เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) นาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงานการจัดระบบป้องกันความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล หรือ 2P Safety ณ โรงพยาบาลชลบุรี จ.ชลบุรี โดยนายแพทย์ชุติเดช ตาบ องครักษ์ ผู้อานวยการโรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า โรงพยาบาลชลบุรี เป็นโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ตั้งแต่ ปี 2550 จนถึงปัจจุบันได้รับการต่ออายุการรับรอง (Re-Accreditation) เป็นครั้งที่ 3 จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และยังเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Joint Commission International (JCI) ซึ่งการรับรองโรงพยาบาลจะต้องมีการให้บริการที่มุ่งเน้นคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการเป็นสาคัญ แพทย์หญิงปิยะวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อานวยการ สรพ. ด้านแพทย์หญิงปิยะวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อานวยการ สรพ. กล่าวว่า การจัดการเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขนับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สาคัญของ สรพ. เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และที่สาคัญบุคลากรสาธารณสุขมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสาคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางสาธารณสุขขึ้น โดยสรพ.มีบทบาทในการดาเนินการร่วมกับ 15 องค์กรหลัก ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ เพื่อจะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวร่วมกัน รวมถึงมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และมีการวางทิศทางและระยะเวลาในการขับเคลื่อน มีการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety: 2P Safety) ที่ให้ความสาคัญ มุ่งเน้นในการวางระบบเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และมีการกาหนดเป็นเป้าหมายความปลอดภัย สื่อสารในโรงพยาบาล ควบคู่กับการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ด้วยคาที่หลายคนรู้จักคือ SIMPLE ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย นายแพทย์ ภานุวงส์ แสนสาราญใจ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน นายแพทย์ ภานุวงส์ แสนสาราญใจ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกผู้ป่วยทาร้ายในหลาย ๆ โรงพยาบาล จนบาดเจ็บและเสียชีวิต ทาให้ทางกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและทางผู้บริหารหาแนวทางป้องกันในการไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น ภายใต้หลักการ 2P Safety โดย P ตัวแรกคือ Patient หมายถึง ผู้ป่วย ทาอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา และปลอดภัย ในขณะเดียวกัย P ตัวที่สอง คือ Personal บุคลากรในโรงพยาบาลเองก็รู้สึกปลอดภัยในขณะทาการรักษา และปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เริ่มจากให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทาประตูเซ็นเซอร์และไม้กั้นอัตโนมัติ และมีเครื่องสแกนโลหะและอาวุธที่หน้าห้องฉุกเฉินขึ้น นายแพทย์คุณากร วงศ์ทิมารัตน์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี นายแพทย์คุณากร วงศ์ทิมารัตน์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า ห้องฉุกเฉิน คือส่วนที่มีโอกาศเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์มากที่สุด เนื่องจากต้องรองรับทั้งผู้ป่วยวิกฤติในเวลาปกติและผู้ป่วยนอกหลังเวลาราชการ จึงมักเกิดภาวะห้องฉุกเฉินล้นเกิน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางานของบุคลากร และสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ป่วยที่รอรับรักษานานจนเกิดเหตุกระทบกระทั่งกัน แนวทางแก้ไขที่โรงพยาบาลนามาใช้ เริ่มจากการจัดทาระบบคัดแยกผู้ป่วย โดยอ้างอิง ตาม ESI (Emergency Severity Index) และปรับเป็น CSI (Chonburi Severity Index) โดยจะใช้แนวทางเดียวกัน ทั้งโรงพยาบาล แบ่งผู้ป่วย ตามระดับความเร่งด่วนเป็น 5 กลุ่ม 1.ฉุกเฉินวิกฤติ 2. ฉุกเฉินเร่งด่วน 3. ฉุกเฉินมาก 4.ฉุกเฉินไม่เร่งด่วน 5.ไม่ฉุกเฉิน และนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลได้เปิดห้องตรวจโรคทั่วไปแยกออกจากบริการห้องฉุกเฉิน ถึง เที่ยงคืนทุกวัน เนื่องจากบริบทของคนชลบุรี ทางานโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งเลิกงานค่าจึงจะสามารถมาพบแพทย์ได้ และเพื่อให้ผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินเป็นกลุ่มที่ ฉุกเฉินจริงและทีมแพทย์และบุคลากรจะได้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ นายแพทย์คุณากรกล่าวต่อว่า โรงพยาบาลชลบุรียังได้กาหนด Patient Safety Goal เป็นนโยบายความปลอดภัยของโรงพยาบาล โดยอ้างอิงจาก SIMPLE ของ สรพ. ซึ่งบุคลากรใหม่ทุกคนจะต้องได้รับการปฐมนิเทศเรื่องดังกล่าว โรงพยาบาลการกาหนดนโยบายความปลอดภัยในด้านต่างๆ รวมถึงติดตามการปฏิบัติของบุคลากร ตลอดจนการแก้ไขจากรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งห้องฉุกเฉินมีการนา SIMPLE มาใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น S มาจาก safe surgery เรามีการทา Sticker Time out นอกห้องผ่าตัดสาหรับหัตถการที่ invasive เช่นการใส่ท่อระบายลมในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นต้น ขณะที่ห้องฉุกเฉิน จะใช้หลัก E - emergency response คือมีระบบ Fast track ในกลุ่มโรคสาคัญ ที่เป็นปัญหาของจังหวัดและประเทศ ได้แก่ STEMI Stroke Head injury Sepsis และ Trauma โดยมีการร่วมดาเนินการเป็นเครือข่ายทั้งจังหวัดร่วมกับสหสาขาในโรงพยาบาลด้วย “ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนถูกคัดแยก ไปยังห้องตรวจโรคทั่วไป และห้องตรวจนอกเวลา ทาให้ห้องฉุกเฉินสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มฉุกเฉินได้ดีเต็มประสิทธิภาพ สามารถให้การดูแผลผู้ป่วยกลุ่มFast track ซึ่งต้องแข่งกับเวลาที่มีจากัด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงที” นายแพทย์คุณากรกล่าว ด้านแพทย์หญิงปิยะวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อานวยการ สรพ. กล่าวเสริมว่า วันที่ 17 กันยายนนี้ เป็นวัน Global Day of Patient Safety และเป็นวันที่สาคัญของไทยด้วยคือวัน Thailand Patient and Personnel Safety จึงเป็นวันบุคลากรทางสาธารณสุข คนไข้ญาติ และประชาชนทั่วไป ให้ความสาคัญกับเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางสาธารณสุข เพราะทุกคนมีส่วนร่วม โดยในวันงานจึงมีการประกาศยุทธศาสตร์ 2P Safety และ National Patient and Personnel Safety Goals รวมถึงการนาเสนอและเชิญชวนโรงพยาบาลเข้าร่วม National Reporting and Learning System ซึ่งจะเป็นระบบแห่งการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจกับคนไข้และประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และที่สาคัญบุคลาการสาธารณสุขมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานด้วย ทั้งนี้สรพ. จะแถลงรายละเอียดของยุทธศาสตร์ในวันที่ 17 กันยายนที่กาลังจะถึงนี้ ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี เวลา 09.00-16.30น.