ในการประชุม ฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าว ประจำปี 2021(Boao Forum for Asia 2021 Annual Conference)ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้เสนอแนวทางการก้าวสู่อนาคตว่า “พวกเราจะร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันสร้างโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูงต่อไป โดยใช้หลักการร่วมสร้างร่วมแบ่งปันเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งมีเป้าหมายส่งเสริมการเปิดกว้างความร่วมมือด้านต่าง ๆ การพัฒนาพื้นที่สีเขียว ยึดแนวคิดความซื่อสัตย์ มุ่งมั่นให้บรรลุผลที่มีมาตรฐานสูง และการดำรงชีวิตของผู้คนที่ยั่งยืน” หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เศรษฐกิจโลกที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงถึง 3 ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงประการที่ 1 คือ ประเทศมหาอำนาจแข่งขันกันอย่างดุเดือด และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเชื่องช้า ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า เมื่อสถานการณ์ทั่วโลกกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในปีนี้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 6% และ 4.4% ในปี 2022 อย่างไรก็ตามการคาดการณ์เช่นนี้จะต้องมีเงื่อนไขที่แน่นอน ซึ่งนั่นก็คือ จำเป็นต้องให้การไหลเวียนของเงินทุน การขนส่งและมนุษย์ฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติเสียก่อน และยังต้องให้เศรษฐกิจโลกดำเนินการอย่างเป็นระบบภายใต้กฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศมหาอำนาจบางส่วนใช้ความเป็นพหุภาคีเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ของตน หรือการแยกตัวออกจากความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและพัฒนาด้านสุขภาพ ประเทศมหาอำนาจบางส่วนก็ยังคงพยายามในการรักษาไว้ซึ่งอำนาจของตน โดยใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ โจมตีและกดดันประเทศอื่น ๆ หรือพยายามขอความช่วยเหลือจากประเทศพันธมิตรเพื่อสร้างกฎเกณ์ใหม่ที่ไม่เป็นกลางในการบริหารจัดการและกำกับดูแล มีการเลือกปฏิบัติกับประเทศที่เป็นพหุภาคี ทั้งนี้ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นเสียงสะท้อนจากผลกระทบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังยุคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงประการที่ 2 คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นการเพิ่มความเร็วของเศรษฐกิจให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทำธุระกิจ (Digital Transformation) หรือเรียกว่า เศรษฐกิจดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในรูปแบบนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และการคงสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ามกลางช่วงเวลาดังกล่าว รวมถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิด-19อีกด้วย ประเทศจีนใช้เทคโนโลยีใหม่ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นการให้แนวทางที่สำคัญแก่ทั่วโลกสำหรับการนำไปปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงในรอบนี้ จากการที่เทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้มากขึ้นในทุก ๆ วัน ก็ยิ่งเป็นการทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลนับวันยิ่งสร้างความมั่งคั่ง และแสดงให้เห็นข้อดีของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสร้างรูปลักษณ์ใหม่ของเศรษฐกิจโลกหลังยุคโควิด-19 เช่นเดียวกันนั้นก็หมายถึงการที่ธุรกิจของทุกประเทศจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่และสภาพแวดล้อมการแข่งขันใหม่ การเปลี่ยนแปลงประการที่ 3 คือ ความต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนมากขึ้น กล่าวได้คือ “มนุษย์และธรรมชาติมีชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ซึ่งเป็นตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ โดยรูปแบบการพัฒนาของเศรษฐกิจในอดีตปรับตัวไม่ทันตามความต้องการของอนาคตมนุษยชาติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในอีกความหมายหนึ่งคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศก็คือการสำรวจและพัฒนากำลังผลิตใหม่ ควรที่จะขับเคลื่อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น และการเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน อีกทั้งสำรวจหาการพัฒนาพลังขับเคลื่อนใหม่ โครงการริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” คือคำมั่นสัญญาแห่งยุคสมัย เส้นทางแห่งการมีชัยชนะร่วมกัน และคำมั่นสัญญาของประเทศจีน และจะกลายเป็นการสร้างโอกาสในวิกฤต และเปิดเส้นทางสู่การเริ่มต้นใหม่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19 ของประเทศตามแนวเส้นทางของโครงการนี้ ประเทศจีนจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรในความร่วมมือด้านสาธารณสุข ด้านการเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน ด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ด้านการเอื้อเฟื้อและการเห็นใจซึ่งกันและกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นส่วนสำคัญให้มนุษยชาติก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันอย่างเต็มที่