ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลายคนอาจจะได้พอเห็นข่าวเรื่องการทวงหนี้โหด พร้อมกลลวงมากมายจากแก๊งปล่อยกู้เงินเถื่อน จนทำให้คนเชื่อจนตกหลุมพรางกันมานักต่อนัก และด้วยผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ "โควิด 19" ส่งผลให้คนไทยจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบ "ขาดสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียน” จำต้องหันหน้าพึ่งพายืมเงินหนี้นอกระบบมาจับจ่ายใช้สอยประจำวัน ทั้งๆที่รู้อยู่เต็มอกว่า "การกู้เงินนอกระบบ" มีอัตราดอกเบี้ยสูงลิ่วได้ถึงร้อยละ 30 ต่อเดือน เป็นดอกเบี้ยโหดแต่เมื่อตกอยู่ในสภาพจำยอมก็ต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบแทบทั้งสิ้น ขณะนี้สิ่งที่อันตรายเพิ่มขึ้น พบว่า มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้นอกระบบรูปแบบใหม่ที่ใกล้ตัวเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสก็ได้เงินสดทันทีผ่าน "แอปพลิเคชันเงินกู้" เป็นการกู้เงินออนไลน์ หรือเรียกให้ดูดี คือ บริการเงินด่วนออนไลน์โอนเข้าบัญชี ซึ่งท่ามกลางเศรษฐกิจแบบนี้จึงได้รับความนิยม และมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำไมเงินด่วนนอกระบบ ถึงได้รับความนิยม ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบันแหล่งเงินกู้ หรือบริการทางการเงินเข้าถึงได้ง่ายและมีตัวเลือกหลากหลายมากกว่าแต่ก่อนมาก โดยเฉพาะเงินกู้ เงินด่วนในรูปแบบที่สามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ ซึ่งมีทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายมากมาย ที่พร้อมจะรองรับและตอบสนองทุกความต้องการให้ได้มีเงินหมุนเวียนใช้จ่าย เพียงแต่ลูกค้าต้องศึกษาให้ถึงเงื่อนไขให้รอบคอบและรอบด้าน รวมถึงแหล่งเงินกู้นอกระบบนั้นมีความสุ่มเสี่ยงด้วยขณะนี้มีการระบาดของ "แอปพลิเคชันเงินกู้" ที่ไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งเห็นได้จากที่มีการลงข่าวอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างไม่นานมานี้จะมีข่าวการบุกทลายแก๊งแอปพลิเคชันเงินกู้ทุนต่างชาติรายใหญ่ ที่มีแอปพลิเคชันเงินกู้นอกระบบที่อยู่ในเครือข่ายจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของแก๊งเหล่านี้แม้จะถูกกวาดล้าง แต่มักจะมีการกลับมาเปิดดำเนินการซ้ำ โดยมีการเปลี่ยนชื่อใหม่หรือมาในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งคนก็อาจจะหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อซ้ำๆ ได้ จึงจำเป็นต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนที่จะทำการกู้เงินจากที่ใดก็ตาม “ด้วยความสบายในเรื่องการให้กู้เงินที่ง่ายจนน่ากลัว และปัจจุบันด้วยรูปแบบการกู้เงินออนไลน์สิ่งที่น่าคิดคือ มันเป็นการให้บริการและติดต่อผ่านแอปที่ลูกหนี้ไม่รู้จักเจ้าหนี้แต่ในทางกลับกันเจ้าหนี้กลับรู้ตัวตนทั้งหมดของลูกหนี้ผ่านการกรอกข้อมูล ชื่อ-นามสกุลที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนและข้อมูลผู้ติดต่อที่สำคัญมีการขอเข้าถึงข้อมูลรูปภาพและรายชื่อผู้ติดต่อในมือถือทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ลูกหนี้แทบจะคิดไม่ทันว่า ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาสู่การคุกคามในภายหลัง หากขาดชำระไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีส่งข้อความทวงหนี้ ส่งข้อความข่มขู่ การเข้าไปโพสต์หน้าเฟซบุ๊กลูกหนี้ประกาศตัวเป็นเจ้าหนี้ รวมทั้งสุ่มไปถึงรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์มือถือที่มีทั้งครอบครัว ญาติ และที่ทำงานเพื่อประจานให้อับอายและขายหน้า บางรายต้องถูกพักงานจากผลกระทบทวงหนี้เงินกู้ผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้ดังกล่าว อยากแนะนำกับทุกคนว่าก่อนที่จะตัดสินใจกดทำสัญญากู้เงินกับแอปใดๆ ก็ตาม อยากให้ตรวจสอบถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งเงินกู้ให้ดีก่อน และควรพิจารณากู้เงินจากแอปที่ถูกกฎหมาย เพื่อเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่มักฉวยโอกาสในความเดือดร้อนของคนอื่นไปเป็นประโยชน์ของตัวเองได้” วิธีเลือกแอปพลิเคชันกู้เงินแบบถูกกฎหมายง่ายๆ 1.ผู้ขอสินเชื่อควรทำการศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ให้บริการ ว่ามีความน่าเชื่อถือ เช่น มีเว็บไซต์ หรือสถานที่ประกอบการที่มีที่ตั้งชัดเจนหรือไม่ 2.ตรวจสอบใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนำชื่อบริษัทผู้ให้บริการไปกรอกข้อมูลผ่าน ระบบ BOT License Check ทางเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย หากไม่มีรายชื่อให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นแอปที่ไม่ถูกกฎหมาย ตัวอย่างพฤติกรรมของมิจฉาชีพในแอปเงินกู้นอกระบบ 1.มีการทำแอปพลิเคชันเพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้การชักชวนให้กดลิงก์เข้ากรุ๊ป LINE ที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนบริษัทผู้บริการได้ 2.มีการเรียกเก็บเงินค่าค้ำประกัน หรือ ค่ามัดจำ ล่วงหน้า ซึ่งบางครั้งเป็นการหลอกให้โอนแล้วหลบหนีทันที 3.ได้เงินไม่เต็มจำนวน จะถูกหักค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมออกจากเงินกู้มากถึง 40% ขึ้นไป แต่ลูกหนี้ยังต้องชำระเงินเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย 4.มีการคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราสูงมากเกินกว่ากฎหมายกำหนด และการคิดดอกเบี้ยแบบซ้ำซ้อน รวมถึงคิดค่าบริการที่อำพรางดอกเบี้ย โดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาชำระหนี้ภายใน 7 วัน และคิดดอกเบี้ยเ เพิ่มในอัตราร้อยละ 0.05 ต่อวัน 5.บังคับผู้สมัครต้องยินยอมให้เข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อที่บันทึกไว้ทั้งหมด ซึ่งจะใช้ในการโทรติดตามและขมขู่ไปยังคนใกล้ชิดรอบข้างภายหลังหากมีการชำระคืนไม่ตรงตามกำหนด 6.มีการใช้ท้อยคำรุนแรงในการต่อว่าหากผู้สมัครไม่ทำตามเงื่อนไข และมีการจ้างกลุ่มบุคคลมาติดตามทวงหนี้โหด ข้อดีของการใช้บริการแอปให้บริการสินเชื่อที่ถูกกฎหมาย การคิดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นไปตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งขั้นตอนการติดตามทวงหนี้ก็จะอยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนด โดยประเทศไทยมีผู้ให้บริการสินเชื่อผ่านทางแอปพลิเคชันที่ถูกกฎหมายอยู่หลายราย ซึ่งก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีในยามที่ต้องการเงินฉุกเฉิน สำหรับ LINE BK เป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ที่มีส่วนของผลิตภัณฑ์วงเงินให้ยืม (Credit Line) และวงเงินให้ยืมนาโน (Nano Credit Line) ซึ่งเป็นบริการสินเชื่อแบบดิจิทัล ที่ผู้ใช้บริการสามารถขอวงเงินสินเชื่อได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ผ่านแอป LINE ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ว่า “ยืม LINE ง่ายกว่า” ทั้งสะดวก อนุมัติไว โดยผู้สมัครสามารถมีอาชีพพนักงานประจำ รวมถึงผู้ไม่มีรายได้ประจำ หรือไม่มีสลิปเงินเดือน เช่น พ่อค้าแม่ค้า ฟรีแลนซ์ และผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็ก เพียงมีรายได้ขั้นต่ำ 5,000 บาทต่อเดือน ก็สามารถสมัครใช้บริการได้ โดยสามารถดูรายละเอียดเงื่อนไขของสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทได้จาก www.linebk.com/th/credit-line “ในช่วงที่เศรษฐกิจยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอาชีพอิสระ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจำเป็นต้องมีเงินสำรอง เพื่อไม่ให้เงินขาดมือ ซึ่งในช่วงเวลายากลำบากนี้ LINE BK พร้อมให้ความช่วยเหลือผ่านวงเงินให้ยืม (Credit Line) ซึ่งเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล และวงเงินให้ยืมนาโน (Nano Credit Line) ซึ่งเป็นสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ โดยผู้ที่สนใจเพียงมีโทรศัพท์มือถือ มีแอปพลิเคชัน LINE ก็สามารถสมัครเข้าใช้บริการ เปิดบัญชี และขอวงเงิน LINE BK ได้ด้วยตัวเองผ่าน LINE ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนแบบถูกกฎหมาย ป้องกันอันตรายจากกลลวงของแอปกู้เงินเถื่อน ที่อาจจะมาสร้างปัญหาอันเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น” คำถามที่ตามมาเหตุใดปัญหาเงินกู้นอกระบบถึงไม่หมดไปจากสังคมไทย ? ในยามที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ การมี "วินัยในการใช้เงิน" ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ.