนหนึ่งว่า ทางบริษัทโตโยต้านั้นสงสัยว่าทนายความระดับอาวุโสของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย อาจจะมีส่วนกระทำการให้สินบน โดยทำสัญญาผ่านสำนักกฎหมายของประเทศไทยแห่งหนึ่ง เพื่อช่วยหาช่องทางให้นำเงินสินบนไปมอบต่อกับผู้พิพากษาที่มีตำแหน่งสูงสุดของไทยในขณะนั้น ผ่านอดีตหัวหน้าผู้พิพากษา และที่ปรึกษา โดยพบข้อมูลตามเอกสารด้วยว่า สัญญามีมูลค่า 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 844 ล้านบาท และได้จ่ายไปแล้ว 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 562 ล้านบาท เหลืออีก 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 281 ล้านบาท จะจ่ายเมื่อบริษัทชนะการอุทธรณ์อันเกี่ยวข้องกับคดีภาษีการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์พรีอุส เมื่อช่วงปี 2562 ขณะเดียวกันก็พบว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการดำเนินการทั้งหมดในฝ่ายของบริษัทโตโยต้าประเทศไทยมี 3 คน โดยทั้งหมดได้ลาออกจากบริษัทโตโยต้าประเทศไทย ในช่วงเวลาที่มีการสอบสวนการทุจริตภายในของบริษัทโตโยต้าไปแล้ว สำหรับผู้พิพากษาระดับสูงของศาลฎีกา 3 คน ที่ถูกระบุถึงนั้น มี 2 คน เป็นอดีตประธานศาลฎีกา ขณะที่อีกคนเป็นอดีตประธานศาลอุทธรณ์ อดีตที่ปรึกษาศาลฎีกา และยังเป็นอดีตประธานองค์กรอิสระเกี่ยวกับการตรวจสอบงบประมาณแผ่นดิน และเคยเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีภาษี ด้วย