เมื่อครั้งอดีต 50 กว่าปีที่ผ่านมาเมื่อถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ท้องทุ่งนา เต็มไปด้วยเกษตรกร นำควายหรือกระบือไปไถนาเพื่อเตรียมไว้ปลูกข้าว ซึ่งถือว่าถึงฤดูการทำนา แต่ปัจจุบันนี้ที่จังหวัดยโสธร วัฒนธรรมหรือประเพณีหรือวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวนา การปักดำนาได้เลือนหายไปกับกาลเวลาที่หลายๆปัจจัยเข้ามาทั้งความเจริญ เทคโนโลยี ค่าครองชีพ ตลอดจน ฝนฟ้าอากาศไม่ตรงตามฤดูกาลทำให้วิถีชีวิตของชาวนาเปลี่ยนไป และทุกวันนี้ชาวนาจะหันมาใช้เครื่องจักรแทนจะไม่มีควายหรือกระบือไถนา และหากมองลงไปทุ่งนาแล้วจะเป็นเครื่องจักรคือรถไถนาเครื่องพ่นเมล็ดพันธุ์ข้าวการปักดำนาไม่มี หลงเหลือให้เห็นจึงเป็นวัฒนธรรมที่เลือนหายไปกับกาลเวลาและความเจริญที่เข้ามาเยือน แต่ก็ยังมี บางพื้นที่บางชุมชนที่ยังคงเหลือการปักดำนาอยู่โดยถือว่าเป็นงานอดิเรกที่สร้างความรักสามัคคีภายในครอบครัวและญาติพี่น้องจะได้มารวมกันโดยจะเหลือพื้นที่นาและต้นกล้าไว้ เพื่อปักดำแต่ดำนาไม่นานก็เสร็จเพราะจุดประสงค์ไม่ได้อยู่ตรงที่ทำการปักดำนา แต่เพื่อให้ญาติพี่น้องมีกิจกรรมร่วมกันซึ่งจะนัดหมายกันไปปักดำนาที่เหลือไว้เพียงน้อยนิดเป็นงานอดิเรกในกลุ่มญาติพี่น้องก็จะไปช่วยกันปักดำนากันเพื่อสร้างความสนุกสนานความสามัคคีในการปักดำนาของเครือญาติจากนั้นก็ประกอบอาหารรับประทานกันที่กลางทุ่งนาเป็นแบบรวมญาติพี่น้อง ดังนั้นวัฒนธรรมปักดำนาจึงได้เลื่อนหายไปจนกลายมาเป็นงานอดิเรกของครอบครัวและกลุ่มญาติพี่น้องได้มาพบปะพูดคุยทานอาหารร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันสร้างความสุขแบบเครือญาติที่ยโสธร