ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กำลังเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง และจากสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ประชาชนต้องปรับตัวมาใช้ชีวิตในแบบวิถีใหม่ (New Normal) มีการระมัดระวังในการดำเนินชีวิตมากขึ้น ซื้อหาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และได้มีการซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้มีบุคคลที่อาศัยความวิตกกังวลของพี่น้องประชาชน จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน มาจำหน่ายให้กับประชาชน ซึ่งเป็นการซ้ำเติมความเดือนร้อนของประชาชน ในเวลาที่ต้องหาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพมาเพื่อความปลอดภัยในชีวิต แต่ก็ปรากฏมีผู้ไม่หวังดีเอาของที่ไม่ได้คุณภาพมาจำหน่าย นอกจากจะทำให้ประชาชนเสียเงินไปซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาหวังว่าจะช่วยแต่ได้ของที่ไม่มีคุณภาพมาและจะทำให้เป็นอันตรายต่อตัวเอง ด้วยความห่วงใยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นายอนุทิน ชาญวีระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และพลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานปราบปรามผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขึ้นโดยได้มอบหมายให้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน เพื่อขับเคลื่อนภารกิจในการป้องกันปราบปรามผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมาย โดยคณะทำงานนี้เป็นการบูรณาการในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีภารกิจในการกำกับดูแลตามกฎหมายที่มีอยู่ในความรับผิดชอบ ประกอบด้วย การอนุญาต การตรวจสอบ เฝ้าระวัง การควบคุมกำกับทั้งด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ การโฆษณา และด้านบริการสุขภาพ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีภารกิจหลักในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกันจัดตั้งคณะทำงานขึ้น คณะทำงานดังกล่าวได้ดำเนินการปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายด้านผลิตภัณฑ์ การโฆษณา และการบริการด้านสุขภาพอย่างเข้มงวด จริงจังทุกพื้นที่ เพื่อขจัดปัญหาที่เป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยได้ดำเนินการประสานกับคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินการปราบปรามผู้กระทำความผิดกฎหมาย ให้เป็นรูปธรรมโดยในรอบปีที่ผ่านมา คณะทำงานฯ มีผลการปฏิบัติ ปี พ.ศ.2563 (มี.ค.- ก.ย.63) สรุปผลการจับกุมการกระทำผิดตาม 1.พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2510 2.พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 3พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 4.พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 5.พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.2510 6.พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2525 7.พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2559 8.พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 9.พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 10อื่นๆ (บุหรี่ไฟฟ้า) คดีที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งประชาชนต้องการใช้หน้ากากอนามัยและเจลแอกอฮอล์จำนวนมาก และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการบางส่วนโฆษณาขายเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้นำไปใช้ จึงมีการสืบสวนจับกุม ได้ชุดตรวจไวรัสโควิด - 19 หน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวนมาก รวมมูลค่าของกลางหลายร้อยล้านบาท ซึ่งกรณี หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นสินค้าที่ประชาชนมีความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นจำนวนมากก็มีผู้ประกอบการบางราย นำสินค้าดังกล่าวที่ไม่ได้มาตรฐาน โฆษณาและนำออกมาจำหน่าย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งคณะทำงานมีมาตรการติดตามจับกุม รวมถึงโรงงานแหล่งผลิตได้หลายครั้ง ซึ่ง พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ/หัวหน้าคณะทำงาน ขอฝากความห่วงใยพี่น้องประชาชน ให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ให้ความรู้แก่พี่น้องประชาชนในการป้องกันตนเองจากการไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ และการบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมาย และฝากความห่วงใย มายังพี่น้องประชาชนระมัดระวังในการเลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การอ่านฉลากและคู่มือให้เข้าใจก่อนทุกครั้งหากพบเห็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย หรือพบเห็นการกระทำผิดอื่นใดสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่สายด่วน กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โทร 1135 และคณะทำงานปราบปรามผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้เร่งรัดดำเนินการสืบสวน ปราบปราม จับกุม ผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่องเพื่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป