วันที่ 20 เมษายน 2564 นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะผู้สนับสนุนการวิจัยโครงการสุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจหาผู้ป่วยโควิด-19 โดยร่วมกับคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า น่าจะเป็นอีกหนึ่งหนทางในการตรวจเชิงรุกค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ มีผู้คนจำนวนมาก ต้องการตรวจหาเชื้อโควิด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเกินศักยภาพของสถานพยาบาลของทั้งรัฐและเอกชนจะรองรับได้ โดยในเบื้องต้นสุนัขในโครงการชุดแรก พันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) จำนวน 6 ตัว จะถูกนำไปใช้ในการคัดกรองบุคลากรของบริษัทเฟฃชฟรอน ที่ปฏิบัติงานนอกชายฝั่ง อีกทั้ง ในอนาคตจะนำมาใช้กับบุคลากรบนฝั่ง ซึ่งได้มาจากการประสานงานของทีมวิจัยจุฬาฯ ที่มีการหารือในการนำสุนัขในโครงการวิจัยฯ ซึ่งผ่านการฝึกอบรม นำไปทำการคัดกรองกลุ่มบุคคลอื่นๆ ภายใต้การจัดการของจุฬามหาวิทยาลัย ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในเร็วๆ นี้ อีกทั้งได้รับการอนุมัติและอนุญาตจากกรมควบคุมโรค ให้สามารถนำสุนัขไปปฏิบัติงานในพื้นที่สาธารณะได้ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการจัดจ้างการสร้างและจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์เพื่อประกอบกับรถขนย้ายในการเคลื่อนที่เพื่อใช้เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของสุนัข โดยที่สภาพแวดล้อมจะมีขอบเขตมิดชิดเหมาะสม เพื่อให้สุนัขดมผ่านอุปกรณ์ และไม่มีการดมสัมผัสโดยตรงกับคน เช่นเดียวกับที่ทำการฝึกฝนในงานวิจัย เพื่อความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดี นอกจากนี้ นายอาทิตย์ กล่าวว่า มีหน่วยงานภาครัฐ 2 หน่วยงานแสดงความสนใจที่จะฝึกสุนัขดมกลิ่นเพื่อปฎิบัติการ โดยมีเป้าหมายที่จะฝึกสุนัขอย่างน้อย 10 ตัว ให้สามารถจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สำหรับด้านการเผยแพร่ผลงาน ทางจุฬาฯ กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมบทความงานวิจัยนี้ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อเป็นชุดความรู้และเป็นต้นแบบการฝึกสุนัขดมกลิ่นเพื่องานทางการแพทย์ชุดแรกในประเทศไทย ที่หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปต่อยอดใช้งานในการตรวจวิเคราะห์โรคต่างๆ ต่อไปได้ สำหรับการทำงานของสุนัชดมกลิ่นหาโตวิดในครั้งนี้ หากสุนัขพบว่า คนที่รับการตรวจ มีการติดเชื้อแล้ว สุนัขก็จะนั่งลง ผลการวิจัยของคณะวิจัยจากจุฬาฯ ยืนยันว่าการใช้สุนัขดมกลิ่นจำแนกผู้ป่วยโควิด-19 มีความแม่นยำสูงถึง 80-100% เพราะสุนัขมีเซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นมากกว่า 300 ล้านเซลล์ มากกว่ามนุษย์ถึง 50 เท่า จึงสามารถบ่งบอกชนิดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญเซลล์ที่ผิดปกติของผู้ป่วยนั้นเอง