ที่สำนักงานคำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178/2564 ลงวันที่ 9 เม.ย. เรื่อง การบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบส่วนคดีอาญา ใจความว่า ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกำหนดให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(4) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2559 ลงวันที่ 5 ก.พ. 2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกคำสั่ง ดังนี้ ข้อ 1.ในคำสั่งนี้หากคำใดมิได้ให้ความหมายไว้ ให้ถือความหมายตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ 2 ในคำสั่งนี้ (1)"ตำรวจ" หมายความว่า ตำรวจซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (2) "สิ่งบันทึกภาพและเสียง" หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับภาพและเสียง ที่ลงบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใดๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับ การใช้วัสดุนั้น (3 ) "การบันทึกภาพและเสียง" หมายความว่า การจัดทำข้อมูลสิ่งบันทึกภาพและเสียง ด้วยวิธีการต่อเนื่องด้วยลำดับภาพและเสียงโดยมิได้มีการตัดต่อเพิ่มเติมลงในภาพและเสียงที่ได้มีการบันทึกไว้ "ผู้บันทึก" หมายความว่า ตำรวจผู้ได้รับมอบหมาย หรือหนักงานสอบสวนที่เป็นผู้จัดทำสิ่งบันทึกภาพและเสียง ส่วนที่ 1  การบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้นคดีอาญา ข้อ 3.การตรวจค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิดให้ตำรวจผู้ตรวจค้นบันทึกภาพและเสียงโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทางราชการจัดหาให้ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถบันทึกภาพและเสียงได้ เว้นแต่มีเหตุอันมิอาจดำเนินการได้ ให้บันทึกเหตุแห่งการนั้นไว้ในบันทึกการตรวจค้นด้วย ข้อ 4 การบันทึกภาพและเสียงการตรวจค้นในที่รโหฐาน ให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) กรณีมีหมายกันหรือคำสั่งของศาล ให้หัวหน้าชุดตรวจค้นมอบหมายตำรวจผู้ร่วมตรวจค้นผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบันทึกภาพและเสียงโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทางราชการ จัดหาให้หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถบันทึกภาพและเสียงได้ เว้นแต่มีเหตุอันมิอาจดำเนินการได้ ให้บันทึกเหตุแห่งการนั้นไว้ในบันทึกการตรวจค้น (2) กรณีเข้าเหตุยกเว้นการค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น หากสามารถดำเนินการบันทึกภาพและเสียงในขณะตรวจค้นได้ก็ให้ดำเนินการตาม ข้อ 4(1) ส่วนที่ 2 การบันทึกภาพและเสียงการจับกุมคดีอาญา ข้อ 5 การบันทึกภาพและเสียงการจับกุมในที่สาธารณสถาน ให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) กรณีมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล ให้หัวหน้าชุดจับกุมมอบหมายตำรวจผู้ร่วมจับกุมผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้รับผิดในการบันทึกภาพและเสียงโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทางราชการจัดหาให้ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถบันทึกภาพและเสียงได้ เว้นแต่มีเหตุอันมิอาจดำเนินการได้ ให้บันทึกเหตุแห่งการนั้นไว้ในบันทึกการจับ (6) กรณีเข้าเหตุยกเว้นการจับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น หากสามารถดำเนินการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับกุมได้ก็ให้ดำเนินการตามข้อ 5 (1) ข้อ 6 การจับกุมในที่รโหฐาน ให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) กรณีการจับโดยมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และมีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล หรือผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้านหรือเข้าเหตุยกเว้นการค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น ให้หัวหน้าชุดจับกุมมอบหมายตำรวจผู้ร่วมจับกุมผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้รับผิดในการบันทึกภาพและเสียงโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทางราชการจัดหาให้ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถบันทึกภาพและเสียงได้ เว้นแต่มีเหตุอันมิอาจดำเนินการได้ ให้บันทึกเหตุแห่งการนั้นไว้ในบันทึกการจับ (2 ) กรณีเข้าเหตุยกเว้นการจับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น และผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน หรือเข้าเหตุยกเว้นการค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น หากสามารถดำเนินการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับกุมได้ ก็ให้ดำเนินการตามข้อ 6(1) ส่วนที่ 3  การบันทึกภาพและเสียงการสอบสวนคดีอาญา ข้อ 7 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบสวนคดีอาญาประเภทอื่นใดไว้ ให้พนักงานสอบสวนทำการบันทึกภาพและเสียงผู้ต้องหา โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทางราชการจัดหาให้ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถบันทึกภาพและเสียงได้ ในประเภทคดี ดังต่อไปนี้คดีความผิดต่อชีวิตหรือร่างกาย โดยมีผู้ถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส คดีความผิดฐานชิงทรัพย์และมีผู้ถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส (3 ) คดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ คดีที่มีความสำคัญ หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เช่น คดีเรียกค่าไถ่ คดีที่ผู้กระทำผิด มีแผนประทุษกรรมเป็นที่น่าสนใจ หรือคดีโจรกรรมรถยนต์ที่ใช้วิธีการพิเศษ เป็นต้น (5 ) คดีที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ หรือไม่อาจใช้วิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์ในการแสวงพยานหลักฐานอื่นใดได้ นอกจากคำรับสารภาพของผู้ต้องหา (6) คดีที่ผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาให้การเป็นประโยชน์อันเป็นข้อมูลสำคัญต่อการดำเนินคดีกับผู้บงการหรือตัวการสำคัญหรือพิสูจน์ความผิดของผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นในข้อหาความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไปเว้นแต่มีเหตุอันมิอาจดำเนินการได้ ให้บันทึกเหตุแห่งการนั้นไว้ในบันทึกของพนักงานสอบสวน ส่วนที่ 4 การจัดเก็บ และการเผยแพร่สิ่งบันทึกภาพและเสียง ข้อ 8 การจัดเก็บข้อมูลการบันทึกภาพและเสียง ให้ดำเนินการ ดังนี้ (1 ) ให้หัวหน้าสถานีตำรวจ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนมอบหมายตำรวจ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บสิ่งบันทึกภาพและเสียงการตรจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา (2) ให้ตำรวจผู้บันทึกภาพและเสียงการตรวจค้น จับกุม และการสอบสวนคดีอาญา ส่งสิ่งบันทึกภาพและเสียงกับตำรวจผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายตามข้อ 8(1) (3) เมื่อตำรวจผู้รับผิดชอบได้รับมอบสิ่งบันทึกภาพและเสียงมาแล้ว หากจำเป็นต้องใช้ภาพและเสียงนั้นประกอบสำนวนการสอบสวนให้จัดทำสิ่งบันทึกภาพและเสียงนั้น จำนวน 2 ชุด เพื่อส่งให้แก่พนักงานสอบสวน (4) เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับสิ่งบันทึกภาพและเสียง จำนวน 2 ชุด แล้ว ให้นำไปประกอบสำนวนการสอบสวนส่งให้พนักงานอัยการ จำนวน 1 ชุด ส่วนอีก 1 ชุด ให้เก็บไปไว้กับสำเนาสำนวนการสอบสวน โดยให้มีการผนึกสิ่งบันทึกภาพและเสียงดังกล่าว เพื่อป้องกันมีให้มีการทำลายหรือทำให้เสียหาย และให้ลงลายมือชื่อพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหา และผู้จัดเก็บ ไว้ด้วย ข้อ 9 ห้ามมิให้ทำการเผยแพร่สิ่งบันทึกภาพและเสียง เว้นแต่เพื่อการสืบสวนและกาสอบสวนคดีอาญา ส่วนที่ 5  ระยะเวลาการเก็บรักษา และการทำลาย ข้อ 10  สิ่งบันทึกภาพและเสียงที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อประกอบการสิบสวน และการสอบสวนคดีอาญา ให้เก็บรักษาไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือคดีขาดอายุความ ข้อ 11 สิ่งบันทึกภาพและเสียงที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อประกอบการสืบสวน และการสอบสวนคดีอาญา ให้เก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 5 ปี ตามรอบปีปฏิทิน ข้อ 12 วิธีการทำลายสิ่งบันทึกภาพและเสียง เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ 10 และข้อ 11 ให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ 13 บรรดาระเบียบ และคำสั่งอื่นในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในคำสั่งนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ใช้คำสั่งนี้แทน ข้อ 14 วิธีปฏิบัติเรื่องใดที่มิได้กำหนดในคำสั่งนี้ไว้โดยเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  ทั้งนี้ มีรายงานว่า เหตุที่มีคำสั่งดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกำหนดให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวน และเป็นแผนงานตามโครงการ Big rock นั่นคือ โครงการที่มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อประชาชน และควรต้องเร่งรัดดำเนินการโดยเร่งด่วน ภายใต้แผนแม่บทตามยุทธศาสตร์ชาติที่ ตร.ต้องดำเนินการและรายงานต่อสำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)