เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 5 พ.ค.64 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดลงมติพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของประธานรัฐสภาที่ส่งความเห็นของ ส.ส.51 คน ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) และความเป็นรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160(6) และมาตรา 98 (10) หรือไม่ จากกรณีเคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายอันถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้าซึ่งยาเสพติด ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญ​พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 101 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ (6) ระบุว่า มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 98 ที่บัญญัติว่า บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้าม มีให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (10)​ เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ที่กระทำโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนัน ในความผิดฐานเป็นเจ้ามือ หรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน ในความผิดฐานฟอกเงิน ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือเรียกสำเนาคำพิพากษา ของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐ​ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2537 และสำเนาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ รัฐนิวเซาท์เวลส์​ เครือ รัฐออสเตรเลีย ลงวันที่ 10 มี.ค.2538 และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากประธานรัฐสภา​ ร.อ.ธรรมนัส และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตามประธานรัฐสภา​ ร.อ.ธรรมนัส และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกสารไม่สามารถส่งสำเนาเอกสาร คำพิพากษาดังกล่าว และเอกสารหลักฐานอื่น ที่เกี่ยวข้องที่ทางราชการรับรองสําเนาถูกต้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร.อ.ธรรมนัส เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยก่อน ร.อ.ธรรนัส ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร.อ.ธรรมนัสรับว่า ตนเคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิด ตามคำพิพากษา ของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยประเด็นที่ 1 สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่นับเมื่อใด ซึ่งมีข้อที่ต้องพิจารณาก่อนว่า เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10)​อันเป็นลักษณะต้องห้าม ไม่ให้ใช้สิทธิ์ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หมายความถึงคำพิพากษาของศาลไทยเท่านั้นหรือไม่ เห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคหนึ่ง​ บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ซึ่งเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และวรรคสอง บัญญัติว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลองค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชน หมายถึงจากบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึง อํานาจอธิปไตย อันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยคือมีความเด็ดขาดสมบูรณ์ ไม่อยู่ในอาณัติหรือภายใต้อำนาจของรัฐอื่น อํานาจอธิปไตย แยกตามลักษณะ หน้าที่เป็น 3 ส่วน ได้แก่ อํานาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยการพิจารณาพิพากษา เป็นการใช้อำนาจตุลาการ มันเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ยอมต้องไม่ตกอยู่ในอาณัติ หรือภายใต้อำนาจตุลาการของรัฐอื่น หลักการปกครองของประเทศ ที่มีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ มีหลักการสำคัญคือ หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และไม่ถูกประเทศอื่น แทรกแซงกิจการภายในของตน โดยไม่มีการทำข้อตกลงยินยอม ดังนั้นการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศก็ดี การตีความให้คำพิพากษาของต่างประเทศมีสถานะทางกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาของศาลไทยก็ดี จึงไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ตามหลักอธิปไตยของรัฐ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ คำพิพากษาของศาลรัฐใด ก็จะมีผล ในดินแดนของรัฐนั้น ในบางกรณี รัฐใดรัฐหนึ่งอาจให้ อาจให้การรับรองคำพิพากษาของศาลอีกรัฐหนึ่ง และอาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษานั้นได้ แต่ต้องมีการทำสนธิสัญญารับรอง และบังคับตามคำพิพากษาตามหลักการต่างตอบแทน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรณีทางคดีแพ่ง คดีครอบครัว และคดีมรดก สำหรับคดีอาญาต่างประเทศอาจได้รับยอมรับพิจารณาบ้างในกรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือการโอนนักโทษ​โดยมีเงื่อนไขสำคัญตามหลักการต่างตอบแทนในสนธิสัญญา​ว่ารัฐภาคีต้องผูกพัน ที่จะเคารพและปฏิบัติตามผลของคำพิพากษาของรัฐอีกภาคีหนึ่ง ดังนั้นทั้งหลักการและการปฏิบัติของรัฐสำหรับการใช้อำนาจทางตุลาการจะได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ​แต่ละประเทศ​ เพื่อยืนยันหลักความเป็นอิสระของตุลาการ และความศักดิ์สิทธิ์​ของคำพิพากษา เมื่อบทบัญญัติ​ของรัฐธรรมนูญ​มีการกล่าวถึงคำพิพากษา จึงต้องหมายถึงคำพิพากษา​ของศาลแห่งรัฐหรือประเทศนั้นเท่านั้น ไม่รวมถึงคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ​ ตามตรากฎหมายอาญาของแต่ละประเทศกำหนดการกระทำที่เป็นความผิด องค์ประกอบ​ความผิด ฐานความผิดของการลงโทษไว้แตกต่างกัน โดยการกระทำอย่างเดียวกันในกฎหมาย​บางประเทศอาจกำหนดให้เป็นความผิด แต่กฎหมาย​ของไทยอาจไม่ได้กำหนดให้เป็นความผิดก็ได้ อีกทั้งหากตีความว่าเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด หมายรวมถึงคำพิพากษา​ของศาลต่างประเทศ​ด้วย ทำให้มิอาจกลั่นกรอง​หรือตรวจสอบความชอบด้วยหลักนิติธรรม​ของกระบวน​การ​ของศาลต่างประเทศ​ดังกล่าว และขัดต่อหลักการต่างตอบแทน กล่าวคือศาลต่างประเทศ​ไม่ต้องบังคับหรือยอมรับคำพิพากษา​ของศาลไทย ทำให้อำนาจ​อธิปไตย​ทางศาลของไทยถูกกระทบ​กระเทือน​อย่างมีนัย​ยะ​สำคัญ​ แม้ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า ร.อ.ธรรมนัส เคยต้องคำพิพากษา​ของศาลแขวงรัฐนิวส์เซาท์​เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย​ ก่อนลงสมัครเป็นส.ส. แต่ไม่ใช่คำพิพากษาของศาลไทย ร.อ.ธรรมนัส จึงไม่มีลักษณะ​ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ​มาตรา 98 (10) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ของร.อ.ธรรมนัส จึงไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ​มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) ประเด็นที่ 2 ความเป็นรัฐมนตรี ของร้อยเอกธรรมนัส สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160(6) และมาตรา 98 (10) หรือไม่ นับแต่เมื่อใด รัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (4) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 160 บัญญัติ รัฐมนตรีต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 98 ที่บัญญัติว่า บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้าม มีให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (10) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด ว่าการกระทำความผิดต่อตำแหน่ง​หน้าที่ราชการ​ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงาน​ในองค์การ​หรือหน่วยงานของรัฐ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน​ กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด​ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือ เจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์​ หรือกฎหมาย​ว่าด้วย​การป้องกัน​ปราบปราม​การ​ฟอกเงิน​ในความผิดฐานฟอกเงิน เห็นว่าเมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นที่ 1 ไว้แล้วว่า ผู้ถูกร้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ​มาตรา 98 (10) จึงไม่มีเหตุทำให้คงามเป็นรัฐมนตรีของร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ​มาตรา 160 (6) ความเป็นรัฐมนตรีของร.อ.ธรรมนัส จึงไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ​มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4)