เป๊ปซี่โค ประกาศเป้าหมายใหม่ด้านการเกษตรเชิงบวก โดยมีเป้าหมายในปี พ.ศ.2573 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้าที่จะกระจายแนวทางการทำการเกษตรแบบปฏิรูปไปทั่วโลกกว่า 17 ล้านไร่ โดยประมาณ เพื่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์อย่างน้อย 3 ล้านตัน ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรและคนในชุมชนกว่า 250,000 คน และจัดหาวัตถุดิบหลักจากแหล่งที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและยั่งยืน 100%
เรมอน ลากัวร์ตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริษัทเป๊ปซี่โค กล่าวว่า ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก บริษัทฯ ตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาที่ท้าทายในระบบอาหารสมัยใหม่ นับตั้งแต่ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนทรัพยากร ไปจนถึงความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ ในวาระเกษตรกรรมเชิงบวกของเป๊ปซี่โค เป๊ปซี่โคให้ความสำคัญกับการลงทุน นวัตกรรม และความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับพันธมิตรด้านการเกษตรของเรา เพื่อสร้างผลกระทบไปทั่วโลก และจากการทำงานร่วมกัน เราจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จัดการกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และมอบโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับผู้คนจำนวนมากขึ้น
วาระเกษตรกรรมเชิงบวกของเป๊ปซี่โค มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแหล่งพืชและวัตถุดิบในลักษณะที่เร่งการปฏิรูปการเกษตรและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเกษตรกรรมโดยมุ่งเน้น ดังนี้
การขยายการยอมรับแนวทางการทำการเกษตรแบบปฏิรูปในกว่า 17 ล้านไร่ทั่วโลก-เทียบเท่ากับที่ดินทั้งหมดที่ใช้ในการปลูกพืชและวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ความพยายามเหล่านี้คาดว่าจะนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อย 3 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2573 นอกจากนี้ กว่าทศวรรษที่เป๊ปซี่โคได้พัฒนาโครงการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน เป๊ปซี่โคจะยังคงร่วมมือกับเกษตรกรใน 60 ประเทศต่อไปเพื่อนำแนวปฏิบัติด้านการเกษตรกรรมเชิงปฏิรูปไปใช้ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและฟื้นฟูระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา เป๊ปซี่โคได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรในการปลูกพืชคลุมดินบนพื้นที่กว่า 210,050 ไร่และพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มลดลงถึง 38% รวมถึงการกักเก็บคาร์บอนในดิน[1] ด้วยความพยายามร่วมกันกับพันธมิตรชั้นนำในอุตสาหกรรม บริษัทฯ จะขยายโครงการเกษตรเชิงปฏิรูปไปยังพื้นที่เพาะปลูกในสหรัฐฯมากกว่า 1,265,000 ไร่ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2564 นอกจากนี้เป๊ปซี่โคจะยังคงขยายเครือข่ายฟาร์มสาธิตไปทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันได้
พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนมากกว่า 250,000 คนในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรและชุมชน รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้หญิงทั่วโลก เป๊ปซี่โคมุ่งเน้นการทำงานกับชุมชนเกษตรกรรมที่เปราะบางที่สุด ซึ่งเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก รวมถึงเกษตรกรรายย่อยและคนงานในฟาร์ม ผู้หญิงและเกษตรกรชนกลุ่มน้อย
จัดหาวัตถุดิบหลัก 100% อย่างยั่งยืน โดยไม่ได้หมายถึงพืชที่มาจากแหล่งโดยตรง (มันฝรั่ง ข้าวโพดทั้งเมล็ด ข้าวโอ๊ต และส้ม) เพียงเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงพืชหลักจากบุคคลที่สาม เช่น น้ำมันพืชและธัญพืช เป๊ปซี่โคจัดหาพืชผลใน 60 ประเทศและสนับสนุนงานกว่า 100,000 ตำแหน่งในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร
ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 เป๊ปซี่โคสามารถจัดหาพืชที่มาจากแหล่งโดยตรงที่มีแหล่งที่มาอย่างยั่งยืนได้ถึง 100% จาก 28 ประเทศ และในทั่วโลกเกือบ 87% ของพืชผลก็ได้มาจากโครงการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของเป๊ปซี่โค ตัวอย่างเช่น ส้ม 100% ที่แบรนด์ Tropicana ใช้ได้มาจากผู้ปลูกในฟลอริดาที่มีแหล่งที่มาอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับ 100% ของมันฝรั่งและข้าวโอ๊ตสำหรับ Lay’s และ Quaker ในอเมริกาเหนือตามลำดับ
เป๊ปซี่โค สนับสนุนการกำหนดมาตรฐานและการวัดผลการเกษตรแบบปฏิรูปทั่วทั้งอุตสาหกรรม ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานดังกล่าว บริษัทฯ จะวัดความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายเกษตรเชิงบวก โดยการติดตามขนาดของพื้นที่และผู้คนที่มีส่วนร่วมในการริเริ่มและเมื่อเวลาผ่านไปผลกระทบที่มีต่อผลลัพธ์หลัก 5 ประการ ได้แก่ การสร้างสุขภาพของดินและความอุดมสมบูรณ์ การแยกคาร์บอนและลดการปล่อย เสริมสร้างความสมบูรณ์ของลุ่มน้ำ การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกร PepsiCo ทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ เช่น World Wildlife Fund (WWF) เพื่อพัฒนาวิธีการกำหนดเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับน้ำ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของระบบการทำการเกษตรแบบปฏิรูปและยืดหยุ่นและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำ
"ตลอดระยะเวลามากกว่า 25 ปีที่เป๊ปซี่โคเริ่มต้นทำธุรกิจขนมขบเขี้ยวในประเทศไทย เราได้ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยทำการเพาะปลูกมันฝรั่ง ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุน ส่งเสริมการปลูกมันฝรั่งและรับซื้อผ่านระบบเกษตรพันธสัญญา มุ่งพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพเกษตรกร นำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเราเข้าไปให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการเพาะปลูก การป้องกันโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การวางแผนการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคพืชและการชลประทาน ลดการใช้เชื้อเพลิง และ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับการชลประทานโดยระบบน้ำหยด แทนการให้น้ำแบบร่อง ช่วยให้เกษตรกรวางแผน ควบคุมปริมาณการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกได้อย่างแม่นยำ"
สุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาหารอินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยยึดถือตามนโยบายของบริษัท "ผลงานดี สำนึกดี" และหนึ่งในพันธกิจภายในใต้โครงการการทำเกษตรแบบยั่งยืนนั้นคือการดูแลทรัพยากรธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งการทำการเพาะปลูกมันฝรั่ง "ดิน" เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลและบำรุงเพื่อให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเพาะปลูก เรามีผู้เชี่ยวชาญการเกษตรที่ทำการวิเคราะห์ดิน ซึ่งทำให้มากกว่า 90% ของผู้เพาะปลูกมันฝรั่ง งดการเผาตอซังข้าว เปลี่ยนเป็นการไถกลบตอซังข้าวเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดินแทน มีการใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อแก้ปัญหาดินกรดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืช นอกจากนี้ได้แนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนวิธีการจากการให้ปุ๋ยจำนวนมาก 1–2 ครั้ง เป็นการแบ่งให้ปุ๋ย 4–5 ครั้ง เพื่อลดการสูญเสียจากการชะล้าง จากการดำเนินการโครงการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกษตรกรได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีและพัฒนาความรู้ในการเกษตรมาปรับใช้ ลดการใช้และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เกษตรกรมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น มีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอันเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพในระยะยาว
การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมรวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการทำงานร่วมกันเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางของเป๊ปซี่โคในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เมื่อเร็วๆ นี้เป๊ปซี่โคร่วมกับ World Economic Forum และองค์กรอื่นๆ ในการเปิดตัวแนวคิด Food Innovation Hubs เพื่อพัฒนาระบบอาหารในท้องถิ่นที่ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการ
วาระเกษตรกรรมเชิงบวก เป็นอีกก้าวหนึ่งในการเดินทางของเป๊ปซี่โคและเป็นไปตามการประกาศล่าสุดของบริษัทฯ ที่จะเพิ่ม เป้าหมายด้านสภาพอากาศตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นสองเท่า โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสัมบูรณ์ในห่วงโซ่คุณค่าให้ได้มากกว่า 40% ภายในปี พ.ศ.2573 เช่นเดียวกับการให้คำมั่นที่จะบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2583