วันที่ 26 มีนาคม 2564 นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษเปิดเผยว่าเมื่อวานนี้ช่วงเช้าได้ไปเปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2564 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) รัฐบาลได้มีแนวทางให้เล่นน้ำสงกรานต์ ให้ทำบุญสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ แต่ให้อยู่ในกรอบกติกาที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด-19 และลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงบ่ายได้นำคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่ ไป กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณ บ้านพิงพวย หมู่ที่ 12 ตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ เพื่อติดตามการขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ ผ้าทอมือ “ธานีผ้าศรี...แส่ว” โดยมี นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัด นางศิริพรรณ อันชื่น อุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ น.ส.วาสนา อยู่ดี พาณิชย์จังหวัด นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัด ดร กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ดร ชูเกียรติ พงศ์พนาพิพัฒน์ ผู้แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผู้แทนนายอำเภอศรีรัตนะ ทีมงานเครือข่ายธุรกิจผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC: Young Entrepreneur Chamber of Commerce) ผู้จัดการบริษัทประชารัฐ น.ส.ณภัค จักรางกูรวโรดม ผู้แทนสำนักพัฒนาฝีมือแรงงาน นางธนพร ฯลฯ เข้าร่วมลงพื้นที่จำนวนมาก นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษกล่าวว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ประชาชน มีอาชีพมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จังหวัดศรีสะเกษได้ประกาศวาระจังหวัดศรีสะเกษ วาระ 1+10 การขับเคลื่อนผ้าอัตลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ “ธานีผ้าศรี...แส่ว”คือวาระสำคัญ เพื่อบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่ายสู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมและยกระดับผ้าทอจังหวัดศรีสะเกษให้มีมูลค่าเพิ่ม มีการพัฒนารูปแบบลวดลายที่ทันสมัย ตรงความต้องการของตลาด เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น การนำคณะลงพื้นที่กลุ่มนี้เป็นกลุ่มทอผ้าคุณภาพ แหล่งกำเนิดผ้าทอ ศรีลาวา ดินภูเขาไฟ มีเยาวชนเป็นศิลปินนักดนตรีคอยขับกล่อมผู้เดินทางเข้ามาชม ถือเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีอนาคตในมิติของผ้าทออัตลักษณ์ของศรีสะเกษ จะสนับสนุนให้มีการทำกิจกรรม DIY ที่นี่ เพื่อเป็นการต่อยอดการเรียนรู้แพรพรรณที่งดงาม มีการเก็บรักษาผ้าโบราณกว่าสองร้อยปี การทอผ้าไม่ได้ใช้กระสวย แต่ใช้เชอร์ตรอน ดร กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดให้คณะทำงานลงพื้นที่ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณ ถือว่าได้ประโยชน์มาก เพราะคณะไม่เคยทราบมาก่อนว่าจังหวัดศรีสะเกษมีกลุ่มทอผ้าของเด็กรุ่นใหม่ ที่นำโดย นายพนมกร สังข์แก้ว และเพื่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าอัตลักษณ์ศรีสะเกษ และสร้างเสน่ห์ของกลุ่มในกิจกรรมต่างๆ มีศิลปินจากนัดดนตรีพื้นบ้านสร้างเสน่ห์ของกลุ่มในกิจกรรมต่างๆ ย้อมผ้าสีธรรมชาติ ศรีลาวา โดยใช้ดินภูเขาไฟมาย้อม การแส่วผ้า ขอชื่นชมผู้ว่าฯที่มี กุศโลบายช่วยทำการตลาดทางอ้อมให้ชุมชน เพราะคณะทำงานเห็นแล้วต่างอุดหนุน หอบหิ้วผ้าที่ชุมชนที่นำมาจัดแสดงกลับบ้านไปจำนวนหลายหมื่น ทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะไปประชาสัมพันธ์กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณที่พิงพวยให้เป็นที่รู้จักโดยจะเผยแพร่ให้อยู่ในเส้นทางสายไหม เชื่อมโยงกลุ่มทอผ้าที่จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอุบลฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าถึงกลุ่มมากขึ้นยอมรับว่าที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านผ้าโบราณที่น่าสนใจมาก นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดกล่าวว่าการการพัฒนาขับเคลื่อนด้านตัวผลิตภัณฑ์ การตลาด การออกแบบดีไซน์ ให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยให้มีรูปแบบสีสันที่ทันสมัยสามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ ที่มั่นคง ยังยืน สามารถพึ่งตนเองได้ ที่ผ่านมาได้พัฒนารูปแบบ ส่งเสริม การยกระดับผ้าอัตลักษณ์ มีลวดลายทันสมัย เพิ่มมูลค่ามากขึ้น และได้มอบหมายให้คณะทำงานของพัฒนาการ ชุมชน 22อำเภอให้สานต่อเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด สินค้าภูมิปัญญาของชาวจังหวัดศรีสะเกษต่อไป