เมื่อวันที่ 25 มี.ค.64 พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป.พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน รอง ผบก.ป. พ.ต.อ.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ รอง ผบก.ป. พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รอง ผบก.ป. พ.ต.อ. บุญลือ ผดุงถิ่น ผกก.2 บก.ป. พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.3 บก.ป. พ.ต.ต.หญิง กัญจิรา นรสาร สว.ปฏิบัติราชการ กก.3 บก.ป. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันตรวจค้นอาคารบริเวณ หมู่ 13 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตามหมายค้นของศาลธัญบุรีที่ 148/2564 ลงวันที่ 24 มี.ค.64
ผลการตรวจค้น ได้ทำการตรวจยึด 1. SKYMED Nitrile Powder Free xamination Gloves size M จำนวน 89 ลัง*10 กล่อง*100 ชิ้น =89,000 ชิ้น 2. SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size L จำนวน 843 ลัง*10 กล่อง*100 ชิ้น843,000 ชิ้น 3. SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size XL จำนวน 506 ลัง*10 กล่อง*100 ชิ้น 506,000 ชิ้น 4. ศรีตรังโกลฟส์ Examination Gloves size S จำนวน 2 ลัง*10 กล่อง*100 ชิ้น 2,000 ชิ้น 5. ถุงมือยางสีฟ้าบรรจุในถุงกระสอบ คละไซร์ จำนวน 607 กระสอบ*30,000 ชิ้น 18,210,000 ชิ้น 6. กล่องบรรจุภัณฑ์ SKYMED จำนวน 104ห่อ*200 ชิ้น 20,800 ชิ้น 7. ลังลูกฟูก SKYMED จำนวน 308 มัด*20 ชิ้น 6,160 ชิ้น 8.กล่องบรรจุภัณฑ์ศรีตรังโกลฟส์ จำนวน 159 ห่อ*300 ชิ้น 47,700 ชิ้น 9.ลังลูกฟูก ศรีตรังโกลฟส์ จำนวน 168 มัด*20 ชิ้น 3,360 ชิ้น รวมถุงมือยางทางการแพทย์ 19,650,000 ชิ้น ลูกจ้างคนงาน 19 คน เป็นชาย 9 คน หญิง 10 คน
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นช่องทางการกระทำความผิดที่ขาดคุณธรรมและขาดความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนตวม โดยได้ฉวยโอกาสนำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนผู้ใช้ได้รับอันตราย จากกรณีดังกล่าวพบมีผู้เสียหายจำนวนหลายรายได้เข้ามาร้องเรียนที่กองบังคับการปราบปรามว่าได้มีกลุ่มมิจฉาชีพ หลอกลวงอ้างว่าสามารถนำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์มาจำหน่ายให้ได้เป็นจำนวนมาก โดยมีผู้เสียหายหลงเชื่อวางเงินมัดจำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ ในจำนวนเงินที่สูง รายละ 40- 50 ล้านบาท แต่กลับไม่ได้รับสินค้าและบางรายได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อนำส่งออกไปต่างประเทศ สินค้ายังถูกตีคืนกลับมายังประเทศไทย ทำให้เกิดเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและชื่อเสียงของประเทศ
เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการได้ปราบปราม จึงได้ทำการสืบสวนติดตามขบวนการหลอกลวงขายสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จนสืบทราบว่าบริเวณสถานที่เกิดเหตุมีการผลิตและบรรจุสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างใด ซึ่งจากการตรวจสอบพฤติการณ์และรายละเอียดสิ่งของที่ตรวจพบภายในบริเวณที่เกิดเหตุพร้อมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดดังนี้
1. ฐานไม่จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ มาตรา 15 ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ โดยไม่จดทะเบียนสถานประกอบการ มีความผิดตามมาตรา 85 ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ฐานผลิตเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ผิดมาตรา 46 (1) มีความผิดตามมาตรา 105 ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 46 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 3. ฐานขายเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ผิดมาตรา 46 (1) มีความผิดตามมาตรา 105 ผู้ใดขายเครื่องมือแพทย์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 46 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ