และสายด่วน จัดหาเตียงในพื้นที่กทม.1669 สายด่วน 1668 สายด่วนกรมการแพทย์ (เฉพาะกิจ) รับสาย 08.00-22.00 น.ทุกวัน 1330 สายด่วนสปสช.รับสายตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แนะใครมีผลบวกโควิดไม่ตระเวนข้างนอกเพิ่มความเสี่ยงแก่ผู้อื่น /ยืนยันว่าการจัดการเตียงในพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีเพียงพอขณะนี้มีกว่า 6 พันเตียง และเพิ่มต่อเนื่อง
14 เม.ย.64 นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุกรายต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งในระหว่างรอเตียงนั้นขอให้อยู่บ้านไม่เดินทางออกไปข้างนอก โดยยอมรับว่าที่ผ่านมาประชาชนที่ไปตรวจหาเชื้อ-19 แล้วพบว่ามีผลบวกคือติดเชื้อ จึงกังวลเรื่องการหาเตียงเพื่อทำการรักษา ซึ่งในช่วงแรกยืนยันว่าโรงพยาบาลเอกชน มีความสามารถในตรวจแลบได้ดี แต่ระยะแรกการองรับเตียงไม่ทันยังขลุกขลัก เพราะมีตัวเลขมาก ตอนนี้มีการหารือร่วมกันหลายหน่วยงานรองรับให้ผู้ติดเชื้อทุกคน ทั้งนี้ยืนยันว่าการจัดการเตียงในพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีเพียงพอ
จากข้อมูลวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา มีการตรวจสอบเตียงในสังกัดโรงพยาบาลต่างๆทุกแห่งครอบคลุมทั้งกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม กทม.โรงพยาบาลตำรวจ โรงเรียนแพทย์ เอกชน รวม 4,703 เตียง และเตียงสนาม อีก 1,482 เตียง รวมมีทั้งหมด 6,185 เตียง และมีการเข้ามาใช้เตียงแล้วแล้ว 3,460 เตียง และมีเตียงว่างในโรงพยาบาลเอกชน 1,000 เตียง แต่ที่ยังเข้าใช้ไมได้เพราะต้องรองรับผู้ป่วยหนัก และกึ่งไอซียู จึงไม่สามารถนำคนที่ไม่มีอาการรุนแรงเข้าไปใช้ นอกจากนี้ยังจัดหา Hospitel อีก 3,000 เตียง สำหรับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมกำลังดำเนินการเตรียม โรงพยาบาลสนาม ส่วนกรมการแพทย์เตรียมเปิด Hospitel คาดว่ารับได้ 450 เตียง (อีก 2 วัน) และโรงพยาบาลรามาธิบดี เตรียมเปิด Hospitel อีก 2 แห่ง
นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีการทำสายด่วน จัดหาเตียงในกทม. ดังนี้ 1669 สายด่วน 1668 สายด่วนกรมการแพทย์ (เฉพาะกิจ) รับสาย 08.00-22.00 น.ทุกวัน 1330 สายด่วนสปสช.รับสายตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และทางแอปพลิเคชันไลน์ "สบายดีบอต" เพียงเพิ่มเพื่อนและกรอกข้อมูล ซึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ติดต่อหาเตียงอาจมีความล่าช้า 2-3 วัน แต่ขอให้รอไม่ตระเวนออกไปข้างนอกซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นได้