สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม เดินหน้าดึงพลังเยาวชน สร้างสื่อสร้างสรรค์สู่สังคม ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง วันที่ 19 มีนาคม 2564 ที่ห้องกรรณิการ์ โรงแรมพิมานการ์เด้น บูติคโฮเต็ล อ.เมือง จ.ขอนแก่น เครือข่ายความร่วมมือการปฏิรูปการเรียนรู้ให้สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน เครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป และศูนย์ศึกษาและวิจัยสื่อสารมวลชนอาเซียนเครือข่ายคณาจารย์นิเทศศาสตร์ร่วมกับนักพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลงการบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ปีที่ 5 ภายใต้โครงการ“สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ : หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะในระยะ อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ เป็นหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระรวมทั้งสิ้น 7 รายวิชา อาทิ 1.ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2.การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3.รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล 4.กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร 5.การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำแหนที่ชุมชน 6.การสร้างสรรค์ และการเล่าเรื่อง และ 7.การออกแบบและผลิตสื่อ "ซึ่งหลักสูตรที่ว่านี้มีการผลิตออกมาเพื่อเป็นคู่มือ เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ปี พ.ศ.2563-2564 ด้วย โดยมีการอบรมให้กับนักสื่อสารสร้างสรรค์ทั่วทั้งประเทศ และเพื่อเป็นการทดลองใช้หลักสูตรทางโครงการ“สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงได้จัดอบรมให้กับนักสื่อสารสร้างสรรค์ที่เป็นภาคีเครือข่ายในการทำงานก่อนโดย มีการทดลองในพื้นที่ 4 ภูมิภาคดังนี้ ภาคเหนือ ที่จังหวัดพะเยา ,ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา ,ภาคกลาง ที่กรุงเทพมหานคร และภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นกระบวนการการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรทั้ง 7 รายวิชานี้ เป็นเสมือนการอบรมในการให้ความรู้ พร้อมทั้งเป็นการฝึกปฏิบัติความชำนาญให้เกิดขึ้นต่อกลุ่มเยาวชนแกนนำในชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่น โดยประเด็นสุขภาวะในการผลิตสื่อสร้างสรรค์มีทั้งหมด 5 ประเด็นให้เลือกทำ คือ ประเด็นที่ 1 รองรับสังคมสูงวัย, ประเด็นที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ, ประเด็นที่ 3 ทักษะรู้เท่าทันสื่อ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ประเด็นที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และประเด็นที่ 5 อัตลักษณ์-ความดี-คนดีของสังคม" นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว ด้าน พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ ผู้รับผิดชอบโครงการภาคอีสาน กล่าวว่า สำหรับภาคอีสานนั้น มีการนำร่องใน 2 จังหวัดก่อน คือ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งในการอบรมมีนักเรียนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 (สมาน สุเมโธ) ,นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ,ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม 55 คน ซึ่งจากการอบรมระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม คาดหวังว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจากทั้ง 2 สถาบันนี้ จะสามารถผลิตและสร้างสรรค์สื่อในประเด็นต่างๆ ออกมานำเสนอ ซึ่งจะสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในของชุมชน และของดีในชุมชน รับรองว่าฝีมือไม่แพ้มืออาชีพแน่นอน