ผู้ป่วยจากเรือนจำยังสูง 1,230 ราย จากตปท.49 ราย ยังพบลอบเข้าผ่านช่องทางธรรมชาติ 4 รายจากกัมพูชา ยอดผู้ป่วยสะสม 169,348 ราย หายป่วยยังสูง 3,626 ราย รวมยอดรักษาหาย 118,204 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมขยับไปที่ 1,146 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 49,998 ราย  วันที่ 3 มิ.ย.2564  ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 3,886 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,837 ราย (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 1,362 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 1,245 ราย) จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,230 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 49 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 169,348 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 39 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 1,146 ราย รักษาหายเพิ่มอีก 3,626 ราย รวมยอดรักษาหาย 118,204 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 49,998 ราย  ทั้งนี้ในรอบ 24 ชม.มีการตรวจพบการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รวม 167 ราย โดยพบมากสุดบริเวณแนวชายแดน 151 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มี 4 รายติดเชื้อโควิด-19 เฉพาะการระบาดในระลอกเดือนเมษายน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 3 มิ.ย.64 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 3,886 ราย โดยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 140,485 ราย รักษาหายเพิ่ม 3,626 ราย รวมรักษาหายแล้ว 90,778 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 49,998 ราย เสียชีวิต 39 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 1,052 ราย รายละเอียดผู้เสียชีวิต 39 ราย เป็นเพศชาย 20 ราย เพศหญิง 19 ราย อายุ 36-89 ปี อยู่ในพื้นที่ กทม.มากที่สุด 24 ราย นนทบุรี ภูเก็ต จังหวัดละ 2 ราย ชลบุรี ชัยภูมิ เชียงราย ตาก นครศรีธรรมราช บังกาฬ ปัตตานี สมุทรสาคร สระแก้ว สะพรรณบุรี อ่างทอง จังหวัดละ 1 ราย โดยมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หัวใจ โรคปอดเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคตับ โรคไต มะเร็ง ไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น  โดยในจำนวนนี้ เป็นการติดเชื้อจากคนในครอบครัวมากสุด 13 ราย อาศัยและเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด 10 ราย และยังมีติดจากคนอื่นๆ เช่น เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ไปสถานที่แออัดคนหนาแน่น ตลาด อาชีพเสี่ยง สำหรับ 10 อันดับที่พบผู้ป่วยภายในประเทศสูงสุด อันดับ 1 ยังเป็นกรุงเทพมหานคร 995 ราย อันดับ 2 เพชรบุรี 480 ราย อันดับ 3 นนทบุรี 336 ราย อันดับ 4 สมุทรปราการ 232 ราย อันดับ 5 ตรัง 92 ราย อันดับ 6 สมุทรสาคร 76 ราย อันดับ 7 ปทุมธานี 60 ราย อันดับ 8 ชลบุรี 46 ราย อันดับ 9 ฉะเชืงเทรา 40 ราย อันดับ 10 นครปฐม และ สระบุรี จังหวัดละ 31 ราย