โดยขณะนี้มีการครองเตียงนานสุดประมาณ 1 เดือนครึ่ง ทำให้อาจมีผลกระทบต่อจำนวนเตียงที่จะรองรับผู้ป่วย จึงต้องเร่งจัดลำดับอาชีพเสี่ยงของประชาชาเพื่อเข้ารับวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อและความรุนแรงของโรค
วันที่ 14 พ.ค.2564 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 2,256 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,068 ราย (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 1,523 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 545 ราย) จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 183 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 5 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 96,050 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 30 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 548 ราย รักษาหายเพิ่มอีก 1,701 ราย รวมยอดรักษาหาย 62,316 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 33,186 ราย เป็นการรักษาในโรงพยาบาล 20,669 ราย โรงพยาบาลสนาม 12,517 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,203 ราย และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 408 ราย
เฉพาะการระบาดในระลอกเดือนเมษายน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 14 พ.ค.64 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 2,256 ราย โดยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 67,187 ราย รักษาหายเพิ่ม 1,701 ราย รวมรักษาหายแล้ว 34,890 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 33,186 ราย เสียชีวิต 30 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 454 ราย
รายละเอียดผู้เสียชีวิต 30 ราย เป็นเพศชาย 16 ราย เพศหญิง 14 ราย อายุระหว่าง 15-85 ปี อยู่ในพื้นที่ กทม.มากที่สุด 11 ราย ราชบุรี 4 ราย ปทุมธานี สระแก้ว จังหวัดละ 2 ราย สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สุโขทัย มหาสารคาม เชียงราย สุพรรณบุรี นนทบุรี ร้อยเอ็ด พัทลุง สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 1 ราย โดยมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากสุด 19 ราย เบาหวาน 14 ราย ไขมันในเลือดสูง 7 ราย ไตเรื้อรัง 5 ราย โรคหัวใจ 5 ราย โรคตับ 2 ราย โรคปอดเรื้อรัง 2 ราย มะเร็ง 2 ราย ภาวะอ้วน 1 ราย ปฏิเสธโรคประจำตัว 4 ราย ติดเตียง 2 ราย โดยในจำนวนนี้ เป็นการติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัวมากสุดเช่นเดิม 13 ราย ไปงารเลี้ยง ไปสถานที่แออัด อาชีพเสี่ยง มาจากจังหวัดเสี่ยง