วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ ห้องประดับฟ้า โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นท์ จังหวัดร้อยเอ็ด นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานพิธีเปิดการประชุมเสวนา โครงการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์ และการประมงให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด กิจกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อคุณภาพหลักสูตร : การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ลี้ยงโคเนื้อ และผู้ประกอบการเกี่ยวกับโคเนื้อ โดยการดำเนินงานของ นายปัญญา มูลคำกาเจริญ ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด และคณะเพื่อดำเนินการตามเป้าหมาย 20 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีผู้ประกอบการ และเกษตรกรเป้าหมาย รวม 200 คน ได้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อคุณภาพ, กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โครงการโคขุนทุ่งกุลา, กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง, ผู้ประกอบการ (คอกกลาง) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง และกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ (โคเนื้อ)โดยได้รับการสนับสนุนผู้ดำเนินรายการจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น, ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ฟาร์มกำนันเตียง, สหกรณ์การเกษตรหนองสูง และอาจารย์ดำรงค์ สีลา ประธานวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคขุนทุ่งกุลาบ้านฮ่องแซ่ การประชุมเสวนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการการผลิตโคเนื้อ การผลิตโคขุนให้ได้คุณภาพ ช่องทางการตลาด และนำความรู้มาปรับใช้ในฟาร์มของตนเอง ให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของการเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาดโคเนื้อ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้จัดทำ กิจกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อคุณภาพ หลักสูตร : การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ลี้ยงโคเนื้อ และผู้ประกอบการเกี่ยวกับโคเนื้อ เพื่อดำเนินการตามเป้าหมาย 20 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า นับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ดีและเป็นประโยชน์ ต่อผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ที่มุ่งเน้นในการดูแลเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถผลิตโคเนื้อให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเครือข่าย การตลาดโคเนื้อเพื่อให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจในเรื่องของการตลาดนำการผลิต ขอให้ท่านนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการผลิตโคเนื้อให้ได้คุณภาพมีมาตรฐาน ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เนื้อโคของเกษตรกร และทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อโคที่ปลอดภัยมีมาตรฐาน ปราศจากสารตกค้างอีกด้วย