น.ส.รัฐอาภา ศักดิ์ศาสตร์ ผู้จัดการแผนกบริหารจัดการอาคาร อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เป็นอาคารที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการพลังงานที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด โดยมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อนำพลังงานมาใช้ในพื้นที่บางส่วนของอาคาร รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการพลังงานผ่านแพลตฟอร์ม Jetstream ซึ่งปกติเราเก็บบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าทุกเดือน และทำการเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละเดือน โดยที่อุทยานฯได้ร่วมกับทางบริษัท ไอบิทซ์ จำกัด ผู้ใช้บริการพื้นที่อาคารฯ ได้เข้ามาช่วยในการดูค่าพลังงานแบบรวมทั้งอาคาร หรือเฉพาะบางพื้นที่ที่เราต้องการทราบแบบ Real time ซึ่งจะทำให้เราสามารถจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และนำข้อมูลไปวางแผนการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันจะนำไปสู่การพัฒนาพลังงานให้ยั่งยืน “ปัจจุบัน ข้อมูลส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น มาว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ ,นาฬิกาข้อมูล, กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถเรียกโดยรวมได้ว่าเป็นอุปกรณ์ด้าน IoT หรือ Internet of Things แต่ด้วยระบบฐานข้อมูลแบบเดิมไม่สามารถรองรับข้อมูลขนาดใหญ่และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ รวมทั้ง ข้อมูลที่มีอยู่มีความหลากหลายและซับซ้อนซึ่งเกิดจากอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งวิธีการสื่อสารและบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ ทำให้ยากต่อการนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงเริ่มมองหาเครื่องมือที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวและสนับสนุนให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศ หนึ่งในบริษัทผู้ใช้พื้นที่อาคารอำนวยการอุทยานฯจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาชื่อว่า “JetStream” เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเรามักเรียกกันว่า ข้อมูลเรียลไทม์ (Real-Time) JetStream สามารถขยายตัวเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังสามารถรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ที่มีช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลายได้ คุณสมบัติที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลตามความต้องการก่อนจัดเก็บเข้าระบบ หรือการแจ้งเตือนผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมทั้งให้บริการข้อมูลในรูปแบบ Open API ที่เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน” ขณะที่นายมรุพงค์ โฉมเฉลา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเชิงพื้นที่ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด กล่าวว่า อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มข. เป็นพื้นที่ให้บริการภาคเอกชนในการทำวิจัยและพัฒนาบนพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีพื้นที่ใช้สอย 18,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ ได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อเนื่องหลายพื้นที่ในอาคาร ดังนั้น บริษัทฯจึงหารือร่วมกับ แผนกจัดการอาคาร อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อนำ JetStream มาใช้ติดตามการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารในขั้นต้น และเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการระบบพลังงานในพื้นที่อาคารฯ และในขั้นต่อไป ภายใต้โปรเจก Green Building โดยที่บริษัทฯที่เป็นผู้เชี่ยวชาญงานทางด้านภูมิสารสนเทศระดับต้น ๆ ของประเทศ ปัจจุบันงานส่วนมากมักเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลเรียลไทม์ขนาดใหญ่ที่มาจากหลายแหล่งข้อมูล บริษัทจึงได้พัฒนา JetStream เพื่อมาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้น และด้วยความสามารถของเครื่องมือ บริษัทฯ จึงต้องการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับทางอาคารอำนวยการฯ โดยได้หารือกับ คุณรัฐอาภา ศักดิ์ศาสตร์ ผู้จัดการแผนกบริหารจัดการอาคาร เพื่อนำอุปกรณ์ไปติดตั้งไว้ตามตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าในพื้นที่อาคาร และส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นไปเก็บไว้ใน JetStream จากนั้นสร้าง แอพพลิเคชั่นในการแสดงผลว่าแต่ละพื้นที่ในอาคารใช้กำลังไฟฟ้าเท่าใด สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราเห็นว่าการใช้ไฟฟ้าแต่ละที่ผิดปกติหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถสั่งให้เปิดปิดไฟเป็นโซนได้ ซึ่งความสามารถของ JetStream ยังเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อยอดกับเกษตรกรที่ต้องการยกระดับสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มต่อไปในอนาคต