เมื่อเวลา​ 14.30น​ วันที่​ 20เมษายน​ 2564​ ณ.อนุสาวรีย์​ เจ้าหมื่นด้ง​ ตำบลบ้่นตึก​ อำเภอ​ ศรีสัชนาลัย​ จังหวัด​ สุโขทัย​ ได้มีพิธี​ บวงสรวงถวายเครื่องสักการะ​ เจ้าหมื่นด้ง​ โดยมี นาย​ ณัฐ​พล​ ยอดเหล็ก ปลัดอำเภอ​ศรีสัชนาลัย​ พร้อม​ นายวินนท์​ รุ่งโรจน์​ นายกองค์​การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก​ พร้อม​ นายสิทธิพร​ ศรีปาน​ปลัดองค์​การบริหารส่วนตำบล​ พร้อมเหล่าข้าราชการและประชาชน​ ชาวตำบลบ้านตึกได้ร่วมทำพิธีสักการะ​ ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าหมื่นด้ง เป็นประเพณีที่ชาวตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัยถือปฏิบัติกันมานานกว่า เป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่แสดงออกด้านความเชื่อ ความกตัญญูและศรัทธาต่อบรรพบุรุษ ลึกซึ้งเข้าไปในจิตวิญญาณ ในนานเจ้าหมื่นด้งทหารเอกของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ผู้กล้าหาญ ถือกำเนิดดินแดนแห่งนี้เป็นอำเภอด้ง โดยพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณอาหาร ทำให้คนและช้างย้ายถิ่นมาอยู่ที่นี้อย่างยั่งยืน ต่อมาคนรุ่นหลังได้ตระหนักในความรักความ หวงแหนถิ่นกำเนิดและวัฒนธรรมซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนของชีวิตคนกับช้าง โดยต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน ดั้งนั้นชาวบ้านจึงได้จัดประเพณีแห่น้ำโฮงสรงน้ำเจ้าหมื่นด้งมาตลอดทุกปี ซึ่งในปี 2564 นี้ ก็ถือเป็นปีที่ 547 ของการจัดงานประเพณีแล้ว​ ทั้งนี้การจัดงานก็ได้มี​ การตรวจคัดกรองโรค​โควิด19​ โดยวัดอุณหภูมิ​ร่างกายและพ่นแองกอฮอร์เจลทำความสะอาดให้ผู้ที่มาร่วมงานใส่แมสทุกคน​ พร้อมกับลงทะเบียนเข้าร่วมงานเว้นระยะห่าง​ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข​และรัฐบาลโดยมีเจ้าหน้าสาธารสุขและ​ อสมประจำจุดเข้าออก​ ตลอดงาน อำเภอศรีสัชนาลัยและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก ตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงได้จัดงานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าหมื่นดังขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานของชุมชน อีกทั้งเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดสุโขทัย ตลอดจนรวมไปถึงการรวมกลุ่มและสร้างความสามัคคีของกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าหมื่นด้ง มีกำหนดจัดขึ้น ณ บริบริเวณณอนุสาวรีย์เจ้าหมื่นด้ง ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย ระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน ภายในงานมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิเช่น การปักตุงที่ศาลหลักเมือง ศาลเจ้าเขามุ้ง กู่พระครูคีรีบรรพต ศาลเจ้าหมื่นด้ง อนุสาวรีย์เจ้าหมื่นด้ง รวมทั้งชมขบวนช้าง พิธีทำขวัญช้างและเลี้ยงอาหารช้าง ขบวนแห่ของกลุ่มแม่บ้าน 14 หมู่บ้าน