วันที่ 2 มิ.ย. 2564 นายอธิวัฒน์ นาวิศิษฎ์กร นายกเทศมนตรีเมืองหนองบัวลำภู พร้อมคณะผู้บริหาร,และเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู ร่วมพิธีบวงสรวง หอสองนาง ,พระวอพระตา,ปู่หลุบ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาเมืองหนองบัวลำภู โดยมีพี่น้องประชาชน ให้ความนับถือและประกอบพิธีบวงสรวงมาหลายชั่วอายุคน ณ หอสองนาง ริมฝั่งบึงหนองบัวฯ ในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู
สืบเนื่องทุกๆปีของการเข้าสู่หน้าทำไร่ทำนา จะมีผู้เฒ่าผู้แก่ พร้อมร่างทรง จะบวงสรวงอัญเชิญมาประทับร่างและสอบถามการทำมาหากิน ฟ้าฝนบ้านเมืองจะเป็นยังไง ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน หอสองนางที่เห็นกันอยู่ริมหนองบัวในทุกวันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับเมืองหนองบัวลำภู ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยที่ไม่มีผู้ใดจะลบล้างหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ชาวเมืองหนองบัวลำภู ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งคู่กับศาลพระวอพระตา “สองนาง” ที่เป็นหลานพระวอพระตา ที่อยู่ริมหนองบัวที่มาเฝ้ารักษาฆ้องเมือง “มิ่งเมือง” ของพระวอพระตา ซึ่งเป็นฆ้องขนาดใหญ่มากไม่สามารถจะเอาไปได้ เมื่อคราวพ่ายศึกทางเวียงจันทน์ ท่านจึงให้คนเอาไปฝังไว้ในหนองบัว เพื่อที่จะไม่ให้ทางเวียงจันทน์เอาคืนไป แล้วมอบให้หลานฝาแฝดของท่านมารักษาฆ้องไว้ในโลกแห่งนามธรรม
โดยการทำครั้งแรกอยู่ที่สวนท่ากระแสในวันนั้น ส่วนสิ่งของที่สองนาง ต้องการมีดังนี้ คือ
• ให้ทำหอให้หอหนึ่งที่ริมหนองบัว บริเวณต้นขาม และให้เป็นหอ ถาวรตลอดไป ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกกันว่า “โพนกกขามหอสองนาง”
• มะพร้าวที่ทำเหมือนกับรูปไข่ 2 ลูก (ตามท้องถิ่นเรียกว่า “บักพร้าวส้อม”) พร้อมกล้วยหอม 2 หวี
• เรือเงินเรือคำอย่างละ 1 ลำ เทียนเงินเทียนคำอย่างละ 1 คู่ คนใช้ชายหญิงอย่างละ 1 คน กำไลแขนผู้หญิงคนละ 1 คู่ พร้อมทั้งดอกไม้ของหอมอื่น ๆ
ฆ้องของพระวอพระตาเอามาจากเวียงจันทน์ เมื่อคราวอพยพครอบครัวนั้น ซึ่งเป็นฆ้องใหญ่ใช้เป็นสัญญาณต่างกรณี เช่น ในเวลาที่อพยพนั้นก็ใช้ฆ้องนี้ตีเป็นสัญญาณก่อนอย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า “ฆ้องมิ่งเมือง” คือเอาฤกษ์เอายาม ตีเอาบ้านเอาเมือง ตีเอาพรรค เอาพวกจริง ๆ ตามประวัติก็มีความเป็นมาดังนี้ ซี่งในเรื่องการเห็นฆ้องที่อยู่ในหนองบัวนั้น ตามความเป็นจริงแล้วการที่เห็นไม่ได้เห็นด้วยตา แต่การเห็นนี้เห็นด้วยการสัมผัสด้วยมือทุกคน ความรู้สึกของผู้ที่เห็นด้วยการได้จับฆ้องใหญ่นั้น ทุกคนยืนยันว่าเป็นเสียงที่ได้ยิน