วันที่ 23 มีนาคม 2564 ที่ อบต ปรือใหญ่ ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ดร. กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสากรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษได้เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมการขับเคลื่อนนโยบายแห่งรัฐของ 5 เสือแรงงาน โดยนายวิชัย เลิศภัทรนันท์ แรงงานจังหวัดศรีสะเกษได้มอบหมายให้นางวรัญรัศมิ์ ธนันท์จิระกุลเป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย จ่าสิบเอกอาณุภาพ ศิลประเสริฐ จัดหางานจังหวัด นางสุพิน ศรีเลิศ ผู้แทน ผอ.สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานศรีสะเกษ นางจุฑามาศ แสงสุข ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางสายันต์ มากนวล ผู้แทนประกันสังคมจังหวัด นำเกษตรอำเภอ อาสาสมัครแรงงานระดับตำบลปรือใหญ่ ผู้นำชุมชนและผู้เข้าร่วมการอบรม ร่วมกิจกรรม นางวรัญรัศมิ์ ธนันท์จิระกุล ผู้แทนแรงงานจังหวัด กล่าวว่า การจัดอบรมในวันนี้เป็นรุ่นที่ 8 ซึ่งหน่วยงาน 5 เสือแรงงานได้จัดเวทีในการขับเคลื่อน นโยบายแห่งรัฐเพื่อให้กลุ่มองค์กร แรงงานนอกระบบ แรงงานอิสระ แรงงานทุกกลุ่มให้มีความรู้ความเข้าใจภารกิจของกระทรวงแรงงาน ให้โอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้การดำเนินงาน 3 โอกาส คือการเริ่มต้น การพัฒนาและการคุ้มครอง ตลอดจนการส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายแบบบูรณาการ การทำงานระหว่างภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน เพื่อให้ภาคเกษตรได้เตรียมความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งปัจจุบันภาคการเกษตรได้มีการนำเทคโนโลยีทางเกษตรใหม่ๆมาใช้ในการพัฒนาและยกระดับการเกษตรเข้าสู่การเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวศรีสะเกษกล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันแรกที่รัฐบาลจะทยอยโอนเงินล็อตแรกให้ 1,000 บาท เพื่อนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้ากับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการของรัฐ ซึ่งรัฐบาล ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลงทะเบียน www.ม33เรารักกัน.com และผ่านเกณฑ์จนได้เข้ายืนยันตัวตนในแอปฯ เป๋าตัง ระหว่างวันที่ 15-21 มี.ค. 64 เพื่อขอรับสิทธิ 4,000 บาท อยากให้ผู้ที่มาอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงาน รับรู้ภารกิจการขับเคลื่อนนโยบายแห่งรัฐ ที่แรงงานจังหวัดได้จัดเป็นรุ่นที่ 8/2564 เพราะนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับแรงงานทุกระบบ อย่างเท่าเทียมกัน ต้องการให้คนมีงานทำ มีรายได้ มีทักษะฝีมือแรงงานทีได้รับมาตรฐาน ซึ่งนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็ได้เพิ่มขีดความสามารถของแรงงานไทยทุกกลุ่มให้มีสมรรถนะสูงตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างหลักประกันทางสังคม คุ้มครองแรงงานได้อย่างทั่วถึง เพิ่มสิทธิประโยชน์แรงงานในทุกกรณี ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีหลักการสำคัญ คือ การเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจในภารกิจของ 5 เสือแรงงาน ว่าสำคัญอย่างไร ภาคเกษตรกรมีแนวทางการพัฒนาเกษตรกรเพื่อเป็น Smart Farmer อย่างไร การบริโภคสินค้าภาคการเกษตรต้องมีความปลอดภัย จึงขอให้ผู้เข้าอบรมร่วมเป็นเครือข่ายของกระทรวงแรงงานในการขยายความเข้าใจให้ชุมชนได้รับประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายแห่งรัฐร่วมกัน ได้รับสิทธิการคุ้มครองและมีหลักประกันในชีวิต