กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าแก้ปัญหาสหกรณ์ทุจริต 52 แห่ง พร้อมวางกรอบคุมเข้มการทำธุรกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ เครดิตยูเนียน ลดความเสี่ยง
วันนี้ (9 ต.ค.60) นายพิเชษฐ์ วิระยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมชี้แจงทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาสหกรณ์ ผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนท์ แก่สหกรณ์จังหวัด 77 จังหวัดทั่วประเทศ ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ
นายพิเชษฐ์ วิระยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า จากที่พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายเกี่ยวกับการเสริมสร้างศักยภาพสหกรณ์ให้เข้มแข็ง ใน 8,000 กว่แห่ง เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ พร้อมให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพ ทางการเกษตร ไป เชื่อมต่อทำเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ส่งเสริมการร่วมกลุ่ม วางมาตรการรองรับการตลาด พร้อมนำสหกรณ์ เข้ามาขับเคลื่อน ตั้งแต่วางแผนการผลิต พัฒนามาตรฐานการผลิต รับรองคุณภาพ GAP เกษตรอินทรีย์ พัฒนาไปสู่การแปรรูป บรรจุภัณฑ์
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กรมฯ ได้มุ่งเน้นนโยบายแปลงใหญ่ ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ตั้งเป้าไว้ 3,000แปลง ให้ระบบสหกรณ์ไปรองรับ 360 สหกรณ์ เข้าไปวางแผน กับเกษตรกร ในเรื่องการผลิต การใช้เครื่องมือเครื่องจักรกล การตลาดมาดูดซับ 223 แปลงใหญ่ ให้ผลิตสินค้าเกษตรเกิดความสมบูรณ์แบบครบวงจร โดยวันนี้ผู้จัดการแปลงใหญ่ยังเป็นข้าราชการ หากเอาสหกรณ์ไปรองรับ ทำให้เชื่อมกับเกษตรกรได้ดีมากขึ้น ซึ่งยังมีการสนับสนุนสหกรณ์ ไปรองรับ รวบรวมผลผลิตเกษตรกร มองไว้ 3 พืช ที่จะเป็นปัญหา เช่น ข้าว มี 360 สหกรณ์ โรงสี 317 โรง พร้อมแปรรูปจำหน่าย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำประหลัง อีก กว่า 300 สหกรณ์ และรองรับการขับเคลื่อนตั้งธนาคารสินค้าเกษตร ลดต้นทุนเกษตรกร ตั้งธนาคารข้าว 31 แห่ง จัดตั้งใหม่ปีนี้ 37 แห่งอยู่ในพื้นที่แปลงใหญ่ข้าว ตั้งธนาคารโคนม ทดแทน มาเลี้ยงวัว ให้กับเกษตรกร จนกว่าผสมพันธุ์รีดนมได้ คืนให้เกษตรกร จะช่วยลดต้นทุนเกษตรกรได้มาก
นายพิเชษฐ์ กล่วว่า ทั้งนี้ ได้คาดหวังปี2561 ทำให้สำเร็จในเรื่องนำระบบการเงินมากำกับสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อแก้ปัญหาความเสียหายได้ทันการณ์ ร่วมกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศ กระทรวงการคลัง เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส การทำบริหารทุก สหกรณ์ มีประสิทธิภาพ ไร้ข้อบกพร่อง ไม่นำไปสู่การทุจริต เกิดความเสียหายได้ โดยจะไปยกระดับการจัดการภายใน เชื่อมโยงเอกชน ธนาคาร นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ จ่ายซื้อสินค้าด้วยบาร์โคส อีกทั้งเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สมาชิกรายย่อย ภาคครัวเรือน ในขณะนี้ที่มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง เช่น สหกรณ์ ในและนอกภาคเกษตร สมาชิกมีหนี้สินเฉลี่ย 5-6 แสนบาท ถ้าไม่แก้ ปัญหาหนี้สินมาทับถมมากเกินไป ส่วนสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ มีหนี้สินสูงถึง 2 ล้านบาทต่อคน เป็นหนี้เพื่อบริโภค จำเป็นต้องเร่งแก้ไขเร่งด่วน ในการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อ ลดหนี้
นายพิเชษฐ์ ยังกล่าวถึงกรณีการทุจริตในสหกรณ์ว่า เป็นสิ่งที่ไม่สบายใจ เพราะเป็นสิ่งบั่นทอน ภาพลักษณ์สหกรณ์ ที่มันเกิดขึ้นไม่ได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เร่งสะสางทั้งหมด จากไปสแกนทั้งระบบ พบทุจริต มีข้อบกพร่อง 1,228 แห่ง คาดว่าจะเกิดความเสียหาย 4.3 หมื่นล้าน รวมกรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นด้วยที่เสียหายกว่า 2 หมื่นล้านบาท ทั้งมีการดำเนินการนอกกรอบวัตถุประสงค์ การดำเนินการสุ่มเสี่ยง นำเงินไปฝากสหกรณ์เล็กๆ ได้จัดการแก้ไขมา เหลือ 222 สหกรณ์ มีมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ที่ผ่าน ได้ลงโทษปลดคณะกรรมการ 14 สหกรณ์ สั่งแล้วไม่ทำ ลงโทษทางวินัยฝ่ายจัดการ 97ราย ไล่ออก ดำเนินอาญา 95 สหกรณ์ ทางแพ่ง ฟ้องเรียกทรัพย์คืน 37 สหกรณ์ ตั้งเป้าให้ทุกจังหวัด ดำเนินคดีทางกฎหมายภายในเดือน ธ.ค.นี้ สำหรับสหกรณ์ที่ทุจริต 52 สหกรณ์ มูลค่า 555 ล้านบาท เรื่อง เงินกู้ 11 สหกรณ์ กรณียักยอก 19 สหกรณ์ ปลอมใบถอนเงิน 6 สหกรณ์ รวบรวมผลผลิตการเกษตร 3 สหกรณ์ ทุจริตน้ำมัน 5 สหกรณ์ เงินยืมทดลอง 3 สหกรณ์ โดยได้สั่งให้สหกรณ์จังหวัด ไปหาคนทุจริตให้ได้ เอาผิดกรรมการ ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการธุรกรรมของสหกรณ์ทั้งระบบ มีสินเชื่อ ทั้งหมด 1.2 ล้านๆบาท เงินฝาก 7 แสนกว่าล้าน เงินลงทุนในตลาดหุ้น ทุน พันธบัตร 8 แสนล้านบาท รวมมูลค่า 2.8 ล้านๆบาท โดยวันที่ 18 ต.ค.นี้ กรมเตรียมหารือเรียกผู้แทนจากสหกรณ์ขนาดใหญ่ มีสินทรัพย์ เกิน 5 พันล้านบาท มาหารือรับฟังความคิดเห็นรอบสุดท้าย ก่อนจะประกาศใช้เกณฑ์กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ และเครดิตยูเนียน เพิ่มเติมอีก 5 ข้อ ที่ผ่านมามีข้อโต้แย้งจากสมาชิกสหกรณ์จำนวนมาก เนื่องจากกังวลว่าหากใช้เกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย มากำกับสหกรณ์ อาจส่งผลกระทบทั้งระบบ ทำให้กรมต้องมาทำหน้าที่นำหลักเกณฑ์ไปปรับปรุง เปิดรับฟังใหม่ เช่น การกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อหุ้นบวกทุนสำรองไม่เกิน 2 เท่า จากเดิมไม่เกิน 1.5 เท่า กำหนดให้สมาชิกสามารถกู้วนซ้ำ ได้หลังจากผ่านมาแล้ว 1 ปี กำหนดสัดส่วนการนำเงินไปลงทุนไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ของทุนตนเอง กำหนดทุนสำรองของสหกรณ์ไม่ต่ำกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมกำหนด สูงถึง 6 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นเงินสด 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพันธบัตร 2 เปอร์เซ็นต์ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์(กลต.)จากเดิมต้องอยู่ในมาตรฐาน ก.ล.ต. เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีกำหนดให้สกรณ์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครดิตบูโร เนื่องจากอำนาจนายทะเบียน ตามพ.ร.บ.สหกรณ์ ปัจจุบัน ยังไม่อำนาจบังคับให้เข้าร่วม ต้องอาศัยความสมัครใจ ซึ่งต้องรอพ.ร.บ.สหกรณ์ ฉบับใหม่ ประกาศใช้ก่อน จึงมีสภาพบังคับ โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ระหว่างกระบวนการ สำนักกษฎีกา คาดว่าส่งมากรม ทำประชาพิจารณ์ ปลายเดือน ต.ค.นี้ ก่อนส่งครม. ภายในปีนี้ เสนอต่อสนช. ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้
“จะมาแก้ไขในเรื่องความเสี่ยง4 ด้าน ที่นำพาไปสู่สหกรณ์ล้ม จะลดลงทั้งหมด ทำให้สหกรณ์เกิดความมั่นคง ใครที่มุ่งหวังมาลงทุน เอาเงินเข้ามาดอกเบี้ยสูงๆ ปันผลสูงๆ ต่อไปเงินออก-เข้า ต้องถูกคุม ขณะนี้เงินไปไหนไม่รู้ สมาชิกสหกรณ์ ไม่รู้อีโนอิเน่ เป็นความเสี่ยง ซึ่งสหกรณ์จะอยู่ไม่ได้ กฎหมายสหกรณ์ แก้ไขใหม่ นำ พ.ร.บ.การเงินมาใส่ด้วย โดยเพิ่มโทษผู้บริหาร สหกรณ์ ทำผิด สูงสุดไม่เกิน ปรับ 1 ล้านบาท ต่อคน จนกว่าแก้ไข หรือจำคุกไม่เกิน5 ปี กรณีขัดคำสั่ง นายทะเบียน ทำให้สหกรณ์เสียหาย มีโทษทางแพ่ง–อาญาด้วย ซึ่งโทษต่างๆให้มีความรุนแรงมากขึ้น ป้องปราบการะกระทำผิด ผมจับเรื่องนี้มา3 ปี ถ้าเอาไม่รอด ผมไม่อยู่แล้ว”นายพิเชษฐ์ กล่าว
