ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การศึกษา” ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะฐานความรู้ที่ยั่งยืน จะนำมาซึ่ง “ความมั่งคั่งที่แท้จริง” ด้วยเหตุนี้ กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ บริการพิเศษทางการเงิน และการลงทุนสำหรับลูกค้าคนสำคัญของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จึงได้หยิบยกเรื่องราวความน่าสนใจของหลักสูตรยอดนิยมอย่าง MBA เพื่อบอกเล่าถึงเส้นทางการบริหารชีวิตสู่ความสำเร็จด้วย “สินทรัพย์” ที่เกิดขึ้น จากการศึกษา ผ่านกิจกรรมสัมมนา “ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ: ไขเคล็ดลับการสมัครเข้าหลักสูตร MBA ในสถาบันชั้นนำของโลก (Our Advice, Your One-Way Ticket: How to Stand Out and Get Accepted to Top US MBA)” ปัจจุบัน ยอดคนสมัครเข้าศึกษาหลักสูตร MBA ยังคงได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ทั้งมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยและในต่างประเทศ โดยพบว่ากว่า 40% ของคนไทยที่ต้องการศึกษาต่อในระดับ MBA ต้องการที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศยอดนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา โดยที่เเต่ละมหาวิทยาลัยก็มีความโดดเด่นเฉพาะทาง แนวทาง และคาแรกเตอร์ที่ชัดเจน รวมถึงรายวิชาที่น่าสนใจที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเรียนต่อ MBA เราควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ต้องการอะไรจากการเรียน พอล เดมโบว์สกี้ พอล เดมโบว์สกี้ อดีตเจ้าหน้าที่แอดมิชชั่น Chicago Booth School of Business กล่าวว่านักศึกษาไทย ถือเป็นนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีข้อมูลและความเข้าใจเกี่ยวกับการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับ MBA ของสถาบันชั้นนำมากเท่าที่ควร รวมถึงไม่กล้าที่จะสมัคร หรือสมัครแล้วแต่ยังไม่รู้วิธีดึงศักยภาพของตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้จำนวนนักศึกษาไทยที่ศึกษาต่อในโปรแกรม MBA ชั้นนำนั้นมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับนักศึกษาจากประเทศอื่นๆ ซึ่งการเตรียมตัวศึกษาต่อในโปรแกรม MBA เปรียบเหมือนห้องทดลองขนาดใหญ่ที่ผู้สมัครจะสามารถค้นหาศักยภาพและความถนัดของตนเอง (Self-Understanding) และการเรียน MBA ถือเป็นการฝึกฝนและพัฒนาทักษะ เพิ่มจุดแข็ง ลดจุดด้อย เปรียบเหมือนนักแสดงที่เตรียมความพร้อมเพื่อแสดงศักยภาพที่สำคัญบนเวที อย่างไรก็ตามแม้ว่าการเตรียมความพร้อมสำหรับ
MBA จะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้ผ่านหลักการพิจารณาด้วย 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน
1.ตัวบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา คือ เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) และการสอบ G-MAT (Graduate Management Admission Test) โดยปกติมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจะมีมาตรฐานในการพิจารณารับนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป ซึ่งถ้ามีเกียรตินิยมพ่วงท้ายก็จะยิ่งมีเปอร์เซ็นต์ ที่จะสามารถเข้าศึกษาต่อได้ง่ายขึ้น 2. การเขียนเรียงความแนะนำตัว (Personal Statement) สิ่งสำคัญในการเตรียม application เพื่อสมัครในหลักสูตร MBA นอกเหนือไปจากการนำเสนอคุณสมบัติทางการศึกษา และประสบการณ์ในสายอาชีพแล้ว การเขียนเรียงความแนะนำตัว (Personal Statement) จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นตัวเราได้ดีที่สุด 3. จดหมายรับรอง (Recommendation letter) จดหมายรับรองที่ดีนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกเขียนขึ้นโดยบุคคล ที่มีชื่อเสียง หรือมีตำแหน่งที่ใหญ่โต แต่ควรจะเป็นจดหมายรับรองที่มาจากคนที่รู้จัก มีความเกี่ยวข้อง หรือร่วมงานกับผู้สมัครจริงๆ อาทิ อาจารย์ หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเหล่านั้น จะช่วยสร้าง ความน่าเชื่อถือ ในด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร และเพิ่มโอกาสในการถูกรับเข้าศึกษาต่อได้มากกว่า “กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ” ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์และนำเสนอสิทธิพิเศษทางการเงินและการลงทุน รวมถึงกิจกรรมไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com/bank/th/KrungsriExclusive