เมื่อเวลา 17.00น.วันที่ 24 มีนาคม2564 พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป.,พ.ต.อ. มนตรี เทศขัน รอง ผบก.ป.,พ.ต.อ.พุฒิเดช บุญกระพือ รอง ผบก.ป.พ.ต.อ. บุญลือ ผดุงถิ่น ผกก.2 บก.ป.,พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.3 บก.ป.เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม เจ้าหน้าที่อส. พร้อมด้วยหมายค้น ศาลธัญบุรี เลขที่ 148 /2564 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2564 เข้าทำการตรวจค้นอาคารเลขที่ เลขที่ 88/7 หมู่ 13 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา ปทุมธานี 12120 พร้อมจับกุมคนงาน จำนวน 19 คน ชาย 9 คน หญิง 10 คน และทำการตรวจยึด1.ถุงมือยี่ห้อ SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size M จำนวน 89ลัง89,000ชิ้น2. ถุงมือยี่ห้อSKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size L จำนวน 843ลัง843,000ชิ้น3.ถุงมือยี่ห้อ SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size XL จำนวน 506 ลัง506,000ชิ้น4. ถุงมือศรีตรังโกลฟส์ Examination Gloves size S จำนวน 2 ลัง2,000ชิ้น5. ถุงมือยางสีฟ้าบรรจุในถุงกระสอบ คละไซร์ จำนวน 607 กระสอบ18,210,000 ชิ้น6.กล่องบรรจุภัณฑ์ SKYMED จำนวน 104ห่อ20,800 ชิ้น7.ลังลูกฟูก SKYMED จำนวน 308 มัด*20ชิ้น=6,160 ชิ้น8.กล่องบรรจุภัณฑ์ศรีตรังโกลฟส์ จำนวน 159 ห่อ*300ชิ้น=47,700 ชิ้น9.ลังลูกฟูก ศรีตรังโกลฟส์ จำนวน 168มัด*20ชิ้น=3,360 ชิ้น
โดยกล่าวหาว่า 1. ฐานไม่จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ ผิดมาตรา 15 โทษมาตรา 85 ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์โดยไม่จดทะเบียนสถานประกอบการ ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ2. ฐานผลิตเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ผิดมาตรา 46 (1) โทษมาตรา 105 ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 46(1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ3. ฐานขายเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ผิดมาตรา 46 (1) โทษมาตรา 105 ผู้ใดขายเครื่องมือแพทย์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 46(1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป เปิดเผยว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเป็นช่องของผู้ประกอบการที่ขาดคุณธรรมฉวยโอกาส นำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนผู้ใช้ได้รับอันตราย ปัจจุบันมีผู้เสียหายจำนวนหลายราย ได้เข้ามาร้องเรียนที่ กองบังคับการปราบปราม ว่าได้มีกลุ่มมิจฉาชีพ หลอกลวงอ้างว่าสามารถนำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์มาจำหน่ายให้ได้เป็นจำนวนมาก โดยมีผู้เสียหาย หลงเชื่อได้มีการวางเงินมัดจำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ เป็นจำนวนเงินที่สูง รายละ 40- 50 ล้านบาท แต่กลับไม่ได้รับสินค้าและบางรายได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อนำส่งออกไปต่างประเทศ ถูกตีคืนสินค้ากลับมายังประเทศไทย ทำให้เกิดเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทางกองบังคับการได้ปราบปรามได้ทำการสืบสวนขบวนการหลอกลวงขายสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนสืบทราบว่าสถานที่ดังกล่าวได้มีการผลิตและบรรจุ สินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างใด