ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้เขียนได้ตั้งประเด็นหัวข่าวว่า ดินแดนปาเลสไตน์เป็นของใคร ซึ่งผู้เขียนก็ได้นำเสนอด้วยเหตุผลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนงานวิจัยและรายชื่อนักวิจัยสังคมวิทยาชาวยิวหลายท่าน โดยเฉพาะอิลาน แปปเป ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงต่างมีหลักฐานยืนยันได้ว่าดินแดนปาเลสไตน์มีผู้อยู่อาศัยสร้างบ้านแปลงเมืองจนกลายเป็นอู่อารยธรรมมาก่อนที่จะมีการอพยพเข้ามาตั้งประเทศอิสราเอล ในสัปดาห์นี้ผู้เขียนก็ใคร่นำเสนอประเด็นปัญหาที่เป็นองค์ประกอบของความขัดแย้งในดินแดนปาเลสไตน์ นั่นคือ ยิวคือชนชาติที่ไร้ดินแดนจริงหรือ ก่อนอื่นต้องมาสร้างความชัดเจนกันก่อนว่า “ชาวยิว” หมายถึงอะไรถ้า “ชาวยิว” หมายถึงผู้นับศาสนายูดาห์ เหมือนชาวคริสต์ ชาวพุทธ และชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามแล้ว ข้ออ้างข้างต้นคงจะใช้ไม่ได้ เพราะผู้นับถือศาสนายูดาห์อยู่ในประเทศไหนก็เป็นชนชาตินั้น เช่น อยู่ในเยอรมนี แต่นับถือศาสนายูดาห์ ก็เป็นคนยิวเยอรมนี แต่ถ้าจะตีความว่า “ชาวยิว” เป็นเชื้อชาติและอ้างอิงไปถึง 3,000 ปี ว่าเป็นลูกหลานของชาวยิวที่อพยพหนีฟาโรห์มากับศาสดาโมเสสแล้วละก็คงต้องมีการตรวจดีเอ็นเอกันให้รู้กันไปก่อนที่จะพิสูจน์ถ้อยคำในพระคัมภีร์ไบเบิลว่ามีการตีความถูกต้องตรงกับต้นฉบับเดิมหรือไม่ หรือมีการตีความทำให้ความหมายต่างออกไป ยังมีคนบางกลุ่มตั้งคำถามว่าจริงๆแล้วชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ภายหลังปี 1918 นั้น สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวโบราณสมัยโรมัน และมีบางส่วนถูกเนรเทศจากกรุงโรมเมื่อ 2,000 ปีก่อนหรือไม่ ซึ่งมีนักวิชาการบางท่าน เช่น อาเธอร์ เคิร์สเลอร์ (1905-83) ได้นำเสนอทฤษฎีว่าผู้ที่ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ ในฐานะยิวไซออนิสต์ภายหลังเหตุการณ์ปี 1918 นั้น สืบเชื้อสายมาจากชาวคาซาร์ ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งของชนชาติเติร์ก ในเทือกเขาคอเคซัส และได้เปลี่ยนศาสนามาเป็นยูดาห์ ในประเด็นหลังนี้แม้จะยังไม่มีการพิสูจน์ทราบกันได้ชัดเจน แต่การที่มีข้อเคลือบแคลงในเรื่องชาติพันธุ์ ก็ทำให้ข้ออ้างตามหัวข้อข้างต้นนั่นอ่อนแอลงอย่างมาก และไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะกล่าวอ้างโดยลัทธิยิวไซออนิสต์ ถ้าอย่างนั้นเราก็คงต้องมาศึกษากันต่อไปว่ามีมูลเหตุจูงใจอะไรที่ทำให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าว ซึ่งดูจะเป็นเหตุเกินพอดีในการสอดรับกับคำกล่าวอ้างว่าดินแดนปาเลสไตน์เป็นพื้นที่ว่างเปล่า เป็นทะเลทราย มีแต่คนร่อนเร่พเนจร อย่างชนเผ่าเบดูอิน ที่เดินทางผ่านไปมาเท่านั้น เรื่องนี้คงต้องมองย้อนไปตามประวัติศาสตร์ และการอ้างอิงจากพระคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งจากพระคัมภีร์นั้น เล่าไว้ชัดเจนว่าชาวยิวในปาเลสไตน์เยรูซาเล็ม ไม่ยอมรับพระเยซูที่มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทั้งที่ท่านก็ถือได้ว่าเป็นชาวยิว ทั้งนี้ได้มีการอ้างอิงว่าพระองค์คือกษัตริย์ของชนชาติในปาเลสไตน์ ชาวยิวในเยรูซาเล็ม จึงปองร้ายและไปแจ้งให้ทหารโรมันมาจับตัวไป ด้วยข้อกล่าวหากบฏ เพราะสอนให้รักเพื่อนมนุษย์และความเท่าเทียมกัน เมื่อพระเยซูถูกจับตรึงกางเขน ชาวยิวก็นำเอาเถาไม้ที่มีหนามมาทำเป็นมงกุฎแล้วสรวมให้พระองค์ แถมยังเยาะเย้ยถากถางว่านี่หรือคือกษัตริย์แห่งชาวยิว จากเรื่องราวในพระคัมภีร์ส่วนนี้ทำให้ชาวคริสต์ในยุคต่อๆมารู้สึกชิงชังรังเกียจชาวยิวเป็นอย่างมาก เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน แห่งโรม หันมานับถือศาสนาคริสต์และคริสเตียน มีอิทธิพลสูงในอาณาจักรโรมัน ชาวยิวจึงตกเป็นเป้าของการโจมตีดูถูกเหยียดหยามเป็นอย่างยิ่ง ความเกลียดชังชาวยิวนี้ตกทอดมาในหมู่ชาวคริสต์จนแม้กระทั่งยุคกลาง และยุคพื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์ชิ้นเอกอันหนึ่งของเชคสเปียร์ คือ เวนิสวาณิช (The Merchant of Venice) นั้นได้เขียนประณามความโหดร้ายของพ่อค้ายิวนามไซล๊อกไว้อย่างแสบสันต์ น่าเสียดายหนังสือเล่มนี้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่เป็นพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ถูกแบนด์ โดยขบวนการยิวไซออนิสต์ จึงหาอ่านได้ยากมากแต่ก็พอหาได้อยู่ในปัจจุบัน ประเด็นความเกลียดชังยิวของชาวคริสต์มาผ่อนคลายลงเมื่อเกิดสงครามครูเสดที่ชาวคริสต์ยกกำลังมาแย่งชิงนครเยรูซาเล็มอันถือว่าเป็นนครอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นนครอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งของยิวและมุสลิม จากสงครามครูเสด ความเกลียดชังที่พุ่งเข้ามายังมุสลิมทำให้ความเกลียดชังชาวยิวผ่อนคลายลง ประกอบกับมีชาวยิวจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ ทั้งด้านวิชาการ และการทำธุรกิจจนร่ำรวยมั่งคั่ง ทำให้ชาวยิวมีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูงขึ้น ดังนั้นแรงจูงใจในการสร้างวาทกรรมตามหัวข้อ จึงเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ในสมัยวิคตอเรีย และแม้แต่ในสมัยนโปเลียน ที่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนทางการเงินจากพ่อค้ายิว แต่การริเริ่มแนวคิดนี้อย่างจริงจังเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพราะอังกฤษต้องพึ่งพาการสนับสนุนทางการเงินในการทำสงครามจากพ่อค้ายิว และยังต้องพึ่งพานักวิทยาศาสตร์ยิวในการพัฒนาระเบิดและอาวุธต่างๆ ที่น่าประหลาดใจก็คือในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีความร่วมมือระหว่างอังกฤษและสุลต่านออตโตมาน ในการอพยพชาวยิวเข้าไปอาศัยในปาเลสไตน์ ด้วยข้ออ้างว่าเป็นชนชาติที่ไร้ดินแดนจึงควรมีดินแดนของตนเอง นั่นคือดินแดนตามพันธสัญญา แต่เหตุผลทางการเมืองคือ การที่อังกฤษต้องร่วมมือกับออตโตมานในการอพยพคนยิวเข้าไปในปาเลสไตน์ก็เพื่อต้องการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้าน มูฮัมมัดอาลีที่ยึดครองอียิปต์จากออตโตมาน และกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรอรับ รวมทั้งปาเลสไตน์ ส่วนในระยะหลังเมื่อออตโตมานล่มสลายแล้ว อังกฤษก็สนับสนุนให้ยิวเข้าไปตั้งรกรากในปาเลสไตน์เพื่อเป็นการตอกลิ่มตรึงพวกอรับไว้ไม่ให้กำเริบเสิบสาน และทำให้กลุ่มอรับไม่อาจมีพลังมาต่อต้านอังกฤษได้อีก นอกจากเหตุผลในทางการเมืองและการทหารแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆในการดำเนินนโยบาย เช่น การที่ชาวยุโรปต้องการขจัดชาวยิวไปจากแผ่นดินของตน จึงสนับสนุนให้มีการอพยพไปยังปาเลสไตน์ บางส่วนก็เกิดจากความรู้สึกละอายที่ได้กระทำกับชาวยิวอย่างโหดร้าย จึงทำเพื่อเป็นการไถ่บาป ทั้งนี้แนวคิดเหล่านี้ได้ไปประสมปนเปกับความเชื่อทางศาสนา บางส่วนของชาวคริสต์โดยเฉพาะนิกายแองกริกัน (English Church) ที่เชื่อว่าการอพยพชาวยิวมาสู่ปาเลสไตน์จะทำให้ชาวยิวเปลี่ยนศาสนามาเป็นคริสต์ และเป็นสัญญาณว่าพระเยซูจะกลับมายังโลกอีกครั้งหนึ่ง แนวความคิดทั้งด้านการเมืองและศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อแนวคิดของนักการเมืองระดับสูงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ในอังกฤษ ดังนั้นจึงมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้วยคำประกาศบัลโฟร์ (Balfour Declaration) โดยที่ไม่ฟังเสียงคัดค้านของชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนั้น และทำการจัดตั้งรัฐยิว Israel ขึ้นมา ต้องยอมรับว่าวิวัฒนาการของลัทธิยิวไซออนิสต์ ที่เกิดขึ้นมาและเฟื่องฟูในต้นยุคสมัยใหม่มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งรัฐอิสราเอล แต่ขบวนการนี้ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองในสหรัฐฯจนสามารถครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จในทุกวันนี้ ทำให้การก่อตั้งรัฐอิสราเอลเป็นไปอย่างเข้มแข็ง โดยแรกๆก็ใช้เงินซื้อที่ดินเพื่อยึดพื้นที่ก่อนเข้ายึดครองและขยายอาณาเขตด้วยกำลังจนถึงการเข่นฆ่าทารุณเพื่อล้างเผ่าพันธุ์ นับว่ายิวไซออนิสต์ล้ำหน้าเกินกว่าที่อังกฤษตั้งเป้าไว้ นั่นคือการตั้งอาณานิคมของอังกฤษ ดังนั้นโอกาสหน้าเราควรมารู้จักกับ “ขบวนการยิวไซออนิสต์” ว่าเป็นอย่างไรมีวัตถุประสงค์อะไร แตกต่างจากยิวออร์โธดอกซ์อย่างไร