รายงานการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมาโดยสถาบันคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน เนื่องในวันงดสูบบุหรี่ของอังกฤษ ตอกย้ำถึงประโยชน์ที่ชัดเจนของการใช้บุหรี่ฟ้าเป็นปกติประจำเพื่อเลิกการสูบบุหรี่ และยังสนับสนุนความมีประสิทธิภาพของบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อเทียบกับวิธีการอื่นๆในการเลิกบุหรี่ เช่นการใช้ยาหรือใช้นิโคตินทดแทน แม้ว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศอังกฤษจะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่การสูบบุหรี่ยังคงเป็นสาเหตุใหญ่ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และก่อให้เกิดโรคต่างๆที่คร่าชีวิตชาวอังกฤษเกือบ 75,000 คนในปี 2562 ขณะที่บุหรี่ไฟฟ้าเริ่มปรากฎขึ้นมากกว่าทศวรรษแล้ว แต่หลักฐานเรื่องความมีประสิทธิภาพในการช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ยังมีค่อนข้างจำกัด การศึกษาต่างๆ ในช่วงเร็วๆนี้ได้ทำให้ปรากฏข้อค้นพบที่ไม่สอดคล้องกัน หรือล้มเหลวที่จะวัดปัจจัยสำคัญ เช่น ความถี่ของการใช้ หรือ ผลของบุหรี่ไฟฟ้าประเภทที่แตกต่างกันบนความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่ ทั้งนี้ ดร.มาร์ติน แมคเดอแมธ นักวิจัยที่ศูนย์การเสพติดของสถาบันคิงส์ คอลเลจและผู้วิจัยหลัก กล่าวว่า ผลการศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าหากมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นปกติประจำจะช่วยให้คนสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ ข้อค้นพบเหล่านี้สอดคล้องกับการวิจัยก่อนหน้าที่แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่วยที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเลิกสูบบุหรี่มากกว่าการให้นิโคตินทดแทนหรือการสั่งจ่ายยา อีกทั้งยังระบุอีกว่า มันสำคัญมากที่เราทำการตรวจสอบเป็นประจำว่าคนเหล่านี้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าบ่อยแค่ไหน ดังที่เราเห็นได้จากการนัดติดตามผลว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบกระปริดกระปรอย โดยเฉพาะแบบที่เติมน้ำยาได้เองนั้น ไม่มีผลเกี่ยวข้องต่อการเลิกสูบบุหรี่ จากการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันวิจัยมะเร็ง ยูไนเต็ด คิงดอม นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจออนไลน์ของผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,155 คนซึ่งรวมถึงผู้สูบบุหรี่ อดีตผู้สูบบุหรี่ที่เลิกสูบภายใน 1 ปี ก่อนตอบแบบสำรวจ และผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยมีการเก็บข้อมูล 5 รอบระหว่างปี 2555 ถึง 2560 โดยนักวิจัยได้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบุหรี่ไฟฟ้าในฐานะเครื่องมือช่วยเลิกสูบบุหรี่สำหรับอย่างน้อย 1 เดือน ในการติดตามผล และอย่างน้อย 1 เดือนสำหรับการเลิกสูบบุหรี่ในระหว่างรอบการสำรวจครั้งแรกกับครั้งอื่นๆที่ตามมา ซึ่งงานวิจัยได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการเสพติด (The journal of addiction) โดยพบว่าคนใช้บุหรี่ไฟฟ้าชนิดที่เติมได้เป็นปกติประจำเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ประสบความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ภายใน 1 เดือนมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือช่วยใดๆเลย ด้าน ดร.ลีโอเนร์ พรอส นักวิจัยของศูนย์เสพติดระดับชาติสถาบันคิงส์ คอลเลจ กล่าวว่า แม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีจุดยืนที่ระมัดระวังเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า แต่ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเลิกสูบบุหรี่ ดร.ลีโอเนร์ ระบุต่อว่า องค์การอนามัยโลกมีความกังวลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าชนิดเติมเองได้ เพราะอาจทำให้ผู้ใช้เติมสารที่มีความอันตรายหรือเพิ่มระดับของนิโคตินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามเราได้แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าชนิดเติมได้โดยเฉพาะนั้นเป็นเครื่องมือช่วยเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพมากเมื่อใช้เป็นปกติประจำ และหลักฐานจากงานวิจัยนี้ควรนำไปประกอบการพิจารณาให้คำแนะนำในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า สำหรับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นปกติประจำมีประสิทธิภาพมากในการเลิกสูบบุหรี่เมื่อเทียบกับหลักฐานการศึกษาของวิธีการเลิกสูบบุหรี่แบบอื่นๆ รวมถึงการให้นิโคตินทดแทน การให้ยาเช่น bupropion หรือ vareniclineหรือการใช้เครื่องช่วยทั้ง 2 อย่างประกอบกัน ปรากฎว่าไม่มีวิธีการใดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่จากการติดตามผล เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่มีความช่วยเหลือใดๆเลย อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์ขั้นฑุตยภูมิ การสั่งยามีความสัมพันธ์กับการบรรลุผลในการเลิกสูบบุหรี่ได้ ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล https://www.kcl.ac.uk/news/daily-e-cigarette-use-shows-clear-benefit-in-...