เพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โพสต์ข้อความข่าวระบุว่า...ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วยว่าการอุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อล้วนฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยในครั้งนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาออกมาว่า พฤติการณ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องต่อจําเลยซึ่งเป็นผู้บริโภค ดังที่ปรากฏในคดีนี้น่าจะเป็นแรงสะท้อนกลับ และยังส่งผลต่อความมั่นคงในการประกอบธุรกิจของโจทก์ในประเทศไทย ตามที่โจทก์หวาดกลัวอันกระทบถึงผลกำไรไปสู่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ได้ในท้ายที่สุด พฤติการณ์เช่นนี้จึงมิควรได้รับการรับรอง คุ้มครอง หรือสนับสนุนแต่อย่างใด รวมทั้ง การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผ่านกระบวนการทางศาลโดยมีคำขอท้ายฟ้องในลักษณะเช่นนี้น่าเชื่อว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ทั้งสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการขาดจริยธรรมทางธุรกิจและธรรมาภิบาล หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบธุรกิจที่ดีอย่างซ้ำซ้อนเสียยิ่งกว่าซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมทางธุรกิจของบริษัทแม่ของโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นที่เรียกคืนรถยนต์รุ่นมาสด้า 2 Skyactiv ดีเซลจากตลาดและผู้บริโภค เมื่อพบว่าสินค้ารถยนต์ดังกล่าวมีปัญหา อ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติม ได้ที่ https://consumerthai.org/consumers-news/product-and-other/4580-640505_ma... #รถยนต์ #ปัญหารถยนต์ #มาสด้า #ศาลฎีกา #ผู้บริโภค #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค