เมื่อวีนที่ 27 พ.ค น.ส.จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยพล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร จตร.ฯ ปฏิบัติราชการ บช.น. พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารกล่องปรุงสำเร็จ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในชุมชนและข้าราชการตำรวจ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สถานีตํารวจนครบาลพญาไท และสถานีตำรวจรถไฟมักกะสัน ชุมชนมักกะสัน เขตราชเทวี โดยมีนางสาวศิริภา อินทวิเชียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร นางผุสดี วงศ์กำแหง อดีต สก. เขตราชเทวี นายชลอ เอี่ยมโหมด ผู้ช่วย อดีต สก. เขตราชเทวี และ อดีต สข. ร่วมคณะ น.ส.จิตภัสร์ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จากตัวเลขปู้เสียชีวิตที่ทำนิวไฮเสียชีวิต 47ราย มียอดผู้ติดเชื้อใหม่อีก 3,323ราย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ น่ากลัวมากพบอีก 5 คลัสเตอร์ใหม่ รวมแล้วมีการแพร่ระบาด 38 คลัสเตอร์ โดยพื้นที่ตามชุมชน และแคมป์ก่อสร้าง ยังคงเป็นสถานการณ์แพร่ระบาดที่น่าวิตกกังวล จึงได้ลงพื้นที่มามอบสิ่งของจำเป็น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยกันให้แบ่งเบาบรรเทาความทุกข์ยากในการดำรงชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่ต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับฟังเสียงสะท้อนปัญหาหาจากประชาชน นอกเหนือจากพี่น้องประชาชนต้องดิ้นรนดูแลรักษาตัวเองให้มีชีวิตรอดไปได้ในแต่ละวันแล้ว ยังพบว่ามีปัญหาในการสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการในการบริหารจัดการจัดหาและกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง ซึ่งยังมีประชาชนตกหล่นอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการลงทะเบียนจองสิทธิฉีดวัคซีน ยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศชะลอการลงทะเบียน”หมอพร้อม” แล้วให้คนในพื้นที่กรุงเทพฯ ไปลงทะเบียนผ่าน แอพพลิเคชั่น”ไทยร่วมใจ” เพื่อจองคิวฉีดวัคซีน ขึ้นมาอีก ทำให้ประชาชนต่างสับสนว่าต้องโหลดสารพัดแอพ เพื่อจะจองคิววัคซีน และไม่แน่ใจว่าจะได้รับวัตซีนหรือไม่ จึงขอเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บริหารสูงสุดในการแก้ไขการแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่งแก่ปัญหาบริหารการจัดการให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ทบทวนการสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนฉีดวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้สำเร็จทันต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ที่สำคัญศบค. ต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ในการจัดลำดับความสำคัญในการกระจายวัคซีน โดยปราศจากปัญหาความทับซ้อนเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง การเล่นพรรคเล่นพวก และสามารถให้คำตอบแก่ประชาชนได้ว่าแต่ละกลุ่มจะได้รับวัคซีนได้เมื่อไหร่ และจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เร่งสร้างความมั่นใจในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน