เมื่อวันที่ 13 มีนาคม มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ ประจำประเทศไทย (ไอวายเอฟ) ได้จัดกิจกรรม Healing Mind ในหัวข้อ “บูลลี่ จิตใจอันตราย เจาะลึกกรณีบูลลี่จากเกาหลีสู่เด็กไทย” ตีแผ่จิตใจของคนที่ถูกบูลลี่และเป็นผู้ที่บูลลี่ผู้อื่น โดยดร.(กิตติมศักดิ์) ฮักเชิล คิม ผู้ก่อตั้งมูลนิธิไอวายเอฟ และผู้เชี่ยวชาญด้าน Mind Education จากสถาบัน International Mind Education Institute (IMEI) ประเทศเกาหลีใต้ โดยดร.คิม กล่าวว่า คนเราเมื่อมีมุมมองที่ต่างกัน นำไปสู่การตัดสินกัน ปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะเราไม่ได้มองเห็นจิตใจซึ่งกันและกันและมองไม่เห็นจิตใจของตัวอง แต่ถ้าเราถอยออกมาแล้วมองเห็นจิตใจกันและกัน ก็จะไม่เกิดปัญหา ดร.คิมยกตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทย เหตุโศกนาฏกรรม คนพิการที่โชคชัย 4 ซึ่งถูกกลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้ายจนเสียชีวิต ทั้งนี้ หากดูที่เหตุการณ์อย่างละเอียด เราจะเห็นว่า จริงอยู่ที่เด็กวัยรุ่นเหล่านี้มีความผิด ก่อเหตุจนทำให้มีผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตาม เหตุเกิดเพราะวัยรุ่นเหล่านี้พูดล้อผู้เสียชีวิตว่า “เป็นคนพิการ” แต่... มันผิดจริงหรือไม่ ที่บอกคนพิการว่า เขาพิการ จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งคือ คำพูด “พิการ” จึงเกิดการต่อสู้กัน และสุดท้ายนำไปสู่ความสูญเสีย หากผู้เสียชีวิตทำความเข้าใจเรื่องนี้สักนิด จะไม่มีเรื่องน่าเศร้าแบบนี้เกิดขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่คือคนชอบดูถูกและตัดสินกัน ทั้งที่เราควรที่ขอความช่วยเหลือหรือช่วยกันและกัน แต่เมื่อตอนที่คนคิดว่า “เธอจะช่วยอะไรฉันได้” จะเกิดปัญหาตามมามากมายเพราะจิตใจนี้ ดร.คิม ยังยกตัวอย่างที่ตรงกันข้าม คือเรื่องของ จิตรกรผู้พิการชาวเกาหลีใต้ “เชว อุง-รยอล” เป็นผู้พิการเช่นกัน และถูกล้อ ถูกกลั่นแกล้งและบูลลี่มาเหมือนกัน วันหนึ่งเขาถูกเพื่อนแกล้งปาหิมะใส่จนมีสภาพยับเยินกลับบ้าน และเมื่อร้องไห้ หลับไป ตื่นขึ้นมาเห็นตัวเองในกระจกในสภาพน้ำมูก น้ำตาท่วมใบหน้า แสนจะน่ารังเกียจ ตอนนั้นเอง เชว อุง-รยอล บอกดร.คิมว่า เขาก็มีการต่อสู้อยู่ในใจ แม้จะไม่อยากเชื่อว่า คนในกระจกเป็นเขา แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าเงานั้นก็ยังคงเป็นเขาเอง วันนั้นคุณเชวได้เห็นตนเองในสายตาที่เพื่อนๆเคยมองเขา จึงพบว่า ที่ผ่านมาคิดมาตลอดว่า เพื่อนบูลลี่ แกล้งและล้อเลียน แต่เมื่อเห็นสภาพที่น่าเกลียดนั้น จึงได้เข้าใจว่าทำไมเพื่อนจึงไม่ชอบเขา... มีโอกาสถอยออกมาและมองเห็นตนเองในมุมมองที่เพื่อนมอง คือตัวเขาน่ารังกียจจริงๆ และยังชั่วร้ายอีกด้วย เพราะในความคิดของเขา จิตใจที่โกรธและเกลียดเพื่อนเมื่อถูกบูลลี่ อยากจะเอามีดแทงเพื่อน ได้ฆ่าเพื่อนตายในใจไปแล้วนับครั้งไม่ถ้วน จิตใจนี้ชั่วร้ายและพิการกว่าสิ่งที่เพื่อนทำกับเขา เพราะอย่างน้อย เพื่อนก็ล้อในสิ่งที่เป็นความจริง เมื่อเห็นแบบนี้ ก็ได้ยอมรับความจริง และมีจิตใจที่จะขอโทษเพื่อน หยิบยื่นจิตใจที่ต้องการเพื่อน โดยการออกไปพูดกับเพื่อนในชั้นเรียนว่า “ฉันยังต้องเรียนที่นี่ ฉันจำเป็นจะต้องขอความช่วยเหลือจากพวกเธอ” มีเพื่อนบางคนที่เมื่อได้ฟังแบบนั้น จึงมาขอโทษคุณเชว นับแต่นั้นมา จิตใจของเขาก็มีคนให้ขอบคุณมากมาย แม้เขาจะเป็นคนพิการแต่ความพิการ ก็ทำให้เขายอมรับในความอ่อนแอของเขาได้ ด้านกรณีคนพิการที่โชคชัย 4 มีจิตใจที่เต็มไปด้วยความทะนง และคิดว่า “ฉันทำอะไรๆได้” ใช้ชีวิตด้วยใจเช่นนี้ แต่เชว อุง-รยอล ใช้ชีวิตด้วยจิตใจ “ขอบคุณครับ ขอโทษครับ” และคอยให้กำลังใจคนอื่น จึงสามารถใช้ชีวิตเป็นอิสระจากการบูลลี่นี้ได้ ในอดีตผู้คนจะมีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ในปัจจุบัน สังคมที่เจริญขึ้น ทุกคนมีฐานะมากขึ้น กำแพงที่กั้นระหว่างกันก็มากขึ้นทุกวัน กลายเป็นสังคมปัจเจกบุคคล เป็นโลกที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือ หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องร้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น โดดเดี่ยวตนเองและจมอยู่ในโลกหรือในความคิดของตนเอง บางครั้งมองจากมุมของตนเองและยืนยันในความถูกต้อง เรื่องการ “บูลลี่” ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินกว่าจะแก้ไข ในไอวายเอฟเรามีการใช้ Mind Education หรือหลักสูตร “โลกของจิตใจ” ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากจิตใจ ผมจึงมีโอกาสเห็นเยาวชนเปลี่ยนแปลงจำนวนมาก โดยเริ่มต้นจากใจที่เปลี่ยนแปลงก่อนไม่ใช่มุ่งเน้นเปลี่ยนที่การกระทำ