อัตราการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในอาเซียนปัจจุบันอยู่ที่ 4% คาดจะเร่งขยายตัวเป็น 5 เท่าแตะ 20% ภายในปี 2568 โดยมียอดขายเทียบเท่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICEV) ภายในปี 2573 และมียอดขายแซง ICEV จากปี 2578 เป็นต้นไป ไทย อินโดนีเซียและสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านนโยบายสนับสนุน EV ในขณะที่มาเลเซียและฟิลิปปินส์ยังคงล้าหลัง เพื่อใช้ประโยชน์จากเทรนด์ EV ที่กำลังมา อาเซียนควรดึงดูดการลงทุนใน EV จากจีนและร่วมเป็นหุ้นส่วน EV ที่มีศักยภาพ Maybank Kim Eng Research (“MKE Research”) เปิดเผยรายงานบทวิเคราะห์ล่าสุด โดยระบุว่า ยานยนต์ไฟฟ้า (EVs) ตั้งเป้ายอดขายเทียบเท่ากับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICEV) ในอาเซียนภายในปี 2573 และแซงหน้า ICEV จากปี 2578 เป็นต้นไป โดยการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียนอยู่ที่ 4% ในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ด้วยตลาดของกลุ่มขับเคลื่อน 4 ล้อ (4W) อยู่ที่ 40 ล้านคัน และกลุ่มขับเคลื่อน 2 ล้อ (2W) อยู่ที่ 220 ล้านคัน ตามลำดับ คาดว่า EV จะเติบโตขึ้น 5 เท่า เป็น 20% ภายในปี 2568 โดยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียถือเป็นตลาด 4W ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในแง่ของยอดขาย โดยครองส่วนแบ่งตลาด 75% ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางการผลิตในอาเซียนด้วย ส่วนในกลุ่ม 2W ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซียมีส่วนแบ่งตลาดที่สูงถึง 99% ในแง่ของยอดขาย Liaw Thong Jung รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ของ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง มาเลเซีย กล่าวว่า “ไทย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ยังคงนำหน้ากลุ่ม ในแง่ของการพัฒนานโยบายที่เป็นมิตรกับ EV ในทางกลับกัน ผู้บริโภคชาวมาเลเซียค่อนข้างให้ความสำคัญเรื่องของราคา และนิยมรถยนต์ประจำชาติ ในขณะที่ฟิลิปปินส์ชอบรถจักรยานยนต์มากกว่า โดยการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงในสองประเทศดังกล่าวนี้ยังมีส่วนทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในมากกว่าอีกด้วย และในภูมิภาคอาเซียน เราคาดว่ารถยนต์ขับเคลื่อน 2W จะออกมาเร็วกว่ากลุ่ม 4W” สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญสำหรับ EV ในอาเซียน ได้แก่ ต้นทุนที่ลดลง ความชอบของผู้บริโภค สำหรับไลฟ์สไตล์ที่เน้นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ตลาดยานยนต์ในอาเซียนยังคงให้ความสำคัญกับ ICEV เป็นอย่างมาก เนื่องจากการใช้ EV ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่า 1% ในตอนนี้ สิงคโปร์ : มองว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มองการณ์ไกลมากที่สุดและเร็วที่สุดในการรองรับ e-mobility โดยประเทศมุ่งมั่นที่จะยุติการผลิต ICEV ภายในปี 2583 ไทย : กำลังเร่งการนำ EV มาใช้ โดยย่นระยะเวลาคาดการณ์ล่วงหน้า (การผลิตและการใช้งานในประเทศ) ให้เร็วขึ้น 5 ปีจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของอาเซียนภายในปี 2568 อินโดนีเซีย : อินโดนีเซียมีนโยบาย EV ที่ชัดเจนและเป็น FDI ที่สนับสนุน EV โดยประเทศได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจที่จะยุติการผลิต ICEV ภายในปี 2578 โดยมีปริมาณนิกเกิลสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ เวียดนาม : Vinfast ผู้ผลิต EV ที่สำคัญของเวียดนาม (ผลิตยานยนต์ สกูตเตอร์ รถบัส) พร้อมที่จะส่งออกรุ่นต่างๆไปทั่วโลก lesiy[ความท้าทายที่จะมาขัดขวางการเร่งนำ EV มาใช้ ได้แก่ ราคาที่จับต้องได้ ระยะเวลาในการชาร์จ ระยะทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ความน่าเชื่อถือ และความพร้อมใช้งานของสถานีชาร์จ รวมถึงตัวเลือกต่างๆ ของรถยนต์ EV ในรุ่นต่างๆ นโยบายของรัฐบาลในรูปแบบของสิ่งจูงใจสามารถสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงด้านราคา EV ให้สามารถจับต้องได้ ในขณะเดียวกัน บริษัทผู้รับจ้างผลิตสินค้า (OEM) ต้องเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ในแง่ของความน่าเชื่อถือของแบตเตอรี่และเทคโนโลยี “ในบรรดานโยบายและสิ่งจูงใจที่รัฐบาลสามารถพิจารณาเพื่อเพิ่มความต้องการให้กับ EV ได้แก่ แรงจูงใจทางการเงินที่เกิดขึ้นประจำ เช่น ภาษีน้ำมันหรือราคาไฟฟ้าแบบไดนามิก สิ่งจูงใจทางการคลังแบบครั้งเดียว เช่น การยกเว้นภาษีหรือการกำหนดราคาคาร์บอน และสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่การคลัง เช่น การเรียกเก็บเงินค่าโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงช่องทางพิเศษ ที่จอดรถฟรี การยกเว้นค่าผ่านทางและการเข้าถึงเขตการปล่อยมลพิษต่ำ” ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เทรนด์ EV กำลังมา อาเซียนควรมองไปที่การดึงดูดการลงทุน EV ของจีนและการร่วมเป็นหุ้นส่วน EV ที่มีศักยภาพ ซึ่งจีนมีโมเดล EV ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว พร้อมห่วงโซ่คุณค่าที่สมบูรณ์และบริษัท EV ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ซึ่งอาเซียนสามารถเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนพวงมาลัยขวาให้กับจีนได้อีกด้วย