บทความพิเศษ / ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก (ท้องถิ่น) มนุษย์มีตัณหาความโลภไม่สิ้นสุดจึงก่อให้เกิดเทคโนการพัฒนาขึ้น ทำไมคนฝรั่งคิดไปดวงจันทร์ ไปดาวอังคาร ไปนอกโลก ก็เพราะเป็นความฝันใฝ่ของมนุษย์ เพื่อสนองตัณหาความไม่รู้จักพอ มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ความโลภของมนุษย์มีมาก ที่ต้องการสิทธิอิสรเสรี ด้วยเหตุนี้ทำให้มนุษย์ต้องเกิดการแข่งขันกันพัฒนาไปเรื่อยๆ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี space x (ขนส่งทางอวกาศ) 5G 6G Quantum พัฒนา internet ในการสนองความอยากของมนุษย์ เกิดแนวคิด รถไฟความเร็วสูง คลองไทย สิทธิบัตรต่างๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย เป็นผลพลอยได้ เรื่องแนวคิดกรรมสิทธิ์ส่วนตัว (Ownership) อาจหดหายไป กลายเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนรวม ส่วนร่วมที่เป็นของมวลมนุษยชาติร่วมกัน หลังจากที่มนุษย์ห่างเหินจากยุคสงคราม ที่ต้องรบราฆ่าฟันกัน แย่งชิงทรัพยากรกัน แต่กลับเกิดปัญหาตามมามากมาย เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และเกิดการล้างผลาญโดยธรรมชาติ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ขึ้นที่มิใช่จากน้ำมือของมนุษย์ในการฆ่าฟัน ทำลายล้างวินาศกรรม ก่อสงครามฯ หลายอย่างเกิดเพราะพฤติกรรมที่แผลงๆ แปลกๆ ของมนุษย์ ที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสุรุ่ยสุร่าย เช่น น้ำท่วมอเมริกาใต้ เผาป่าอินโดนิเซีย สัตว์ป่าตาย ควันพิษ โลกร้อน เกิดปรากฏการณ์ เอลนีโญ และลานีญา ออสเตรเลียไฟไหม้พืชน้ำมัน (ยูคาลิปตัส) ที่เอาไม่อยู่ สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด เกิดโรคเอดส์ โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู (Swine Flu) โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (SARS) โรคโควิด (Covid-19) ซึ่งมีการแพระระบาดเป็นวงกว้าง และรักษาไม่ได้ การอาหารก็มีการใช้สารเร่งอาหารสัตว์ให้โตไว พืชใช้สารเคมี มีการปลูกพืชรุกป่า เผาป่า ทำลายป่า เมื่อศึกภายในประเทศไม่มี ก็ต้องหันไปอย่างอื่น เรื่องอื่น ที่อื่น หันไปพัฒนาเทคโนต่างๆ เทคโนอวกาศ เทคโนให้คนมีอายุยืน ในวัฏจักรเกิดแก่เจ็บตายของมนุษย์ จึงต่างต้องหาคีย์เวิร์ดเพื่อแก้ปัญหา ตามหลักพุทธศาสนาที่สอนให้มนุษย์ต้องไม่เบียดเบียนกัน เดินสายกลาง พอเพียง อย่าฮึกเหิม ส่วนคนไทยมักคิดอยู่ในกะลา คิดช้า ไม่คิดนอกกรอบ ดีที่ยังคิดไปดวงจันทร์แก้เกี้ยวได้ การพัฒนายานอวกาศ สื่อสารดาวเทียม ก็จะได้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การสื่อสารดาวเทียม การสื่อสารทางทรัพยากรธรรมชาติ GIS GISDA (เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) เป็นต้น โลกอนาคตคงไม่หยุดนิ่ง เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 มีนิยายเพ้อฝันของนักประพันธ์ตะวันตกที่กล่าวถึงโลกอนาคต (Brave New World) ที่ไม่มีพ่อมีแม่ ไม่มีเซ็กซ์ มีสิ่งบันเทิงที่โง่เง่า ปราศจากภาษา หรือมีนิยายกล่าวล้อเลียนถึงสัตว์ในฟาร์มของมนุษย์ (Animal Farm) โดยเนื้อแท้แล้วก็คือการคิดเผื่อเพื่อการสรรค์สร้างสังคมใหม่ สังคมนิยมใหม่ นำไปสู่การปฏิวัติและพัฒนาที่ดีกว่า แต่ทุกอย่างกลับเกิดขึ้นภายใต้ การคอร์รัปชัน กดขี่ เบี่ยงประเด็น ซึ่งเห็นได้ในสังคมโลกปัจจุบัน ต้องฝ่าวิกฤติในความเห็นต่าง ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องนี้มาตลอดยาวนาน ที่เห็นชัดก็ นับแต่ การชุมนุมวุ่นวายของกลุ่มพันธมิตร กลุ่มเสื้อแดง (red shirt) กลุ่ม กปปส. นกหวีด กลุ่มเสื้อเหลือง มาถึงปัจจุบันยิ่งหนัก มีพวกไอโอ พวกเสี้ยมว่ามีพวกชังชาติ พวกมินเนียน ไอโอ ตัวป่วน คนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า ท้าทายคนรุ่นเก่า หัวเก่า กลุ่มอนุรักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นวิกฤติ (Crisis) ความเห็นต่าง การมีความเห็นขัดแย้ง (Conflict) เป็นปฏิปักษ์กันอย่างชัดเจนทั้งสิ้น หลักนิติรัฐนิติธรรม (The Rule of Law) ในการปกครองบ้านเมืองหายไป มีเนติบริกร จอมแถ องครักษ์พิทักษ์ สมุนรับใช้ ฯ เต็มไปหมดในฝ่ายปกครองที่ถือเป็นฝ่ายอำนาจนิยม (Authoritarianism) ล้วนเป็นเรื่อง เพราะต่างฝ่ายต่างมีกรอบความคิดกันคนละอย่าง ถือกันคนละขั้ว สุดโต่ง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เป็นวิกฤติปัญหาเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน บ้างก็ว่าเพราะ ความแตกต่างขัดแย้งในแนวคิดของคนรุ่นต่างๆ ที่เรียกว่า Generation Conflict คือ เป็น Generation Gap หรือ Digital Gap เพราะ คนรุ่นเจน Z จะถนัด Digital คนรุ่นเจน Y จะถนัด Internet คนรุ่นเจน X จะถนัดประสบการณ์การปฏิบัติ เป็นต้น แต่ปรากฏว่า การบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจของคนเจน Baby Boomer ที่มีอายุมาก ความคิดต่างตอนนี้ คือ การยึดโยงผลประโยชน์ ที่ถือเอาได้ คือแบ่งแยกได้ 2 กลุ่ม (1) กลุ่มที่ได้ประโยชน์อยู่แล้ว หรือกำลังจะได้เรื่อยๆ เรียกว่า “กลุ่มอนุรักษ์นิยม” (Conservative) กลุ่มนี้สนับสนุนโดยชนชั้นนำ (elite) ทหารที่ครองอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนานในตลอด 88 ปีแห่งประชาธิปไตย และ (2) กลุ่มที่มองดูแล้ว ว่าไม่ได้ประโยชน์ หรือได้น้อย กว่าที่ควรจะได้ เรียกว่า กลุ่มปฏิรูป, กลุ่มชอบเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่า กลุ่มก้าวหน้า (Progressive Movement) ที่อาจเรียกว่า “พวกฝ่ายประชาธิปไตย” (Liberal) ก็ได้ มันก็มีอยู่ 2 กลุ่มเท่านี้ ต่อให้ใครจะคิดจะหลงไปอย่างไรก็ตาม ทบทวนไปมา ก็อยู่ในวังวนของคน 2 กลุ่มนี้เท่านั้น กลุ่มอนุรักษ์นิยม มักสืบทอดอำนาจ สร้างชนชั้น เจ้ายศเจ้าอย่าง ศักดินา ไปจนถึงเผด็จการ นิยมการผูกขาด ส่วนกลุ่มก้าวหน้า จะนำทุกอย่าง มาชั่งน้ำหนัก สร้างความสมดุลแก่สังคมใหม่ ซึ่งต้องยอมรับความจริงโลกสมัยใหม่ว่า มันหนีไม่พ้น การเปลี่ยนแปลง มีการลอกเลียนแบบแผนต่อๆ กันจากสังคมรอบโลก ทำให้โลกก้าวไปสู่ความเป็น “สังคมหนึ่งเดียว” (New World Orders) บุคคลที่หัวก้าวไกล มักไม่ยึดติดในระบบชนชั้น ในสังคมแบบเดิมๆ ชอบปฏิรูป ปฏิวัติ จนอาจเพลี่ยงพล้ำเสียรู้ให้แก่กลุ่มอำนาจนิยม กลุ่มอนุรักษ์เดิมsหรือพวก Opportunist (พวกคนฉวยโอกาส) เรียกว่าคนรุ่นใหม่พลอย “เสียรังวัด” หัวเสียไปเลย ปกตินั้นคน “กลุ่มอำนาจนิยมเดิม” พยายามอย่างเต็มพิกัดในการรักษาสถานะตนเองเอาไว้ (Status quo) ให้มั่น ไม่ยอมคลาย คืนอำนาจให้ใครโดยง่าย สุดห้ามใจหลากหลายความคิดต่าง โลกสมัยใหม่พบว่ามีคนที่ประกาศตนว่า “ไม่ถือศาสนา” ใด หรือจะเรียกว่า “ไม่มีศาสนา” ก็อาจได้ แต่มิใช่ความหมายโดยตรง งานวิจัยของ ม. Chicago พบว่า การไม่นับถือศาสนา (Atheists) ไม่ได้ทำให้คนมีศีลธรรม (Morality) สูงขึ้น ซึ่งมีคนกลุ่มเดิมอยู่แล้วคือ พวกอนุรักษนิยม (Conservative or Authoritarianism) กับพวกหัวใหม่หัวก้าวหน้า (Progressive/Liberal) เพราะธรรมชาติสร้างมา จะมีสองสิ่งที่ตรงข้ามกันเสมอ มีขาว มีดำ มีดี มีชั่ว แม้จะมีฝ่ายที่อ้างว่าเป็นกลาง แต่โดยเนื้อแท้แล้ว จะเป็นฝ่ายที่ฉวยโอกาส (Opportunist) มาสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากกว่า อย่าไปสนใจคนที่อ้างว่ามีความเป็นกลาง ให้มาก แม้จะมีกระแสว่า “สังคมต้องปรองดอง” มีความสมานฉันท์สามัคคี สังคมต้องหันมาร่วมเรียนรู้ และเคารพความเห็นต่างต่อกัน ไม่ใช้ความรุนแรง คิดว่า “เห็นต่างไม่ใช่ความผิด แต่ผิดที่คิดใช้ความรุนแรง” ต้องสมานฉันท์รอยร้าวให้ได้ เพื่อให้เกิด reconciliation & compromised & harmony & peace ว่ากันว่าสังคมมีคน 3 พวก คือ คนวิจารณ์ คนป่วน และ คนทำ เท่านั้น ซึ่งคนทำนั้นมีความตั้งใจ แต่คนป่วนกับวิจารณ์กลับไม่ทำ หรือทำน้อยไป หากเขาไม่ละอายแก่ใจก็ช่างมัน คนวิจารณ์อาจเป็นนักวิชาการอาจารย์ คนป่วนก็คือคนทั่วไปที่มีความคิดเห็นต่าง ไม่พอใจ ไม่สร้างสรรค์ ฯลฯ ในท่ามกลางวัฒนธรรมกระแสหลักนั้น เกิดมี “กระแสวัฒนธรรมป๊อป” หรือ วัฒนธรรมสมัยนิยม หรือ วัฒนธรรมร่วมสมัย (popular culture or pop culture) นั้น ผู้คนสมัยใหม่ เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้นจนเกิดภาพลักษณ์ออกมา เช่นที่เป็นความคิด มุมมอง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การเลียนแบบ และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของสังคม ว่ากันว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 นำพาสังคมไปสู่วิกฤตในระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis) จนถึงปัจจุบันที่ยังแก้กันไม่ได้ น่าเป็นห่วงในกระแสความเห็นต่างที่ไม่ยอมกันและกันเป็นจุดต้นธารของปัญหาทั้งปวง ในวิกฤติความเห็นต่างนั้น ต้องปรับตัว “I agree to disagree” คนไทยเราทุกฝ่ายน่าจะหันมาหาจุดพลิกผันเพื่อพลิก “วิกฤติเป็นโอกาส” ดีกว่ามั้ง