ป.ป.ช.ยื่นศาลฎีกาวินิจฉัย “ปารีณา”ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายเเรง รุกที่ป่าสงวน ขอศาลสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่ เเละให้พ้นจาก ตำเเหน่ง ส.ส. พร้อมถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี วันนี้ (16 มี.ค.) ที่ศาลฎีกาสนามหลวง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ กรณีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในจังหวัดราชบุรี อันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม ภายหลังจาก ป.ป.ช.มีมติชี้มูลเรื่องดังกล่าว 9 เสียง เห็นชอบตามความเห็นชอบของคณะกรรมการไต่สวนว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงโดยกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงและกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อ 11 และข้อ 17 ประกอบข้อ 3 และข้อ 27 วรรคสอง ให้เสนอเรื่องนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ (ผู้คัดค้าน), สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงดังกล่าวต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 โดยคำร้องระบุว่า สืบเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ซึ่งมีผลใช้บังคับกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 219 ด้วย โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2561 โดย ป.ป.ช.ผู้ร้องมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ป.ป.ช.มีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 324 (1) ที่กำหนดให้ผู้ร้องมีหน้าที่และอำนาจไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235(1) ได้กำหนดให้ ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ผู้ร้องจึงมีหน้าที่และอำนาจดำเนินคดีกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม อย่างร้ายแรง และเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย โดยมีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการในศาลแทนได้ ซึ่งในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง พ.ศ.2561 ข้อ 6 กำหนดให้นำสำนวนการไต่สวนของผู้ร้องเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.ราชบุรี รวม 4 สมัย โดยผู้คัดค้านยังคงเป็น ส.ส.อยู่ในวันที่มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ฯ พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับและมีผลใช้บังคับกับผู้คัดค้านซึ่งดำรงตำแหน่ง ส.ส.ด้วย โดยผู้คัดค้านซึ่งดำรงตำแหน่งส.ส.มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอและพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ร่วงพ.ร.บ.ต่างๆ การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การตั้งกรรมาธิการ การเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ การให้ความเห็นขอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและต้องดำรงตนมิให้มีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัดว่าประชาชนโดยทั่วไป เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีงามให้กันประชาชนตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานทางจริยธรรม คดีนี้ปรากฏว่า ป.ป.ช.ผู้ร้องได้รับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาว่า ผู้คัดค้าน ยึดถือครอบครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 .และหรือ ส.ป.ก.โดยไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด อันส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่และหรือขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ประกอบกับผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง กรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2562 ว่ามีทรัพย์สินเป็นที่ดินประเภท ภ.ท.บ.จำนวน 29 แปลง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 6ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ซึ่งผู้ร้องได้มีมติการประชุมครั้งที่ 35/2563 วันที่ 12 มี.ค.2563 พิจารณาเรื่องรายงานผลการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้คัดค้าน กรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.และกรณีมีเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบที่ดิน ภ.บ.ท 5 โดยเห็นว่าการที่ผู้คัดด้านได้รับโอนสิทธิเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน เพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 29 แปลง เนื้อที่ 853 ไร่ 75 ตารางวา ในขณะดำรงตำแหน่ง ส.ส.โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและเป็นพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ.2561หมวด 1 ข้อ 7 และข้อ 8 หมวด 2 ข้อ 12 และข้อ 17 จึงมีมติให้ดำเนินการไต่สวนเรื่อง ซึ่งจากการไต่สวนข้อเท็จจริงมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนว่าข้อกล่าวหามีมูล ผู้ร้องโดยคณะกรรมการไต่สวน จึงแจ้งให้ผู้คัดค้านไปรับทราบข้อกล่าวหาและให้โอกาสขี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและนำสืบพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งผู้คัดค้านได้รับทราบข้อกล่าวหาพร้อมทั้งสิทธิในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตามกฎหมายแล้วโดยชอบ และได้มีหนังสือขี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการไต่สวนแล้ว คณะกรรมการไต่สวนได้รวบรวมพยานหลักฐาน ตามที่มีการกล่าวหาและนำเสนอผู้ร้องพิจารณาข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐานแล้วมีมติว่าการกระทำของผู้คัดค้าน เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ผู้ร้องจึงมีอำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวและมีอำนาจเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา เพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ.2561 และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 234(1) และมาตรา 235 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 28 (1) และมาตรา 87 ทั้งนี้ระหว่างที่ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่ง ส.ส.สมัยที่ 4 ผู้คัดค้านได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและใช้ประโยชน์ เพื่อประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ในชื่อ เขาสนฟาร์ม และเขาสนฟาร์ม 2 ต่อเนื่องตลอดมาก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ส.สมัยที่ 4 ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรทำกิน ปรากฏตามบันทึกการตรวจยึดของกรมป่าไม้ ซึ่งผู้คัดด้านได้ยึดถือครอบครองปลูกสร้างอาคารและเข้าทำประโยชน์ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ เมื่อที่ดินดังกล่าวยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน และยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) จึงยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง พ.ศ.2527 และยังเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน จึงถือว่าเป็นที่ป่า ตามความในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงจากการไต่สวนของผู้ร้องว่าการถือครองที่ดินดังกล่าวได้มีการกระจายการถือครองที่ดินโดยอาศัยชื่อบุคคลอื่นมาถือครองที่ดินในเอกสารการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.ม.ท.5) แทนและมีหลักฐานชัดเจนว่าภายหลัง เมื่อปี พ.ศ.2555 ได้มีการโอนกลับไปเป็นชื่อของผู้คัดค้านทั้งหมดเมื่อวันที่ 16 มี.ค.2555 และผู้คัดด้านได้เป็นผู้ยื่นชำระภาษีบำรุงท้องที่ทั้ง 29 แปลง ดังกล่าว มาตั้งแต่ที่ได้รันโอนสิทธิกลับคืนมา ทั้งนี้ยังปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับการ ดำเนินการของผู้คัดด้านในเรื่องการขอใช้ไฟฟ้า การชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน การขออนุญาตประกอบ กิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เขาสนฟาร์ม และขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้คัดค้านที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2561 ผู้คัดค้านได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด เพื่อประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2546 โดยการอาศัยชื่อคนงานและบุคคลอื่นในการครอบครองหรือถือครองที่ดินตนเอง ทั้งที่ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ.2562สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรีได้ปิดประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินราชบุรีให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งผู้ครอบครองพื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีการประกาศให้เข้าทำประโยชน์ แต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านหรือบุคคล ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินของผู้คัดค้าน ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งการที่ผู้คัดค้านยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดิน แต่กลับไม่ดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน โดยการไม่ขอเข้าทำประโยชนให้ถูกต้อง ย่อมส่อให้เห็นถึงเจตนาของผู้คัดค้านที่จะหลีกเลี่ยงมิให้ที่ดินบริเวณที่ยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ดังกล่าว เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน และเพื่อเป็นการปิดโอกาสหรือหวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้าใช้ประโยชนในที่ดินที่ตนยืดถือครอบครอง โดยมีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นของตนมาโดยตลอด หากมีการดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ผู้คัดค้านจะไม่มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เพราะขาดคุณสมบัติในการเป็นเกษตรกร และไม่อาจถือครองที่ดินเกิน 50 ไร่ ซึ่งปรากฏว่าผู้คัดค้านได้ใช้ประโยชน์ที่ดินและมีรายได้จากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน จากประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนประมาณ 109,962,076.14 บาท ซึ่งปรากฏตามบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้คัดค้านมีมูลค่ารวมกว่า 136 ล้านบาทเศษ จึงไม่มีคุณสมบัติ หรือ อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะมีสิทธิได้รับการอนุญาตและออกเอกสารสิทธิให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐดังกล่าว จึงเป็นการยึดถือครอบครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและยังถูกหน่วยงานของรัฐ ร้องทุกข์กล่าวโทษในความผิดทางอาญาฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินคดีในฐานความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2498 ตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และตามพ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน สิ่งแวดล้อม หรือประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ ที่มีลักษณะขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะและมีลักษณะเป็นความผิดร้ายแรงก่อให้เกิดความร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท