เมื่อวันที่ 26 มี.ค.นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์อกล่าวถึงกรณีร่าง พรบ. ว่าด้วยการออกเสีบงประชามติที่อยู่ในระหว่างการปรับแก้เนื้อหาของกรรมาธิการฯว่า ทุกฝ่ายต้องรับฟังซึ่งกันและกัน มุมมองของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยก็มีเหตุมีผล 5 เงื่อนไข ที่ได้กำหนดขึ้นในมาตรา 9 ต่อการทําประชามติ ได้แก่ 1. การออกเสียงที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่มีบทบัญญัติกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2. การออกเสียงกรณีเมื่อ ครม. เห็นว่ามีเหตุอันสมควร 3. การออกเสียงตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องมีการออกเสียง 4. การออกเสียงในกรณีที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียงและได้ชี้แจงเรื่องให้ ครม. ดําเนินการ และ 5.การออกเสียงกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบการออกเสียง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาไปแล้วในมาตรา 9 ส่วนตัวเชื่อว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะยังมีอีก 4 มาตรา ที่ต้องปรับปรุงมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 14 และมาตรา 15 ให้สอดคล้องต้องกัน รัฐสภาสั่งฝ่ายบริหารไม่ได้ แม้จะถูกหลักการแต่ฝ่ายบริหารเห็นควรกับเหตุผลที่จะทำประชามติในบางเรื่องได้ ประชาชนใช้สิทธิเข้าชื่อเพื่อขอให้ถามความเห็นประชาชนในบางเรื่อง ปชช. เป็นเจ้าของอำนาจ ขอรัฐบาลเพื่อให้พิจารณาจัดทำประชามติคงจะไม่มีอะไรร้ายแรงถึงขนาดเกิดความเสียหายใหญ่โต มีแต่เกิดประโยชน์ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ 2 มาตราก็จริงอยู่คือ มาตรา 166 และ มาตรา 256(8) แต่ มาตรา 166 ก็ระบุไว้ชัดว่า ครม. ขอให้มีการออกเสียงประชามติได้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เปิดกว้างไว้ให้ออกกฎหมายกำหนดรายละเอียดได้ การกำหนดให้รัฐสภาและประชาชน ขอ ครม. ให้ทำประชามติจึงไม่ใช่การก้าวก่ายแทรกแซง เพราะท้ายที่สุดก็อยู่ที่ ครม. เห็นสมควร "ผมเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพของสำนักงานกฤษฎีกา และเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภาจะได้พิจารณากันอย่างรอบด้านและยึดหลักการรับฟังเสียงของประชาชนเป็นหลักการสำคัญที่สุด พรรคจะได้มีการเรียกประชุม ส.ส. ก่อนการประชุมร่วมรัฐสภาต่อไป ร่างกฎหมายประชามติไม่อยากให้นำมาเป็นประเด็นผูกโยงเป็นเรื่องการเมือง แต่ถ้ามีใครตั้งใจดึงรั้ง หรือไม่ให้ผ่าน จะด้วยเหตุผลใดก็ดี ผู้นั้นก็ต้องรับผิดชอบ"นายราเมศ กล่าว