เวลา 09.30 น. นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง มอบหมายให้นายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมย่อยที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ กิจกรรมย่อยที่ 1.1 สร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล พร้อมมอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 3 โดยมีนายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัดอ่างทองกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน และพัฒนาการอำภอ ร่วมเป็นเกียรติ ณ ฟาร์มเกษตรสุขทวี หมู่ 4 ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 32 คน จาก 3 อำเภอ คือ อำเภอสามโก้ และอำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม ประกอบด้วย การเรียนรู้หลักกสิกรรมธรรมชาติ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การปลูกป่า 5 ระดับ การแบ่งกลุ่มอภิปราย การฝึกปฏิบัติฐานเรียนรู้ จิตอาสาพัฒนาเอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่และจัดทำแผนยุทธศา‌สตร์‌การ‌ขับ‌เคลื่อน‌ปรัชญา‌ของ‌เศรษฐกิจ‌พอ‌เพียง‌สู่‌การ‌ปฏิบัติ” เพื่อ‌ให้‌ผู้‌เข้า‌รับ‌การ‌อบรม‌มี‌ทักษะ‌ใน‌การ‌ดำรง‌ชีวิต‌แบบ‌พึ่งพา‌ตนเอง‌ ‌สามารถ‌ปฏิบัติ‌ได้‌ มีการปรับเปลี่ยน‌วิถี‌ชีวิต‌และ‌นำ‌ไป‌สู่‌การ‌ใช้‌ชีวิต‌แบบ‌พอ‌เพียง‌ ‌และเพื่อกำหนดแนวทาง/เป้าหมายในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของตนเอง การฝึกอบรมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมย่อยที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ กิจกรรมย่อยที่ 1.1 สร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ดำเนินการมาเป็นรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้าย การฝึกอบรมยังมีความเข้มข้น ทั้ง 5 วัน 4 คืน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า Learning by doing สามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่ไปปรับใช้เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน การได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจะทำให้เกิดการปรับวิธีคิด ปรับวิธีการ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับภูมิสังคมหรือตัวตนของตนเอง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาพื้นที่ของตนเอง และไปปรับใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในพื้นที่ชุมชนเป็นต้นแบบแก่ชุมชน ส่งผลให้รอดพ้นวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และที่สำคัญจะทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนในชุมชนต่อไป